ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการตายโดยสงบ นันทน อินทนนท์ [ผู้พิพากษาประจําสํานักงานศาลยุติธรรม ช่วยทํางานในตําแหน่งผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง] บทบัณฑิตย์ เล่มที่ ๕๗ ตอน ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔; หน้า ๑๒๙-๑๕๗ *** บทนํา ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันได้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีอายุยืนยาวขึ้น โดยผ่านเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ตลอดจนการให้อาหาร ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ แม้ว่าการบําบัดรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้ จะไม่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเป็นปกติได้ก็ตาม ผลของเทคโนโลยีดังกล่าวทําให้ผู้คนจํานวนหนึ่งเห็นว่า การใช้เครื่องมือเหล่านี้กับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ซึ่งไม่อาจมีทางบําบัดรักษาได้นั้น เป็นการบําบัดรักษาที่สูญเปล่า การยืดชีวิตผู้ป่วยเหล่านี้ออกไป โดยปราศจากความหวัง ทําให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานมากกว่าปกติ และในที่สุดผู้ป่วยเหล่านี้ จะต้องตายไปโดยปราศจากศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ จึงมีการเสนอว่าผู้ป่วยเหล่านี้สมควรที่จะได้รับ การบําบัดรักษาอย่างมีศักดิ์ศรี มีสิทธิที่จะตายอย่างสงบ (Right to die) และแพทย์อาจเข้ามามีบทบาท ต่อการทําให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายโดยสงบได้ ไม่ว่าโดยการกระทําให้ผู้ป่วยตายโดยปราศจากความทุกข์ ทรมาน การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่มีความประสงค์ที่จะตายโดยสงบ หรือแม้กระทั่งการยุติการบําบัด รักษาบางประการ เพื่อปล่อยให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ในขณะเดียวกัน ผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับมีความเห็นว่า สิทธิที่จะตายเป็นสิทธิที่ไม่มีอยู่ ตามกฎหมาย การทําให้ผู้ป่วยตายนั้น ถึงแม้ว่าจะมีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทรมาน ก็เป็นการทําลายชีวิต ฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี และเป็นการขัดต่อสิทธิในชีวิต (Right to life) ของบุคคลนั้น นอกจากนี้ หากอนุญาตให้แพทย์สามารถเข้ามามีบทบาทในการทําให้ผู้ตายแล้ว ก็จะทําให้ความน่าเชื่อถือ ของแพทย์ลดลง บทบาทของแพทย์จะมีความคลุมเครือระหว่างผู้บําบัดรักษา (healer) กับผู้ฆ่า (Killer) ทั้งการอนุญาตดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ในที่สุดขอบเขตของการทําให้ตายโดยสงบก็จะมิได้จํากัด อยู่เพียงเฉพาะผู้ป่วยที่สิ้นหวัง แต่จะมีผลกระทบต่อผู้คนกลุ่มอื่นอีกด้วย บทความนี้ ในส่วนแรก จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ (Euthanasia) การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assistedsuicide) และ การยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิต (Withholding / withdrawal of life-sustainingtreatment) ทั้งในแง่มุมทางการแพทย์ และทางกฎหมาย ส่วนที่สอง จะพิจารณาถึงสิทธิพื้นฐานของผู้ป่วยในการ ปฏิเสธการบําบัดรักษา (Right to refuse medical treatment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะนําปัญหาเกี่ยวกับ การยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตมาทําการศึกษาวิเคราะห์ ส่วนที่สาม จะทําการวิเคราะห์ปัญหาและ ข้อโต้แย้งต่าง ๆ รวมถึงข้อดีข้อเสียของการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือ ของแพทย์ ส่วนที่สี่ จะพิจารณาประเด็นทางกฎหมาย โดยจะนํากรณีศึกษา และกฎหมายจากต่างประเทศ มาใช้ในการเปรียบเทียบ อันจะนํามาซึ่งสรุปในตอนท้ายว่ากฎหมายไทยควรที่จะมีบทบาทอย่างไร ต่อประเด็นเหล่านี้ ๑. ลักษณะทั่วไปของการตายโดยสงบ ปัญหาแรกที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งของการตายโดยสงบก็คือ การให้คําจํากัดความ ความหมายของถ้อยคําต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนักกฎหมาย และแพทย์ทั่วโลก ต่างมีความเห็นเกี่ยวกับ ขอบเขตของการทําให้ตายโดยสงบ (Euthanasia) แตกต่างกันออกไป ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน การแยกแยะความแตกต่างระหว่างการทําให้ตายโดยสงบ การฆ่าตัวตายที่ได้รับความช่วยเหลือ และ การยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิต ยังมีความชัดเจนไม่มากนัก นักกฎหมายบางท่านเห็นว่าการไม่นํา เครื่องมือทางการแพทย์มาช่วยชีวิตผู้ป่วย ถือเป็นการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบรูปแบบหนึ่ง ขณะที่แพทย์ บางท่านก็เห็นว่า การให้ความช่วยเหลือในการฆ่าตัวตายก็เป็นการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเช่นกัน [๑] ความคลุมเครือของคําจํากัดความเช่นนี้ ทําให้การพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เป็นไปอย่างปราศจากหลักเกณฑ์ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีเท่าที่ควร ๑.๑ การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ หากพิจารณารากศัพท์ของคําว่า "euthanasia" แล้วจะเห็นว่า คํานี้มีรากศัพท์มาจาก ภาษากรีก ๒ คํา คือคําว่า "eu" ซึ่งแปลว่าดี (good or noble) กับคําว่า "thanatos" ซึ่งแปลว่า ตาย (death) เมื่อรวมความหมายของคําทั้งสองคําก็หมายความถึง "การตายดี" หรือ "การตายโดยสงบ" [๒] แต่การศึกษารากศัพท์เช่นนี้ก็มิได้ช่วยให้ความหมายของคําว่า "euthanasia" มีความกระจ่างขึ้นมากนัก ในประเทศเนเธอร์แลนด์การทําให้ป่วยตายโดยสงบมีความหมายที่แคบมาก เพราะ หมายความถึงการทําให้ชีวิตสิ้นสุดลงโดยแพทย์ตามความประสงค์ของผู้ป่วยเท่านั้น ในภาษาอังกฤษ มีการใช้คําว่า "mercy killing" แทนคําว่า "euthanasia" จึงมีผู้แปลคํานี้ว่า "การุณยฆาต" ซึ่งหมายความถึง การฆ่าด้วยความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นพ้นจากความทุกข์ทรมาน ในปัจจุบันขอบเขตของการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากพิจารณา ในทางทฤษฎีแล้วการแบ่งแยกประเภทของการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบอาจทําได้ ๒ วิธี คือ การจําแนก จากลักษณะการกระทําของการทําให้ตายนั้น และการจําแนกจากเจตนาของผู้ป่วยก่อนที่จะถึงแก่ความตาย เมื่อพิจารณาจากลักษณะการกระทําการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑) Active euthanasia ซึ่งความหมายถึง การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา และผู้กระทํา ได้กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อเนื้อตัว ร่างกายของผู้ป่วยโดยตรง เช่น การฉีดยา ซึ่งโดยผลของ การกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ๒) Passive euthanasia ซึ่งหมายความถึง การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา แต่ผู้กระทํา มิได้กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อเนื้อตัว ร่างกายของผู้ป่วย ทั้งยังปฏิเสธที่จะเข้าแทรกแซงเพื่อป้องกัน มิให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย และโดยเหตุแห่งการปฏิเสธเช่นนี้เองทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย การแบ่งแยกประเภทของการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบตามลักษณะของการกระทําเช่นนี้ เป็นเหตุให้การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบมีความใกล้เคียงกับการยุติว่าการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการ บําบัดรักษา นักกฎหมายบางท่านเห็นว่าการปล่อยให้ผู้ป่วยตายโดยธรรมชาติโดยไม่นําเครื่องมือ หรือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเป็นการกระทําที่เรียกว่า Passive euthanasia [๓] ผู้เขียนมีความเห็นไม่สอดคล้องกับความเห็นข้างต้นนัก โดยเห็นว่ากรณีทั้งสองมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ การยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการยับยั้ง (withhold) หรือการเพิกถอน (withdraw) เป็นการกระทําที่แพทย์ผู้กระทํามิได้มีเจตนาที่จะทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย แต่เป็นการปล่อยให้ผู้ป่วย ถึงแก่ความตายตามธรรมชาติ (allow natur aldeath to occur) สาเหตุของความตาย (the cause of death) จึงเกิดขึ้นจากโรคภัยไข้เจ็บที่ผู้ป่วยมีมาก่อนนั้น ส่วนการกระทําที่เรียกว่า Passive euthanasia นั้น เป็นการกระทําที่ผู้กระทํามีเจตนาให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย และการกระทํานั้นก็เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วย ถึงแก่ความตายด้วย ดังนั้น ตําราทางวิชาการโดยส่วนใหญ่ในระยะหลังจึงไม่นิยมที่จะแบ่งแยกการทําให้ ผู้ป่วยตายโดยสงบตามลักษณะของการกระทํา เพราะจะก่อให้เกิดความสับสน แต่จะแบ่งแยกตามเจตนา ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งเมื่อจําแนกด้วยวิธีการนี้ การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบโดยสมัครใจ (voluntary euthanasia) อันหมายถึง การทําให้ ผู้ป่วยตายโดยสงบตามความประสงค์ของผู้ป่วยที่มีสติสัมปชัญญะอยู่นั้น (competent patient) หรือเป็นไป ตามคําสั่งที่ผู้ป่วยได้ให้ล่วงหน้า (advance directive) ๒) การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบโดยปราศจากความสมัครใจ (non-voluntary euthanasia) อันหมายถึง การทําให้ผู้ป่วยที่ไม่มีสติสัมปะชัญญะ (incompetent patient) ตายโดยสงบตามความประสงค์ ของผู้ที่มีอํานาจตามกฎหมายในการแสดงเจตนาแทนผู้ป่วย (patient's surrogate) ๓) การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบโดยขัดต่อความสมัครใจ (involuntaryeuthanasia) อันหมายถึง การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบที่ขัดต่อความประสงค์ของผู้ป่วย หรือคําสั่งที่ผู้ป่วยให้ไว้ล่วงหน้า กฎหมายของประเทศต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ถือว่าการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นความผิด ทางอาญา ทั้งนี้ก็เพราะว่าการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยเจตนา ศาลอังกฤษถือว่า "การกระทำที่มีเจตนาฆ่าก็คือฆาตกรรม โดยไม่ต้องคํานึงว่าชีวิตผู้ป่วยได้ถูกบั่นทอนไปเพียงใด การทําให้ผู้อื่นตายเร็วขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสัปดาห์หนึ่ง ก็เป็นการฆาตรกรรมเช่นเดียวกับการทําให้ผู้อื่น ตายเร็วขึ้นหลายปี" [๔] อย่างไรก็ดี ระดับของการลงโทษในความผิดลักษณะเช่นนี้อาจมีความรุนแรง น้อยกว่าการฆาตรกรรมทั่วไป และถึงแม้ว่าการกระทํานั้นจะเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ป่วยก็ตาม ผู้กระทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบก็ไม่อาจอ้างได้ว่าตนไม่มีมูลเหตุจูงใจที่จะกระทําความผิด หรือ เป็นการกระทําการเพื่อต้องการให้ผู้ป่วยพ้นความทุกข์ทรมาน ทั้งนี้ก็เพราะว่าในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และกฎหมายอาญาของไทยมิได้คํานึงถึงมูลเหตุจูงใจ (motive) ในการกระทําความผิด มูลเหตุจูงใจ มิใช่องค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอาญา แต่เป็นเพียงสิ่งที่ศาลนํามาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อการกําหนดโทษเท่านั้น ศาลสูงของมลรัฐแคลิฟอเนียเคยติดสินว่าผู้กระทําการให้ผู้ป่วยตาย โดยสงบมีเจตนาชั่ว (malice aforethought) ในการกระทําความผิด และไม่อาจอ้างมูลเหตุจูงใจในการ ช่วยเหลือผู้ตายมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดได้ [๕] ตามกฎหมายไทยการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบก็ถือเป็นความผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน กฎหมายไทยมิได้แยกความผิดฐานทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบต่างหากไปจากการทําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยเจตนา ดังนั้น ผู้กระทําจึงต้องรับผิดฐานทําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และอาจต้องรับผิดหนักขึ้น หากการกระทํานั้นได้กระทําโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อย่างไรก็ดี ในบางกรณีศาลอาจใช้ดุลพินิจกําหนดโทษ อย่างน้อยลง หากศาลเชื่อว่าผู้กระทําความผิดไม่ได้มีมูลเหตุจูงใจในการกระทําความผิด แต่เป็นการกระทํา เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทรมานได้ ๑.๒ การฆ่าตัวตายโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น การฆ่าตัวตายโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็นการกระทําที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ ทั้งในแง่ทางกฎหมายและการแพทย์ ประเทศที่มีการเสนอ ให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยอนุญาตให้การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย มักจะมีการเสนอบทบัญญัติให้การช่วยเหลือผู้อื่นให้ฆ่าตัวตายเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกันผู้ที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการช่วยเหลือผู้อื่นให้ฆ่าตัวตาย โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นแพทย์ ขอบเขตของการพิจารณาปัญหานี้จึงมักจํากัดอยู่เพียงการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายโดยแพทย์เท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงเรียกว่า "การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์" (Physician assisted suicide) กล่าวโดยทั่วไปแล้วการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ หมายความถึงการฆ่าตัวตาย โดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ ตัวอย่างเช่น แพทย์ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการในการบริโภคยาพิษ และจ่ายยานั้นให้แก่ผู้ป่วย โดยทราบว่าผู้ป่วยนั้นจะนํายาดังกล่าวไปบริโภคเพื่อฆ่าตัวตาย หรือในอีกกรณีหนึ่ง แพทย์อาจนํายาพิษมาใส่ในเข็มฉีดยาแล้วให้ผู้ป่วยเป็นผู้ฉีดยาพิษเข้าเส้นเลือดของตนด้วยตนเอง จะเห็นได้ว่าการฆ่าตัวตายโดยได้รับความช่วยเหลือของแพทย์ จะมีความแตกต่างจาก การทําให้ตายโดยสงบตรงที่บทบาทของแพทย์ที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ในกรณีของการทําให้ตายโดยสงบนั้น การกระทําสุดท้าย (final act) ที่ทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายต้องเป็นการกระทําของแพทย์ ไม่ใช่ผู้ป่วย แต่สําหรับการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์นั้น แพทย์จะเพียงแต่ให้คําแนะนําในการฆ่าตัวตาย จ่ายยา หรือจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสําหรับการฆ่าตัวตายเท่านั้น แต่ผู้ป่วยจะเป็นผู้กระทําการฆ่าด้วยตนเอง ดังนั้น การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายจึงเป็นความผิดฐานฆาตกรรม แต่การช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย เป็นความผิดฐานกระทําการอันเป็นการช่วยเหลือแก่บุคคลในการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นความผิดเฉพาะ [๖] แต่กระนั้นก็ดีการจําแนกความแตกต่างดังกล่าวอาจทําได้ไม่ง่ายนักในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น หากแพทย์เพียงแต่จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย กรณีเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดว่าแพทย์มิได้เป็นผู้กระทําให้ผู้ป่วย ถึงแก่ความตาย แต่หากเป็นกรณีที่แพทย์นํายามาใส่ในมือของผู้ป่วย หรือป้อนใส่ปากผู้ป่วย แล้วให้ผู้ป่วย กลืนยาด้วยตนเอง หรือนํายาพิษใส่เข็มฉีดยา แล้วปักเข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยฉีดยา เข้าเส้นเลือดด้วยตนเอง มีปัญหาว่าการกระทําเช่นนี้ยังถือว่าเป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยเท่านั้น หรือไม่ และการกระทําเช่นนี้จะมีความผิดเพียงใด โดยปกติแล้วกฎหมายของประเทศต่าง ๆ จะไม่ถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นความผิด ความพยายาม ในการฆ่าตัวตาย (suicide attempt) จึงไม่มีความผิด ด้วยเหตุผลที่สําคัญที่ทําให้การฆ่าตัวตายไม่เป็น ความผิดก็คือ ประการแรก การลงโทษต้อผู้กระทําการฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่กระทําไม่ได้ในทางปฏิบัติ ประการที่สอง หากมีการลงโทษต่อผู้ฆ่าตัวตายในทางทรัพย์สิน เช่น การปรับก็จะเปรียบเสมือนการลงโทษ ต่อครอบครัวของผู้นั้น มากกว่าเป็นการลงโทษผู้กระทํา และประการที่สาม การฆ่าตัวตายมักจะเป็นปัญหา ของผู้ป่วยทางจิต ที่สมควรจะทําการบําบัดรักษามากกว่าการลงโทษ [๗] อย่างไรก็ดีแม้การฆ่าตัวตาย จะไม่มีความผิด แต่การช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายในบางประเทศอาจถือเป็นความผิดได้ ในประเทศอังกฤษ กฎหมายว่าด้วยการฆ่าตัวตาย (suicide Act of 1961) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า การฆ่าตัวตายไม่ถือเป็นความผิด ดังนั้น ความพยายามในการฆ่าตัวตายจึงไม่ถือเป็นความผิดด้วย บทบัญญัติ ดังกล่าวนี้เป็นการแก้ไขหลักคอมมอนลอว์เดิมที่ถือว่า ความพยายามในการกระทําความผิดใดก็ตามย่อมถือ เป็นความผิดด้วย แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้เช่นกันว่า การให้ความช่วยเหลือ ยุยง แนะนํา หรือจัดหา ด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเป็นความผิดตามกฎหมาย [๘] สําหรับประเทศไทย จะเห็นได้ว่าการฆ่าตัวตายไม่เป็นความผิด เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติ เอาโทษไว้ ส่วนการช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายก็ไม่มีความผิดเช่นเดียวกัน เว้นแต่การช่วยเหลือหรือยุยงนั้น ได้กระทําต่อบุคคล ๓ จําพวก คือ เด็กอายุไม่เกิน ๑๖ ปี ผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าใจว่าการกระทําของตนมีสภาพ หรือสาระสําคัญอย่างไร หรือผู้ซึ่งไม่สามารถบังคับการกระทําของตนได้ [๙] ดังนั้น หากแพทย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่มีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ในการฆ่าตัวตาย การกระทําของแพทย์ย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายไทย ในทํานองเดียวกันกับการทําให้ตายโดยสงบการช่วยเหลือผู้อื่นให้ฆ่าตัวตาย มีความแตกต่าง จากการยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิต ๒ ประการ คือ ประการแรก การช่วยให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายนั้น มีเจตนา ที่จะให้บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือถึงแก่ความตาย แต่การยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตนั้น เป็นการกระทํา ที่ปราศจากเจตนาฆ่า ประการที่สอง ความตายของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่น เป็นผลมาจากสาเหตุ ที่มิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (unnatural causes) ในขณะที่ความตายจากการยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิต เป็นผลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (natural causes) ที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบไม่ช้าก็เร็ว [๑๐] การจําแนกความแตกต่างระหว่างการทําให้ตายโดยสงบการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือ จากแพทย์ และการยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิต เป็นสิ่งที่มีความสําคัญอย่างยิ่งทั้งในทางการแพทย์และ ทางกฎหมาย เพราะว่าในการบําบัดรักษาผู้ป่วย แพทย์มักจะพบประสบกับปัญหาว่า่ ควรจะดําเนินการบําบัด รักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถมีทางเยียวยารักษาให้หายขาดต่อไปอีกหรือไม่ และแพทย์ ควรปฏิบัติเช่นไรเมื่อประสบกับปัญหาเหล่านี้ กฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศทั่วโลก ต่างถือว่า การยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิตกับผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เป็นความผิดทางอาญา เนื่องจากแพทย์ ไม่มีเจตนาฆ่าผู้ป่วย กรณีจึงมีปัญหาว่าหากผู้ป่วยไม่สามารถแสดงความประสงค์ด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยจะสามารถแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า หรือมอบอํานาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดตัดสินใจแทนได้หรือไม่ เหตุใดกฎหมายของบางประเทศจึงยอมให้ผู้ป่วยสามารถแสดงความประสงค์ในการรับการบําบัด รักษาจากแพทย์ได้ และรัฐควรจะเข้ามามีบทบาทอย่างไรต่อประเด็นเหล่านี้ ๒. สิทธิของผู้ป่วยและการยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิต ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีอายุ ยืนยาวออกไปได้ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายขาดไปเป็นปกติก็ตาม ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งสมอง ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง หรือไม่มีออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมอง ซึ่งส่งผลให้สมองส่วนบน (cortex) ถูกทําลายผู้ป่วยเหล่านี้จะปราศจากความรู้สึกนึกคิด (unconscious) แต่ระบบการทํางานของ ร่างกายอาจทํางานได้ตามปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ในภาวะที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็น "เจ้าชายนิทรา" หรือ อยู่ในสภาวะ "ผัก" (persistent vegetative state) ซึ่งหากแพทย์ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ด้วย เครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งการให้อาหารผ่านทางสายยาง ผู้ป่วยก็จะสามารถดํารงชีวิตต่อไปอีกได้นานนับปี แต่แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายอาจเห็นว่า การใช้เครื่องมือเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารผ่านทางสายยาง หรือการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในขณะที่ ไม่มีทางบําบัดรักษาอีกต่อไป เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ในทํานองเดียวกันแพทย์ส่วนหนึ่งก็เห็นว่า การบําบัด รักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยอีกต่อไป ในส่วนนี้ จะพิจารณาปัญหาว่าผู้ป่วยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตเหล่านี้ของแพทย์หรือไม่ และ หากผู้ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งได้ จะมีผลเช่นใด ๒.๑ สิทธิในการปฏิเสธการบําบัดรักษา (right to refuse medical treatment) ความยินยอมของผู้ป่วยถือว่าเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย โดยปกติแล้วแพทย์ย่อมไม่อาจทําการบําบัดรักษาผู้ป่วยได้โดยปราศจากความยินยอม เว้นแต่การบําบัด รักษานั้นเป็นเหตุจําเป็นอย่างยิ่ง (necessity) และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย [๑๑] (the best interest of th epatient) ความยินยอมของผู้ป่วยเช่นว่านี้หาจําเป็นต้องทําเป็นหนังสือไม่ และ อาจเกิดขึ้นโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ได้ แพทย์อาจอนุมานจากการกระทําของผู้ป่วย หรือสังเกตจาก พฤติการณ์แวดล้อม แล้วลงความเห็นว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ความยินยอมในการบําบัด รักษาจะต้องเป็นความยินยอมที่แท้จริง ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยต้องได้รับการบอกกล่าวถึงผลที่เกิดขึ้น อย่างครบถ้วน (informed consent) ปราศจากการครอบงําที่ผิดปกติ (undue influence) เหตุผลสําคัญที่การบําบัดรักษาต้องเป็นไปโดยความยินยอมของผู้ป่วย ก็เนื่องมาจาก หลักการที่ถือว่า มนุษย์ทุกคนมีอัตภาพ (autonomy) ของตนเองที่จะกําหนดว่า บุคคลอื่นสามารถ ปฏิบัติต่อเนื้อตัวร่างกายของเขาอย่างไร ศาลสหรัฐถือว่า "มนุษย์ทุกคนในสภาวะแห่งความเป็นผู้ใหญ่ และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ย่อมมีสิทธิที่จะกําหนดว่า การกระทําใดอาจกระทําต่อเนื้อตัวร่างกาย ของเขาได้ แพทย์ผู้ทําการรักษาโดยปราศจากความยินยอมของผู้ป่วย ย่อมถือว่าเป็นผู้กระทําผิด และต้องชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมาย" [๑๒] สิทธิของผู้ป่วยเช่นนี้จึงถูกเรียกว่า "สิทธิในการกำหนดตนเอง" (right to self-determination) ขอบเขตของสิทธิในการกําหนดตนเอง มิได้มีแต่เฉพาะการให้ความยินยอมในการบําบัด รักษาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะปฏิเสธการบําบัดรักษาอีกด้วย ผู้ป่วยซึ่งมีสติสัมปะชัญญะ สมบูรณ์ ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกวิธีการในการบําบัดรักษา หรือเลือกที่จะไม่รับการบําบัดรักษาใด ๆ ก็ได้ แม้ว่าการตัดสินใจของผู้ป่วยนั้นจะขัดกับความเห็นของแพทย์ หรือเป็นการตัดสินใจที่โง่เขลา ซึ่งจะส่งผล ให้ผู้ป่วยนั้นถึงแก่ความตายก็ตาม การตัดสินใจของผู้ป่วยก็จะต้องได้รับการเคารพ [๑๓] ในกรณีเช่นนี้ สิทธิในการกําหนดตนเองย่อมอยู่เหนือหลักของความศักดิ์สิทธิแห่งชีวิต [๑๔] (principle of sanctity of life) และมิได้จํากัดอยู่เพียงเฉพาะผู้ป่วยในระยะสุดท้าย (terminally ill) เท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงบุคคล ที่มีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ทุกคน [๑๕] จะเห็นได้ว่าสิทธิในการปฏิเสธการบําบัดรักษา ย่อมครอบคลุมถึงการบําบัดรักษาทุกประการ ไม่เว้นแม้แต่การใช้เครื่องมือช่วยชีวิต ดังนั้น ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมให้แพทย์ใช้เครื่องมือ ช่วยชีวิตกับตนเองได้ แต่การปฏิเสธการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตเป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อชีวิตของผู้ป่วยมาก จึงต้องพิจารณาความสามารถในการตัดสินใจของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นด้วย [๑๖] แพทย์ต้องทําให้ปรากฏชัดว่า การตัดสินใจของผู้ป่วยจะต้องมิได้ถูกทําให้ลดน้อยลงไปเนื่องจากอาการป่วย หรือการใช้ยา ก่อนการตัดสินใจทั้งผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ไม่มีอิทธิพลภานอกใด ๆ มากดดัน ให้ผู้ป่วยตัดสินใจเช่นนั้น ๒.๒ การยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา การยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา อาจแบ่งไปเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withholding of life-sustaining treatment) ซึ่งหมายความถึง การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งหากได้มีการใช้เครื่องมือดังกล่าว จะทําให้ผู้ป่วยสามารถมีอายุยืนยาวต่อไปอีกได้ เช่น การระงับ การกระตุ้นหัวใจ (cardiopulmonary resuscitation) การงดการให้ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หรือ การละเว้นการเปลี่ยนถ่ายเลือด (blood transfusion) เป็นต้น ๒) การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา (withdrawal of life sustaining treatment) ซึ่งหมายความถึง การเพิกถอนใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งหากได้ มีการใช้เครื่องมือดังกล่าว จะทําให้ผู้ป่วยสามารถมีอายุยาวต่อไปอีกได้ เช่น การถอดเครื่องช่วยหายใจ (respirator) ออกจากผู้ป่วย เป็นต้น ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ และมีสติสัมปะชัญญะ สมบูรณ์ย่อมสามารถที่จะแสดงเจตนาปฏิเสธการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษาของแพทย์ได้ แต่กรณีมักจะมีปัญหาเสมอว่าหากผู้ป่วยไม่สามารถแสดงเจตนากับแพทย์โดยตรง (incompetent patient) แพทย์จะถือตามเจตนาของผู้ป่วยที่ทําไว้ก่อนได้หรือไม่ หรือญาติสนิทของผู้ป่วยจะแสดงเจตนาแทนผู้ป่วย ได้เพียงใด และหากไม่ปรากฏเจตนาของผู้ป่วยแพทย์จะต้องปฏิบัติเช่นใด เมื่อมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น หากพิจารณาตามกฎหมายสหรัฐอาจแบ่งได้เป็น ๒ กรณี คือ กรณีแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยก็สามารถ ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ กฎหมายลักษณะนี้เรียกว่า "family consent statutes" แต่หากไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้ สมาชิกในครอบครัวนั้นจะต้องยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งแต่งตั้งตนเอง เป็นผู้ปกครอง (guardian) ก่อน บุคคลนั้นจึงจะมีสิทธิตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ [๑๗] หลักการเช่นนี้ มีความแตกต่างจากกฎหมายอังกฤษ ซึ่งเห็นว่าเฉพาะแพทย์เท่านั้นที่มีอํานาจตัดสินใจ [๑๘] ในประเทศไทย เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถให้ความยินยอมในการบําบัดรักษาได้แล้ว แพทย์ก็มักจะสอบถามญาติที่ใกล้ชิด (next of kin) ของผู้ป่วย เพื่อให้ความยินยอมในนามของผู้ป่วย ก่อนเสมอ การปฏิบัติเช่นนี้ได้ถูกนํามาใช้กับการยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตด้วย ดังนั้น แพทย์จึงมักให้ ญาติของผู้ป่วยนั้นให้ความยินยอม ก่อนที่จะจําหน้ายผู้ป่วยที่กําลังจะตายออกจากโรงพยาบาล นักกฎหมายท่านหนึ่งเห็นว่า เมื่อญาติของผู้ป่วยแสดงที่จะขอนําผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วย ไปถึงแก่กรรมที่บ้าน ทางโรงพยาบาลจะต้องดําเนินการตามความประสงค์ [๑๙] ผู้เขียนมีความเห็นไม่สอดคล้องกับความเห็นข้างต้นนัก ในความเห็นของผู้เขียนเมื่อพิจารณา ตามกฎหมายไทย ญาติของผู้ป่วยไม่มีสิทธิในทางกฎหมายที่จะให้ความยินยอมในการบําบัดรักษา หรือ ปฏิเสธไม่ให้ความยินยอมนั้นแทนผู้ป่วย ซึ่งรวมไปถึงการปฏิเสธไม่ยอมใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัด รักษาผู้ป่วยด้วย การที่แพทย์ต้องรอความยินยอมของญาติของผู้ป่วย หรือยินยอมให้ญาติปฏิเสธการบําบัด รักษาผู้ป่วยได้ อาจส่งผลกระทบในทางที่เป็นปรปักษ์กับผู้ป่วย เพราะอาจทําให้การบําบัดรักษาผู้ป่วย ต้องถูกหน่วง หรือเลื่อนเวลาออกไปซึ่งอาจทําให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าแพทย์ไม่มีหน้าที่ ต้องขอความยินยอมจากญาติผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วยไม่สามารถขอให้แพทย์ยุติการใช้เครื่องมือ ช่วยชีวิตกับผู้ป่วย แต่แพทย์มีหน้าที่ทั้งในทางกฎหมายและในวิชาชีพแพทย์ ที่จะต้องตัดสินใจบนพื้นฐาน ของข้อมูลทางการแพทย์ว่า สมควรที่จะทําการบําบัดรักษา หรือยุติการบําบัดรักษาผู้ป่วยหรือไม ทั้งนี้ทั้งนั้น แพทย์จะต้องตัดสินบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย (the patient's best interest) โดยคํานึงว่า ในกรณีเช่นใดจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย แพทย์ก็จะต้องตัดสินใจไปตามนั้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าญาติของผู้ป่วยไม่มีสิทธิในการปฏิเสธการรักษา เกิดขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกา ในคดีนี้มีข้อเท็จจริงว่าผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ "ครูซาน" ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งส่งผล ให้สมองบางส่วนบนของเธอไม่สามารถทํางานได้ เธอจึงตกอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้สึกตัว แต่เนื่องจากแกนสมอง ของเธอยังคงทํางานตามปกติ เธอจึงสามารถหายใจได้ตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่ปรากฏว่าเธอไม่สามารถกลืนอาหารด้วยตนเองได้ แพทย์จึงต้องให้อาหารผ่านทางสายยาง เวลาผ่านไปนานหลายปีอาการของแนนซี่ยังคงไม่ดีขึ้น บิดามารดารวมทั้งญาติสนิทของเธอได้ขอให้แพทย์ ยุติการให้อาหารเธอทางสายยางอีกต่อไป แต่เนื่องจากแพทย์ไม่พบหลักฐานว่า แนนซี่ได้ปฏิเสธไม่ยอมรับ การบําบัดรักษา แพทย์จึงไม่ยินยอม บิดามารดาของแนนซี่จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้อนุญาตให้แพทย์ ยุติการช่วยชีวิตของแนนซี่อีกต่อไป ศาลสูงสุดของมิสซูรีตัดสินว่า ศาลอาจอนุญาตให้ยุติการบําบัดรักษาได้ ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานอันชัดแจ้งแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยไม่ต้องการที่จะได้รับการบําบัดรักษา เช่นนั้น เมื่อไม่มีหลักฐานเช่นนี้ปรากฏต่อศาล รัฐจึงมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาชีวิตของคนในรัฐนั้นต่อไป คดีของแนนซี่ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ในชั้นนี้ ศาลตัดสิน โดยยืนยันว่าบุคคลที่มีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการบําบัดรักษา แต่เมื่อแนนซี่ ไม่อยู่ในสภาพที่จะแสดงเจตนาของตนเองได้ มลรัฐต่าง ๆ ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมให้มีการยุติ การบําบัดรักษานั้นได้ ในคดีนี้ศาลสูงของสหรัฐจึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแต่ละมลรัฐในการ ออกกฎหมายเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเอง หลังจากศาลสูงของสหรัฐตัดสินคดีได้ไม่นาน นักพ่อแม่ของแนนซี่ได้นําเพื่อนคนหนึ่ง ของแนนซี่มาแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่แนนซี่จะประสบอุบัติเหตุเธอเคยบอกว่าเธอไม่ต้องการบําบัด รักษาใด ๆ หากอยู่ในสภาพที่ไม่อาจเยียวยารักษาได้อีกต่อไป ในที่สุดรัฐมิสซูรีจึงอนุญาตให้ยุติ การบําบัดรักษาเธอได้รวมเวลาที่เธออยู่ในสภาวะผักกว่า ๗ ปี [๒๐] ปัญหาของการยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิตในทํานองเดียวกันนี้ ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของ ศาลอังกฤษเช่นกัน ในคดีที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "แบลนด์" [๒๑] คดีนี้สืบเนื่องมาจากโศกนาฏกรรม ที่สนามฮิลโบโร่ห์ ในเมืองเชฟฟิลด์ ซึ่งมีการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ระหว่าง ทีมลิเวอร์พูลกับ ทีมนอตติงแฮมฟอร์เรสต์ ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้นปรากฏว่าแฟนบอลทั้งสองทีม ต่างก็พยายามเข้าไปเชียร์ทีมของตนอย่างเนื่องแน่น จนสนามไม่อาจรองรับผู้ชมได้ทําให้ผู้ชม แฟนบอลส่วนหนึ่งถูกเบียดเข้าไปติดแผงกั้นสนามบนอัฒจรรย์ เหตุการณ์ครั้งนี้ทําให้ผู้ชมหลายสิบคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแฟนของทีมลิเวอร์พูลถึงแก่ความตาย โทนี่ แบลนด์ เป็นเด็กคนหนึ่งที่อยู่ในสนาม ขณะเกิดเหตุ โทนี่มีอายุ ๑๗ ปี จากสภาพความเบียดเสียดในสนามทําให้ปอดของโทนี่ถูกระแทก อย่างรุนแรง และไม่มีอากาศไปหล่อเลี้ยงสมอง ในที่สุดสมองส่วนบนของโทนี่ก็ไม่ทํางาน ทําให้เขา ตกอยู่ในสภาวะผัก แม้ว่าแกนสมองของโทนี่ยังคงทํางานอยู่ก็ตาม การที่โทนี่อยู่ในสภาวะเช่นนี้ทําให้ เขาไม่มีความรู้สึก ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ไม่รู้รส ไม่ได้กลิ่น และไม่ได้ยินเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ดวงตาของโทนี่ยังคงเปิดอยู่ตลอดเวลา และสามารถหายใจด้วยตนเอง ตามปกติคณะแพทย์ ได้ให้ความช่วยเหลือโทนี่ด้วยการให้อาหารผ่านทางสายยาง ตามกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ เมื่อแกนสมอง (brainstem) ยังคงทํางานอยู่ กฎหมายจะถือว่าบุคคลนั้นมีชีวิตอยู่ [๒๒] โทนี่จึงมีสภาพบุคคลตามกฎหมาย [๒๓] หลังจากเวลาผ่านไป กว่า ๓ ปี ครอบครัวของโทนี่และคณะแพทย์ต่างเห็นว่า การช่วยชีวิตเขาต่อไปจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ คณะแพทย์จึงได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพถึงความประสงค์ที่จะยุติการช่วยชีวิตของโทนี่อีกต่อไป แต่เจ้าหน้าที่ชันสูตรได้เตือนคณะแพทย์ว่าการกระทําเช่นนี้เป็นการเสี่ยงต่อการถูกดําเนินคดีฐานฆ่าผู้อื่น โดยเจตนา สถานพยาบาลที่บําบัดรักษาโทนี่จึงได้ยื่นคําร้องต่อศาล ขอให้มีคําสั่งอนุญาตให้คณะแพทย์ ยุติการช่วยชีวิต โดยถอดสายยางที่ให้อาหารแก่โทนี่ คดีได้ขึ้ึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงของอังกฤษ (House of Lords) ศาลได้พิจารณาปัญหาทางกฎหมายที่สําคัญหลายประการ คือ ประการแรก ศาลอังกฤษเห็นว่าบุคคลที่มีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการบําบัดรักษาได้ ประการที่สอง ศาลยอมรับหลักการเกี่ยวกับคําสั่งล่วงหน้า หรือพินัยกรรมชีวิต (Advance Directive หรือ Living Will) บางประการ กล่าวคือ ศาลยอมรับว่าบุคคลดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะตัดสินใจล่วงหน้า เกี่ยวกับชีวิตของตนเองได้ หากในขณะแสดงเจตนานั้นบุคคลดังกล่าวมีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ (competence) และทราบว่าคําสั่งนั้นจะต้องถูกนําไปใช้ในสถานการณ์เช่นใด (anticipated scope) รวมทั้งการตัดสินใจเช่นนั้นจะต้องไม่มีอิทธิพลอื่นมาครอบงํา (undue influence) [๒๔] อย่างไรก็ดี ศาลอังกฤษยอมรับเฉพาะคําสั่งล่วงหน้าที่แสดงเจตนาโดยผู้ป่วยเท่านั้น (instruction directive) โดยศาลไม่ยอมรับให้บุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลอื่นมาตัดสินใจแทน (proxy directive) ทั้งนี้เพราะ ศาลอังกฤษยึดถือทฤษฎีประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยโดยเคร่งครัด การตัดสินใจเกี่ยวกับการบําบัดรักษา จึงไม่อาจกระทําโดยบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่จะเป็นการตัดสินใจของแพทย์เท่านั้น หลักเกณฑ์ที่สําคัญประการต่อมาก็คือ ศาลอังกฤษเห็นว่าการยุติการบําบัดรักษาไม่ว่า โดยเพิกถอน (withdraw) หรือการยับยั้ง (withhold) ต่างก็ไม่มีผลทางกฎหมายที่แตกต่างกัน และ ศาลยังพิจารณาต่อไปด้วยว่าการให้อาหารทางสายยาง (artificial feeding) ถือเป็นการบําบัดรักษา ผู้ป่วยอย่างหนึ่งเช่นกัน มิใช่เป็นเพียงความจําเป็นพื้นฐานของชีวิต (basic necessity of life) เท่านั้น [๒๕] หลักกฎหมายที่สําคัญประการสุดท้ายก็คือ ศาลอังกฤษไม่ถือว่าการยุติการใช้เครื่องช่วยชีวิตเป็นความผิด ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เพราะศาลเห็นว่าการยุติการช่วยชีวิตไม่ใช่การกระทํา (act) แต่เป็นการละเว้น การกระทํา (omission) และการละเว้นนี้ก็มิได้เป็นไปโดยฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของแพทย์ เพราะแพทย์ ไม่มีหน้าที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยที่สิ้นหวังต่อไป เมื่อศาลอังกฤษได้พิจารณาข้อเท็จจริงในคดีนี้แล้ว จึงเห็นว่าการช่วยให้ชีวิตของโทนี่ ให้ยืนยาวอีกต่อไป จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สูงสุดแก่ผู้ป่วยต่อไป จึงอนุญาตให้แพทย์ยุติ การช่วยชีวิต โดยให้โทนี่ได้ตายอย่างสงบปราศจากความเจ็บปวด และด้วยศักดิ์ศรีอันสูงสุด แห่งความเป็นมนุษย์ ๓. ปัญหาและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการทําให้ตายโดยสงบ และ การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ กฎหมายของนานาประเทศโดยส่วนใหญ่ถือว่า ทั้งการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการให้ ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นในการฆ่าตัวตายเป็นความผิดตามกฎหมาย ในประเทศสหรัฐอเมริกามีเพียงมลรัฐ โอเรกอนเท่านั้น ที่อนุญาตให้แพทย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายทําการฆ่าตัวตายโดยสงบได้ นอกจากนั้น ก็มีเพียงประเทศเนเธอร์แลนด์เท่านั้นที่มีกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ โดยรัฐสภาของเนเธอร์แลนด์ได้ผ่านกฎหมายนี้เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๔ หลังจากที่ก่อนหน้านี้การทําให้ ผู้ป่วยตายโดยสงบยังคงเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่แพทย์สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการถูกดําเนินคดีได้ หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ทางการเนเธอร์แลนด์กําหนด ประเทศเนเธอร์แลนด์จึงถือเป็นประเทศแรก ในโลกที่อนุญาตให้แพทย์ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ แต่การอนุญาตเช่นนี้คงจํากัดเฉพาะแต่เพียงการทําให้ ผู้ป่วยตายโดยสงบ โดยสมัครใจเท่านั้น ปัญหาเกี่ยวกับการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ฆ่าตัวตาย เป็นปัญหา ที่ได้ถูกนํามาถกเถียงในแวดวงทางการแพทย์และกฎหมาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นเวลา หลายสิบปีแล้ว สาระสําคัญของปัญหาทั้งสองประการโดยส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันไม่มาก กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ความเห็นของผู้คนในสังคมอาจแบ่งได้เป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการ ออกกฎหมายอนุญาตให้แพทย์สามารถทําให้ หรือช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่ง กลับเห็นว่า การกระทําเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ในส่วนนี้จะได้พิจารณาถึงข้อโต้แย้งดังกล่าวทั้งในแง่ กฎหมาย การแพทย์ และศีลธรรม ๓.๑ ความเห็นสนับสนุนการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ฆ่าตัวตาย ฝ่ายที่สนับสนุนความเห็นนี้ ได้ยกเหตุผลหลายประการมาสนับสนุนความเห็นดังกล่าว ประการแรก ฝ่ายนี้เห็นว่าการตายโดยสงบถือเป็นสิทธิในการกําหนดตนเองของผู้ป่วย (patient's right to self-determination) กล่าวคือ เมื่อผู้ป่วยในระยะสุดท้าย (Terminally ill patient) ตัดสินใจเลือก ที่จะตายอย่างสงบ และมีศักดิ์ศรี สิทธิของเขาต้องได้รับการเคารพ และมีค่าเหนือกว่าประโยชน์อื่นใด ของสังคม เพราะการตายเช่นนี้ไม่ได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้อื่น รัฐจึงไม่มีอํานาจใด ๆ ที่จะเข้ามา แทรกแซง [๒๖] ประการที่สอง การทําให้และการช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ เป็นการกระทําที่สะท้อน ถึงความเป็นจริงในทางการแพทย์ ทั้งนี้เพราะว่าแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะมีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้นก็ตาม ความสามารถในการรักษาผู้ป่วยก็ยังคงมีอยู่อย่างจํากัด การขีดเส้นแบ่งระหว่างความมีชีวิต ของผู้ป่วยกับความตายไม่อาจทําได้ชัดเจนนัก เมื่อวิทยาการทางการแพทย์เพียงแต่ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิต ยืนยาวออกไป โดยไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยก็ย่อมมีความชอบธรรม ที่จะเรียกร้องให้แพทย์ช่วยให้ตนเองตายโดยสงบ เหตุผลการประการ ต่อมาฝ่ายที่สนับสนุนเห็นว่าการกระทําดังกล่าวนั้นเป็นการช่วยระงับ ความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นการกระทําที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีต่อผู้ป่วย การทําให้ผู้ป่วย ตายโดยสงบจึงมิใช่การกระทําที่มีเจตนาฆ่าผู้ป่วยแต่ เป็นไปเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทรมาน [๒๗] บทบาทของแพทย์ในปัจจุบันมิได้มีเพียงแต่การบําบัดรักษาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการระงับ หรือบรรเทา ความเจ็บปวด และความทุกข์ทรมานอีกด้วย [๒๘] การทําให้หรือช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบจึงเป็นหน้าที่ ของแพทย์โดยตรง ๓.๒ ความเห็นคัดค้านการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ฆ่าตัวตาย ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทําดังกล่าว ได้ยกเหตุมาสนับสนุนว่าการทําให้หรือการช่วย ให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ สมควรที่จะเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการด้วยกัน ประการแรก ฝ่ายนี้เห็นว่าการทําให้หรือการช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นการกระทําที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการฆ่า การกระทําเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อศีลธรรม ไม่ว่าจะกระทําโดยการเคารพ ต่ออัตภาพ หรือสิทธิของผู้ป่วยประการใดก็ตาม นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้ว่า ผู้ป่วยจะทําการตัดสินใจด้วยตนเอง แต่การตัดสินใจต่าง ๆ ของผู้ป่วยมักจะขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นสําคัญ ดังนั้น หากอนุญาตให้มีการกระทําดังกล่าว ในท้ายที่สุดแล้วแพทย์ก็จะเป็นเพียงผู้เดียวที่จะตัดสิน คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยนั้นสมควรที่จะมีชีวิตต่อไปหรือไม่ เหตุผลประการที่สองก็คือ การกระทําเช่นนี้เป็นสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรมทางการแพทย์ ที่ถือปฏิบัติมาช้านาน ฝ่ายนี้ได้นําคําปฏิญาณของฮิปโปเครติส (Hippocratic Oath) ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ข้าพเจ้าจะไม่จ่ายยาพิษให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด แม้เมื่อถูกขอร้อง ทั้งจะไม่ให้คําแนะนําแก่ผู้ใด ในการกระทํานั้น" [๒๙] มาสนับสนุน โดยกล่าวว่าเหตุที่ฮิปโปเครติสได้บัญญัติจริยธรรมข้อนี้ขึ้นมา ก็เพราะว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อถือในตัวแพทย์ของผู้ป่วย ดังนั้น หากมีการอนุญาตให้แพทย์สามารถทําให้ผู้ป่วยตายได้โดยไม่มีความผิดแล้ว ความน่าเชื่อถือ ในตัวแพทย์ก็จะน้อยลง [๓๐] บทบาทของแพทย์ในสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไป เหตุผลที่สําคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การอนุญาตให้มีการกระทําดังกล่าวนั้นจะเป็นสิ่งที่ ไม่อาจควบคุมได้ และจะนําไปสู่การใช้ในทางที่มิชอบ [๓๑] ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอาจได้รับการรักษา ที่ไม่ดีเพียงพอ แพทย์อาจมีอิทธิพลต่อผู้ป่วยในการตัดสินใจที่จะตายโดยสงบ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นเพราะ เหตุผลด้านการให้บริหารด้านสาธารณสุขแก่ผู้ป่วย หรือทางด้านการเงินก็ตาม นอกจากนั้น การกระทํา เช่นนี้จะขยายขอบเขตไปยังผู้ป่วยอื่นที่มิได้เป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้ายด้วย (slippery slope) หากแต่ เป็นกลุ่มคนที่อ่อนไหวได้ง่าย เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ยากไร่ และด่อยโอกาสในสังคม ผู้ป่วยเหล่านี้เองอาจจะมีความรู่สึก และวิตกกังวลว่าการดํารงชีวิตอยู่ต่อไป จะเป็นภาระแก่ครอบครัว และสังคม จึงเลือกที่จะตัดสินใจให้แพทย์กระทํา หรือช่วยกระทําให้ตนตายโดยสงบ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงสิทธิที่จะตายของผู้ป่วยเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ที่จะต้องตาย [๓๒] (Duty to die) ผู้ที่สนับสนุนการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบส่วนใหญ่ มักจะมิได้แยกแยะความแตกต่าง ระหว่างการให้ผู้ป่วยเลือกที่จะตายตามธรรมชาติ กับการเรียกร้องให้บุคคลอื่นทําให้หรือช่วยเหลือ ให้ตนเองตายโดยสงบ และมักจะถือว่าการกระทําประเภทหลังนี้ เป็นสิทธิของบุคคลที่จะตาย (personal right to die) ตามความเห็นของบุคคลเหล่านี้ขอบเขตของสิทธิที่จะตาย จึงมิได้ถูกจํากัด อยู่เพียงสิทธิในการปฏิเสธการบําบัดรักษาเท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงสิทธิที่จะเรียกร้องให้บุคคลอื่นทํา หรือช่วยเหลือให้ตนเองตายโดยสงบด้วย [๓๓] ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายการแพทย์ท่านหนึ่งของไทยได้ให้ความเห็นคัดค้านว่า สิทธิที่จะตายเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่ง สิทธิเช่นนี้เป็นทั้งสิทธิตามธรรมชาติ และสิทธิตามกฎหมาย โดยกล่าวว่าสิทธินี้เป็นส่วนหนึ่งของความมีอิสระในการตัดสินใจโชคชะตาของตนเอง และเป็นสิทธิ ที่กฎหมายต่างประเทศให้การยอมรับ [๓๔] ในความเห็นของผู้เขียน สิทธิที่จะตายไม่ควรที่จะถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชน เพราะภายใต้ บริบทของสิทธิมนุษยชน สิทธิประเภทหนึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิทธิประเภทอื่นด้วย การใช้สิทธิประเภทหนึ่งจึงเป็นการเอื้ออํานวยต่อการใช้สิทธิอีกประเภทหนึ่งของบุคคลได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเสมอภาคกัน เช่น สิทธิในชีวิตย่อมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดํารงชีวิตของบุคคล เพื่อให้บุคคลนั้น อาจใช้สิทธิอื่นที่ติดตัวมาตั้งแต่กําเนิดได้ สิทธิในการศึกษาก็ย่อมเป็นพื้นฐาน และอาจเชื่อมโยงกับ สิทธิประเภทอื่น เช่น สิทธิในการทํางาน หรือสิทธิในการได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม และเป็นธรรมระหว่าง การทํางาน บุคคลก็ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสุขอนามัยที่ดีในสถานที่ทํางาน และอาจรวมกลุ่มก่อตั้งเป็น สหภาพได้ ดังนี้จะเห็นได้ว่าสิทธิมนุษยชนแต่ละประเภทไม่ใช่สิทธิที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว หากปราศจาก สิทธิประเภทหนึ่ง บุคคลก็ย่อมไม่อาจใช้สิทธิประเภทอื่นได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาถึงสิทธิที่จะตายจะเห็นได้ว่า สิทธิประเภทนี้ไม่อาจเอื้อประโยชน์ต่อการใช้สิทธิ ของบุคคลประเภทอื่นแม้แต่น้อย ในทางกลับกัน หากบุคคลใดอ้าง และบังคับใช้สิทธิที่จะตาย บุคคลนั้น ก็ย่อมไม่อาจบังคับใช้สิทธิประเภทอื่นได้อีกต่อไป ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The University Declaration of human Rights) สิทธิที่จะตายจึงมิได้ถูกบัญญัติไว้ ในความเห็นของผู้เขียนความหมายของสิทธิที่จะตายควรถูกจํากัดอยู่เพียงสิทธิที่จะปฏิเสธ การบําบัดรักษาเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือสิทธินี้เป็นสิทธิที่จะตายตามธรรมชาติ (right to dienaturally) [๓๕] ส่วนสิทธิที่จะตาย ในความหมายอย่างกว่างน่าจะถือว่าเป็นสิทธิที่ไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ เนื่องจากตามทฤษฎีทางกฎหมายอัตภาพของบุคคล (personal autonomy) และสิทธิในการกําหนดตนเอง (right to self-determination) นั้น เป็นสิทธิในทางปฏิเสธ (negative right) เท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สิทธิเช่นนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลที่จะปฏิเสธมิให้ผู้ใดเข้ามาแทรกแซง (right to bel eftalone) ดังเช่นในกรณีของการปฏิเสธการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตเมื่อบุคคลใดก็ตามมีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการกระทําใด ๆ ต่อเนื้อตัวร่างกายของเขาได้ แต่สําหรับการทําให้ผู้ป่วย ตายโดยสงบและการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์นั้น หาใช่สิทธิที่จะปฏิเสธมิให้บุคคลอื่น เข้ามาแทรกแซง หากผู้ป่วยจําเป็นที่ต้องให้แพทย์เข้ามาช่วยเหลือ เมื่อเป็นดังนี้สังคมย่อมมีความชอบธรรม ที่จะเข้ามาแทรกแซงได้ หากเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือเช่นว่านี้ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่า การทําให้และการช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นการกระทํา ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา และเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะต้องช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ ในความเห็นของผู้เขียน หน้าที่และจรรยาของแพทย์นั้น ก็คือการบําบัดรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แม้จะเป็นความจริงในทางแพทย์ที่ว่า การบําบัดรักษาผู้ป่วยบางวิธี อาจทําให้ผู้ป่วยมีชีวิตสั้นลงก็ตาม แต่การบําบัดรักษานั้นมุ่งหวังเพื่อให้ผู้ป่วย หายเป็นปกติ แพทย์หาได้มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบไม่ มิเช่นนั้นเมื่อแพทย์ได้รับการร้องขอ จากผู้ป่วยให้ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบแพทย์ก็จะต้องปฏิบัติตามโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เมื่อพิจารณา จากสภาพความเป็นจริงผู้ป่วยที่ร้องขอให้แพทย์กระทําดังกล่าว มักจะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพทรมาน เนื่องจากความเจ็บปวด ดังนั้น สิ่งที่ควรยุติจึงมิใช่ชีวิตของผู้ป่วย แต่เป็นความเจ็บปวดของผู้ป่วยนั้น แพทย์ควรที่จะให้ความสนใจแก่ศาสตร์ในการบรรเทาความเจ็บปวด (palliative care) ให้มากขึ้น และ ติดตามวิทยาการที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การบําบัดรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ๔. กฎหมายและกรณีศึกษาเกี่ยวกับการตายโดยสงบในต่างประเทศ ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า กฎหมายของต่างประเทศโดยส่วนใหญ่จะถือว่าการทําให้ผู้ป่วย ตายโดยสงบ และการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ฆ่าตัวตายเป็นความผิดตามกฎหมาย จึงมีการดําเนินคดี ในความผิดเช่นนี้เป็นจํานวนมาก แต่ในบางประเทศกฎหมายในลักษณะเช่นนี้มักถูกกล่าวอ้างว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ศาลในต่างประเทศได้วินิจฉัยคดีในลักษณะเช่นนี้ โดยให้เหตุผล ที่แตกต่างกัน ในส่วนนี้จะได้พิจารณาถึงกฎหมายของต่างประเทศรวมทั้งเหตุผลของคําพิพากษา ของศาลในต่างประเทศ เพื่อที่จะนํามาพิจารณาถึงสถานะของการกระทําดังกล่าวในประเทศไทยต่อไป ๔.๑ กฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตามประมวลกฎหมายอาญาของเนเธอร์แลนด์ การทําให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยการร้องขอ โดยชัดแจ้งของบุคคลนั้น หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผู้อื่นตายโดยสมัครใจ" เป็นความผิดตามกฎหมาย ที่ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๑๒ ปี หรือต้องถูกปรับตามกฎหมาย [๓๖] ส่วนการฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายไม่ถือว่าเป็นความผิด ทั้งนี้เพราะว่าหากกฎหมาย กําหนดความรับผิดเช่นนี้ก็จะทําให้มีความพยายามในการกระทํานั้นอีกต่อไป [๓๗] อย่างไรก็ดี กฎหมายถือว่าการช่วยเหลือ หรือยุยงให้บุคคลอื่นฆ่าตัวตายเป็นความผิด หากการฆ่าตัวตายสําเร็จลง ได้ด้วยความช่วยเหลือหรือยุยงนั้น ผู้กระทําความผิดนี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือต้องถูกปรับ ตามกฎหมาย [๓๘] คดีเกี่ยวกับการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ขึ้นสู่ศาลเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.๑๙๗๑ โดยแพทย์ชื่อ Postma ได้ถูกกล่าวหาว่าได้ฉีดมอร์ฟีนให้แก่ผู้ป่วยซึ่งเป็นมารดาของเธอเอง เพื่อให้ถึงแก่ความตาย ศาลเห็นว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา ๒๙๓ เพราะว่า แม้มารดาของเธอจะร้องขอให้มีการกระทําดังกล่าว แต่เจตนาของเธอก็คือต้องการให้ผู้ป่วย ถึงแก่ความตาย กระนั้นก็ตามศาลก็ได้ลงโทษเธอสถานเบา โดยให้จําคุกหนึ่งสัปดาห์ และ รอการลงโทษไว้นอกจากนี้ ศาลได้ชี้ให้เห็นว่าการให้ยาแก่ผู้ป่วยเพื่อระงับความเจ็บปวดอาจไม่ถือเป็น ความผิดได้ หากกระทํานั้นนั้นวัตถุประสงค์เพื่อระงับความเจ็บปวด ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตในที่มีสาเหตุ จากความเจ็บป่วยในระยะสุดท้าย อันไม่อาจเยียวยารักษาได้ แม้ว่ากระทําเช่นนี้จะเป็นเหตุให้ผู้ป่วย ถึงแก่ความตายก็ตาม [๓๙] หลังจากศาลได้ตัดสินคดี ราชสมาคมทางการแพทย์แห่งเนเธอร์แลนด์ (the Roya lDutch Medical Association) ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนให้มีการงดการบังคับใช้ มาตรา ๒๙๓ โดยกล่าวว่า การให้ยาเพื่อระงับความเจ็บปวด และการยุติการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตผู้ป่วย เป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม แม้ว่าการกระทํานั้นจะส่งผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายก็ตาม [๔๐] ในปี ค.ศ.๑๙๘๔ คดีทํานองเดียวกันนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอีกครั้งหนึ่ง [๔๑] ผู้ป่วยในคดีนี้มีอายุ ๙๕ ปี และไม่สามารถรับประทานอาหารด้วยตนเอง ในบางครั้งเธอก็สูญเสีย สติสัมปะชัญญะเป็นการชั่วคราว ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่เธอมีสติสัมปะชัญญะ เธอได้ร้องขอ ให้แพทย์ทําให้เธอถึงแก่ความตาย แม้ว่าในทางการแพทย์นั้นเธอไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย แต่เป็นเพียงผู้ป่วยเรื้อรังเท่านั้น แพทย์ก็ได้ตัดสินใจทําให้เธอตายโดยสงบ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ เห็นว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาได้กลับคําพิพากษาดังกล่าวโดยเห็นว่า แพทย์ย่อมมีสิทธิอ้างว่า การกระทํานั้นเป็นการกระทําด้วยความจําเป็นได้ ศาลเชื่อว่าในขณะที่แพทย์ กระทําการนั้นแพทย์ได้เผชิญความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ในการรักษาชีวิต กับหน้าที่ในการบรรเทา ความเจ็บปวด การพิจารณาว่าแพทย์กระทําความผิดหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาจากมาตรฐานจริยธรรม ทางการแพทย์ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ศาลฎีกาจึงย้อนสํานวนกลับไปยังศาลอุทธรณ์ ซึ่งต่อมา ศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาว่า การกระทําของแพทย์ไม่มีความผิดตามกฎหมาย นับตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๙๐ เป็นต้นมา กระทรวงยุติธรรม และราชสมาคมทางการแพทย์ แห่งเนเธอแลนด์ได้ทําการตกลงร่วมกันว่า จะไม่มีการดําเนินคดีกับแพทย์ที่ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ หากแพทย์ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดไว้อย่างเคร่งครัดหลักเกณฑ์เช่นนี้ประกอบด้วย [๔๒] - ผู้ป่วยนั้นต้องเป็นผู้ป่วยที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส - การบําบัดรักษาผู้ป่วยให้หายหรือให้อาการบรรเทาลงอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทําได้ - ในขณะที่ตัดสินใจนั้นผู้ป่วยจะต้องมีสติสัมปะชัญญะที่สมบูรณ์ และการตัดสินใจนั้นต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล - แพทย์ต้องให้คําปรึกษาแก่ผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งครั้ง จนมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยสมัครใจ และควรมีญาติของผู้ป่วยเข้าร่วมในขณะที่แพทย์ให้คําปรึกษาด้วย - หลังจากผู้ป่วยตัดสินใจแล้ว ต้องมีแพทย์อีกอย่างน้อยคนหนึ่งทําการปรึกษากับผู้ป่วย และแพทย์คนแรก เพื่อยืนยันว่ากระบวนการข้างต้นเป็นไปอย่างถูกต้อง - การทําให้หรือช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบต้องเป็นการกระทําของแพทย์เท่านั้น หากกรณีเข้าเงื่อนไขเช่นนี้ แพทย์ย่อมสามารถทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ แต่แพทย์ต้องรายงาน การตายของผู้ป่วยทันที และพนักงานอัยการก็จะไม่นําคดีขึ้นฟ้องต่อศาล ดังนั้น แม้ในทางปฏิบัติ แพทย์จะไม่ถูกดําเนินคดีทางศาล แต่ในทางทฤษฎีนั้นการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบยังคงถือเป็น ความผิดตามกฎหมาย ในประเทศเนเธอแลนด์ ความพยายามในการทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นสิ่งที่ชอบด้วย กฎหมายยังคงดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๐๐ สภาผู้แทนราษฎรของ เนเธอแลนด์ ได้ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ภายใต้หลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ [๔๓] หลักเกณฑ์เช่นนี้มิได้แตกต่างไปจากเดิมเท่าใด นักผู้ป่วยที่ร้องขอให้แพทย์ทําให้ ตนตายโดยสงบ ไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย แต่ต้องอยู่ในสภาวะทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง และแพทย์กับผู้ป่วยนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ทางการแพทย์กันมาก่อน เป็นระยะเวลานานพอสมควร ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ค.ศ.๒๐๐๑ วุฒิสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ท่ามกลางการคัดค้าน จากหลายฝ่ายทั้งองค์กรเอกชน และองค์กรด้านศาสนา ประเทศเนเธอแลนด์จึงเป็นประเทศแรก และประเทศเดียวในโลกที่การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย ๔.๒ กฎหมายของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศออสเตรเลีย การช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการช่วยเหลือผู้อื่นให้ฆ่าตัวตาย เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๙๕ รัฐสภาของนอร์ธเทิร์นเทอร์ริทอรี่ ได้ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งมีชื่อเรียกว่า "กฎหมายว่าด้วยสิทธิของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย" (Rights of the Terminallyill Act) กฎหมายดังกล่าวนี้อนุญาตให้แพทย์ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ และแพทย์จะไม่ ถูกดําเนินคดีตามกฎหมายหากได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ผู้ป่วยที่อาจร้องขอให้แพทย์ทําให้ตนเองตายโดยสงบได้ จะต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้ายเท่านั้น และต้องมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ส่วนแพทย์ก็จะต้องมีเหตุผลอันควรเชื่อว่าผู้ป่วยนั้นได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัสจากความเจ็บป่วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นถึงแก่ความตาย และต้องปรากฏว่า ไม่มีมาตรการในการบําบัดรักษาผู้ป่วยใดที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นจากความเจ็บป่วยนั้นได้ นอกจากนี้ แพทย์ต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงสภาพของโรคการวินิจฉัยโรค แนวทางในการบําบัดรักษา วิธีการในการควบคุมความเจ็บปวด รวมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับครอบครัวของผู้ป่วยด้วย ทั้งนี้ เป็นให้การตัดสินใจของผู้ป่วยเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ป่วยให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากกรณีเข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น แพทย์คนที่สองจะต้องยืนยันการวินิจฉัยของแพทย์ คนแรกอีกครั้งหนึ่ง โดยกฎหมายได้กําหนดให้แพทย์คนที่สองนี้ จะต้องมีคุณวุฒิทางด้านจิตศาสตร์ด้วย และจะต้องไม่เป็นญาติลูกจ้าง หรือกําลังทํางานในสถานที่ที่ทํางานเดียวกันกับแพทย์คนแรก หากแพทย์ คนที่สองยืนยันว่าการวินิจฉัยของแพทย์คนแรกเป็นไปโดยถูกต้อง ผู้ป่วยจะต้องรอระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน จึงจะสามารถยื่นคําขอต่อแพทย์ (certificate of request) ขอให้ทําให้ตนเองตายโดยสงบได้ และเมื่อผู้ป่วยได้ยื่นคําขอเช่นนี้ต่อแพทย์แล้ว แพทย์จะต้องรอให้ระยะเวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง จึงจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบได้ ระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนี้ผู้ป่วยสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง เจตนาของตนเองได้ตลอดเวลา กฎหมายฉบับนี้ได้ให้ความสําคัญเป็นอย่างมากกับการบรรเทาความเจ็บปวด (palliative care) ของผู้ป่วย [๔๔] โดยกฎหมายกําหนดให้แพทย์จะต้องอธิบายถึงวิธีการในการบรรเทาความเจ็บปวด ให้ผู้ป่วยทราบ และหากแพทย์ดังกล่าวไม่มีคุณวุฒิในด้านนี้ ก็จะต้องส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์อีกคนหนึ่ง ซึ่งมีความชํานาญด้านนี้เป็นพิเศษ [๔๕] เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบรรเทา ความเจ็บปวดให้มากที่สุด อย่างไรก็ดีกฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีบทนิยามที่คลุมเครือ ผู้ป่วยซึ่งเข้าเงื่อนไข ที่จะขอให้แพทย์ทําให้ตนเองตายโดยสงบนั้น อาจจําเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ดังนั้น ผู้ป่วยทางจิตก็สามารถที่จะยื่นคําขอต่อแพทย์ได้ Glare และ Tobin เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ ไม่อาจถือว่าได้ให้ความสําคัญแก่การบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วย เพราะกฎหมายเพียงแต่กําหนด ให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ที่ชํานาญในสาขานี้เท่านั้น โดยไม่ได้กําหนดให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการบําบัดรักษา เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดก่อน นอกจากนั้น ในนอร์ธเทิร์นเทอร์ริทอรีก็มีแพทย์ที่ชํานาญในสาขาการบรรเทา ความเจ็บปวดเพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งยังไม่มีโรงพยาบาลสําหรับผู้ป่วยที่ใกล้ตายอีกด้วย [๔๖] หลังจากที่กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จากการสํารวจพบว่าคนออสเตรเลียโดยส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ ๗๐ สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ แต่กระนั้นก็ดีเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ค.ศ.๑๙๙๗ สภาสูงของออสเตรเลียก็ได้มีมติด้วยคะแนนเสียง ๓๘ ต่อ ๓๓ ไม่ผ่านกฎหมายฉบับนี้ ในปัจจุบัน จึงไม่มีรัฐใดในประเทศออสเตรเลียที่การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย ๔.๓ กฎหมายของประเทศแคนาดา ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศแคนนาดา (Canadian Criminal Code) การทําให้ ผู้ป่วยตายโดยสงบไม่ว่ากรณีใดก็ตามถือ เป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้กระทําต้องถูกดําเนินคดีในฐานะ ฆาตรกรรมขั้นที่หนึ่ง หรือขั้นที่สอง (first o rsecond degree murder) [๔๗] ความผิดในฐานเหล่านี้ มีอัตราโทษขั้นสูงถึงจําคุกตลอดชีวิต แต่จากคดีที่เกิดขึ้นศาลแคนาดามักจะรอการลงโทษผู้กระทําผิด เสมอ [๔๘] สําหรับการฆ่าตัวตายนั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่การช่วยเหลือให้ผู้อื่น ฆ่าตัวตายนั้นถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศแคนาดา มาตรา ๒๔ (b) ซึ่งบัญญัติว่า "การช่วยเหลือหรือยุยงให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ทั้งนี้ไม่ว่าการฆ่าตัวตายจะเกิดขึ้นหรือไม่ ผู้ให้ความช่วยเหลือ หรือยุยงก็จะต้องรับโทษจําคุกไม่เกิน ๑๔ ปี..." คดีเกี่ยวกับการช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายที่สําคัญที่สุดในประเทศแคนาดาคดีหนึ่งก็คือ คดี Rodriguez v British Columbia 49 ในคดีนี้โจทก์ คือ Rodriguez อายุ ๔๒ ปี และได้ป่วยเป็นโรค amyotrophic lateral sclerosis แพทย์ผู้ทําการรักษาเธอได้วินิจฉัยว่าเธอจะมีอายุได้อีกประมาณ ๒ เดือน ถึง ๑๔ เดือน ในระหว่างนี้เธอจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ทีละน้อย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การพูด การหายใจ หรือการกลืนอาหาร และเธอจะต้องได้รับการช่วยเหลือโดยผ่านเครื่องช่วยหายใจ และ การให้อาหาร และน้ำผ่านทางสายยาง จนกระทั่งตายในที่สุด ในขณะที่ทราบคําวินิจฉัยของแพทย์ Rodriguez ไม่มีความประสงค์ที่จะฆ่าตัวตาย แต่ต้องการ ให้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณค่ามากที่สุด แต่เธอก็ตระหนักว่าวาระสุดท้ายของเธอก็ใกล้จะมาถึง ซึ่งในเวลานั้น เธอจะไม่สามารถฆ่าตัวตายโดยปราศจากความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ อย่างไรก็ดี กฎหมายของรัฐ British Columbia ที่เธออาศัยอยู่ถือว่าการช่วยเหลือผู้อื่นให้ฆ่าตัวตายเป็นความผิด เธอจึงฟ้องคดีต่อศาลอ้างว่า บทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อกฎบัตรแห่งสิทธิของแคนาดา (Canadian Charter of Rights) เหตุผลหลัก ของเธอก็คือ กฎหมายที่ถือว่าการช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเป็นกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ และ ความเท่าเทียมกันของบุคคลทั้งยังเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างผู้ที่มีร่างกายสมประกอบกับผู้พิการ เนื่องจากผู้ที่มีร่างกายสมประกอบสามารถที่จะฆ่าตัวตายด้วยตนเองได้ แต่ผู้พิการทางร่างกาย ไม่สามารถที่จะฆ่าตัวเองโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ศาลชั้นตันและศาลอุทธรณ์แห่งรัฐ British Columbia ได้ยกคําฟ้องของเธอคดีขึ้นสู่ การพิจารณาของศาลฎีกาแห่งแคนาดา และในที่สุดศาลได้ตัดสินด้วยคะแนนเสียง ๕ ต่อ ๔ ว่า แม่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายนั้นเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล แต่สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมต้องอยู่ภายใต้ข้อจํากัดที่มีเหตุผล และได้บัญญัติไว้เป็นกฎหมาย ศาลเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองชีวิตของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนที่มีความอ่อนไหวภายใต้สังคมประชาธิปไตย รัฐจึงมีอํานาจที่จะออกกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ได้ ในที่สุดศาลจึงวินิจฉัยว่ากฎหมายนี้ไม่ขัด หรือแย้งต่อกฎบัตรแห่งสิทธิและเสรีภาพของแคนาดา ภายหลังจากศาลฎีกาตัดสินได้ไม่นานนัก Rodriguez ก็ถึงแก่ความตายที่บ้านของเธอ ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าเธอถึงแก่ความตายตามธรรมชาติ หรือได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ แต่จากจดหมายฉบับที่เธอได้เขียนได้ก่อนตาย Rodriguez ได้แสดงความหวังว่าสังคมของประเทศ แคนาดาจะแก้ไขกฎหมายโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายได้มีทางเลือกที่มากขึ้น [๕๐] แต่จนถึงปัจจุบันกฎหมายของแคนาดาก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ๔.๔ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยส่วนใหญ่ถือว่า การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ และการช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเป็นความผิดตามกฎหมาย ตลอดจนระยะเวลาประมาณ ๑๕ ปีที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวนั้นอยู่ในความสนใจของผู้คนตลอดมา คดีในประเทศสหรัฐโดยส่วนใหญ่จะเป็นคดีเกี่ยวกับ การช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายโดยแพทย ์ โดยคดีที่มีความสําคัญจะเกี่ยวข้องกับนายแพทย์สองคน คือ Dr.Jack Kevorkian กับ Dr.Timothy Quill คดีเกี่ยวกับ Dr.Jack Kevorkian ได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.๑๙๘๙ ในคดีนี้ Kevorkian ได้ช่วยเหลือ ผู้ป่วยรายหนึ่งชื่อ Janet Adkins ซึ่งป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ให้ฆ่าตัวตายโดยใช้เครื่องมือฆ่าตัวตายที่ Kevorkian ได้ประดิษฐ์ขึ้นด้วยตนเอง เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่ต่อสายน้ําเกลือเข้ากับเส้นเลือดของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะเป็นผู้สั่งการให้ยานอนหลับ และโปรแตสเซี่ยมคลอไรด์ส่งผ่านมาตามท่อสายยาง เมื่อผู้ป่วย เริ่มนอนหลับจากผลของยานอนหลับ ฤทธิ์ของโปรแตสเซี่ยมคลอไรด์ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ ต่อมา Kevorkian ได้ถูกดําเนินคดีในมลรัฐมิชิแกน ซึ่งในขณะนั้นไม่มีกฎหมายใดที่ถือว่าการช่วยเหลือ ให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเป็นความผิด ศาลแห่งมลรัฐมิชิแกนพิพากษาว่าเขาไม่มีความผิด เพราะการฆ่าตัวตายนั้น เป็นการกระทําของ Janet Adkins โดย Kevorkian มิได้กระทําการใด ๆ นอกจากให้ความช่วยเหลือแก่ Janet Adkins เท่านั้น [๕๑] หลังจากที่ศาลพิพากษาว่าการกระทําของ Kevorkian ไม่เป็นความผิด มลรัฐมิชิแกน ได้ออกกฎหมายที่ถือว่าการช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเป็นความผิดทันที แต่ Kevorkian ก็ยังคงทําการ ช่วยเหลือผู้ป่วยให้ฆ่าตัวตายต่อไปอีกนับสิบราย ต่อมาเขาได้ประกาศต่อสาธารณชนว่าเขาได้ช่วยให้ผู้ป่วย รายหนึ่งชื่อ Thomas Hyde ฆ่าตัวตาย ทางการของมลรัฐมิชิแกนจึงได้ดําเนินคดีกับเขาอีกครั้ง หลังจาก ที่ถูกจับกุม Kevorkian ได้ทําการประท้วงโดยไม่ยอมประกันตัวและทําการอดอาหาร แต่ต่อมา คณะลูกขุนใหญ่ก็ลงมติปล่อยตัวเขาอีกครั้ง ด้วยเหตุผลที่ว่าการกระทําของเขาเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยพ้น จากความทุกข์ทรมานมิใช่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย [๕๒] คดีทํานองเดียวกันนี้ได้ขึ้นสู่ศาลมลรัฐนิวยอร์คเช่นกันโดยในปี ค.ศ.๑๙๙๑ วารสารทางการแพทย์ ฉบับหนึ่งชื่อ The New England Journal of Medicine ได้ตีพิมพ์บทความของ Dr.Timothy Quill เรื่อง "Death and Dignity: A Case of Individualized Decision Making" จากข้อความในวารสารแสดงให้เห็นว่า เขาได้ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยชื่อ Diane ทําการฆ่าตัวตาย โดยการจ่ายยานอนหลับมากกว่าปกติ ต่อมาพนักงาน อัยการได้ดําเนินคดีกับเขาในข้อหาช่วยให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย ซึ่งมีโทษจําคุกไม่เกิน ๑๕ ปี แต่คณะลูกขุน ก็ได้ลงมติไม่ดําเนินคดีกับเขาเช่นกัน [๕๓] ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัญหาเกี่ยวกับการที่แพทย์ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายดูเหมือนว่า จะเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนจาก มากกว่าการที่แพทย์ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบโดยตรง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีการทําประชามติ เพื่อออกกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ให้ความช่วยผู้ป่วยฆ่าตัวตาย ได้หลายครั้ง ในปี ค.ศ.๑๙๙๗ มลรัฐโอเรกอนได้ผ่านกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย ในการฆ่าตัวตายได้ [๕๔] และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ก็มีคดีสําคัญขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงสุด ของประเทศสหรัฐ ๒ คดี คือ Washington et al v. Glucksberg et al [๕๕] กับคดี Vacco, Attorney General of New Yorke ta tv. Quilletal [๕๖] คดีทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคดีที่แพทย์และผู้ป่วยที่ใกล้จะถึงแก่ความตาย ในวอชิงตัน และ นิวยอร์คได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลว่า กฎหมายที่ห้ามมิให้แพทย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยในการฆ่าตัวตาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐ โดยในคดีแรกฝ่ายผู้ร้องอ้างว่า บทบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิแก่ผู้ป่วยที่มีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ในการฆ่าตัวตาย ดังนั้น บทบัญญัตินี้ จึงรวมถึงการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ด้วย ส่วนในคดีที่สองผู้ร้องอ้างว่า กฎหมายของ นิวยอร์คที่ห้ามมิให้แพทย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยในการฆ่าตัวตายนั้ นขัดต่อรัฐธรรมนูญเรื่อง ความเสมอภาคระหว่างบุคคล ทั้งนี้ เพราะว่ากฎหมายของนิวยอร์คไม่ได้ห้ามการฆ่าตัวตายและให้สิทธิ แก่บุคคลที่จะปฏิเสธการบําบัดรักษาได้ แต่สําหรับผู้ป่วยในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถฆ่าตัวเองได้ กลับไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับบุคคลอื่นที่สามารถฆ่าตัวเองได้โดยลําพังศาลสูงสุดของสหรัฐตัดสินคดี ในทํานองเดียวกันว่า กฎหมายทั้งสองไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา โดยคดีแรกศาลวินิจฉัยว่า สิทธิที่ผู้ร้องอ้างนั้นไม่ใช่สิทธิหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ส่วนคดีที่สองศาลเห็นว่าสิทธิ ในการปฏิเสธการบําบัดรักษานั้นแตกต่างจากการขอรับความช่วยเหลือจากแพทย์ในการฆ่าตัวตาย กฎหมายของนิวยอร์คไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติ เพราะไม่มีบุคคลใดที่จะได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ ในการฆ่าตัวตาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลปกติ หรือผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ซึ่งไม่อาจช่วยตัวเองได้ก็ตามศาล ในทั้งสองคดีได้ สรุปเหตุผลทํานองเดียวกันว่ารัฐมีสิทธิที่จะออกกฎหมาย เพื่อให้ความคุ้มครองชีวิต ของบุคคลในรัฐนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ เพราะหากอนุญาตให้มีการช่วยให้ผู้ป่วยฆ่าตนเองได้สิทธิเช่นว่านี้ อาจถูกนําไปใช้ในทางที่ผิด และ นําไปสู่การทําให้บุคคลเหล่านั้นตายโดยสงบแบบทั้งสมัครใจหรือไม่สมัครใจได้ กล่าวโดยสรุป ในประเทศสหรัฐอเมริกาแม้ว่าบุคคลทุกคนจะมีสิทธิในการปฏิเสธการบําบัดรักษา แต่บุคคลนั้นหามีสิทธิที่จะฆ่าตัวตายไม่การทําให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายโดยสงบ เป็นความผิดตามกฎหมาย ในทุกมลรัฐ ส่วนการช่วยเหลือของแพทย์ในการฆ่าตัวตายของบุคคลอื่นนั้น ศาลสหรัฐยังคงให้สิทธิ แก่มลรัฐต่าง ๆ ในการออกกฎหมายของมลรัฐ ว่าจะอนุญาตให้มีการช่วยเหลือของแพทย์แก่บุคคล ที่ประสงค์ที่จะฆ่าตัวตายหรือไม่ ในปัจจุบันมีเพียงรัฐโอเรกอนเท่านั้นที่มีกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยเช่นนั้นได้ บทสรุป ปัญหาเกี่ยวกับการทําให้ตายโดยสงบ เป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้อง กับวิทยาการหลายสาขา การทําความเข้าใจ และแยกแยะประเด็นปัญหาเป็นสิ่งสําคัญ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งมีความจําเป็นที่จะต้องปรับทัศนคติระหว่างแพทย์กับนักกฎหมายให้สอดคล้องกันมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ในความเห็นของผู้เขียน สิทธิในการปฏิเสธการบําบัดรักษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล ที่ไม่มีบุคคลใดจะมาล่วงละเมิดได้ อย่างไรก็ดีสิทธิเช่นว่านี้เป็นสิทธิที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิที่จะตาย ในความหมายอย่างกว่างการนําปัญหาทั้งสองมาพิจารณาร่วมกันมีแต่จะก่อให้เกิดความสับสนทั้งในแง่ ทางวิชาการและทางปฏิบัติ จากการศึกษากฎหมาย และบทเรียนในต่างประเทศพบว่า ประเทศที่มีการอนุญาตให้แพทย์ ทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ หรืออนุญาตให้แพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วยฆ่าตัวตายล้วนแต่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่สมบูรณ์ ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริหารด้านสาธารณสุขได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะโดยสนับสนุนของรัฐ หรือโดยระบบประกันสุขภาพ นอกจากนี้ แพทย์ผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวก็มี ทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และแพทย์ครอบครัว (family doctor) ซึ่งมักจะเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ ในหลายแขนงสาขาวิชาแพทย์ และรับทราบปัญหาของบุคคลในครอบครัวได้เป็นอย่างดี การบังคับใช้ กฎหมาย และระบบการรายงานผลก็เป็นไปอย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้คงจะเป็นคําตอบได้ ในระดับหนึ่งว่า สังคมไทยพร้อมที่จะอนุญาตให้การทําให้ผู้ป่วยตายโดยสงบเป็นการกระทําที่ชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ *** ๑. คําอภิปรายของ พลโท นายแพทย์อรุณ เชาวนาศัย, การสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง "การทำให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบ (Euthanasia)" ตีพิมพ์ในหนังสือเรื่อง การให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (Euthanasia), ๒๕๔๓, สํานักพิมพ์วิญญูชน หน้า ๒๓-๒๔. ๒. Maria T. Celo Cruz, Aid-in-Dying: Should We Decriminalize Physician-Assisted Suicide and Physician-Committed Euthanasia?, 1992, 18 Am. J. L. and Med 369, 376. ๓. แสวง บุญเฉลิมวิภาส และพันโท นายแพทย์อเนก ยมจินดา, กฎหมายการแพทย์, ๒๕๔๐, สํานักพิมพ์วิญญูชน, กรุงเทพมหานคร, หน้า ๑๕๖. ๔. H Palmer. Dr Adams' Trialf o rMurder, [957] Crim L. R. 365, cited in J. K. Mason & McCall Smith, Law & Medical Ethics, 4th ed., London, Butterworths, p.317. ๕. People v. Conley, 411P. 2d 911, 918 (Cal.1966) ๖. Glanville Williams, Text book of Criminal Law, 2nd end, 1983, pp.579-80 in lan Kennedy & Andrew Grubb, Medical Law: Texts with Materials, 1994, London, Butterworths, pp.1278-79 ๗. Maria T. Celo Cruz, opcit, p.375. ๘. Suicide Act 1961, s 2(1) provides that "Apers on who aids. abets, counsels or procures the suicide of another, or an attempt by anotherr to commit suicide, shall be liable on conviction on indictment to imprisonment for a term not exceeding fourteen years." ๙. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๓ ๑๐ง Of Life and Death-Final Report. The Special Senate Committee on Euthanasia and A ssisted Suicide, June 1995, p.72 (available at http://www.parl.gc.ca/english/senate/con-e/euth-e/rep-e/lad-e.htm) ๑๑. M. A. Jones & K. Keywood, Assessing the Patient's Competence to Consent Medical Treatment, 1996, 2 Medical Law International 107, 109. ๑๒. Shcloendorff v. Society of New York Hospital (1994) 211 NY 125, 126. ๑๓. Malette v. Shulman (1990) 67 DLR (4th) 32 (Ont CA) ๑๔. Airedale NHS Trustv Bland, [1993], 1 All ER 851. ๑๕. Nancy B v Hotel-Dieude Quebec, [1992], 86 DLR (4th) 385. ๑๖. Re T (Adult: Refusal of Treatment), [1992] 4 AII ER 649, 661. ๑๗. lan Kennedy & Andrew Grubb, opcit, p.1197. ๑๘. Re T (Aduit: Refusal of Treatment), [1992] 4 AII ER 649] 653 ๑๙. แสวง บุญเฉลิมวิภาส และพันโท นายแพทย์อเนก ยมจินดา, อ้างแล้ว, หน้า 157. ๒๐. Peter Singer, Rethinking Life & Death: the Collapse of Our Traditional Ethics, 1995, Oxford University Press, pp.60-62. ๒๑. Airedale N. H. S. Trustv Bland, [1993], 1 All ER 861. ๒๒. Commentary, Withdraw of Artificial Hydrationand Nutrition: Incompetent Adult, [1993], 1 Med L. Rev, 361. ๒๓. ศาลอังกฤษเรียกสภาวะเช่นนี้ว่า "ความตายที่มีชีวิต" (living death), Airedale N. H. S. Trust v Blabd, opcit, p.865. ๒๔. Commentary, Withdraw of Artificial Hydration and Nutrition: Incompetent Adult, opcit, p.363. ๒๕. ปัญหาเกี่ยวกับการให้สารอาหาร และน้ำโดยผ่านสายยาง หรือวิธีอื่นเป็นปัญหาสําคัญและ มีรายละเอียดมาก ผู้สนใจอาจศึกษาเพิ่มเติมได้ใน Withhold ingor Withdrawing Artificial Nutrition and Hydration, Cente rfor Bioethics, University of Minnesota (available at http://www.med.unn.edu/bioethics/) ๒๖. Note, Physician-Assisted Suicide and the Right to Die with Assistance, 1992, 105 HARV. L. REV 202, 2024-2028. ๒๗. Divid Orentlicher, The Legalization of Physician-Assisted Suicide: A Very Modest Revolution, 1997, 38B. C. L. Rev, 443,456. ๒๘. Divid Orentlicher, The Legalization of Physician-Assisted Suicide, 1996, 335 New Eng. J. Med. 663, 664-665. ๒๙. Hippocratic Oath กล่าวไว้ว่า " I will neither give a deadly drug to anybody if asked for it, not will I make a suggestion to this effect." ๓๐. Karel F. Gunning, Why No tEuthanasia a thttp://www.ortl,org/suicide/euthanasia_gunning.hth ๓๑. John D. Arras, Physician-Assisted Suicide: A Tragic View, 1997, 13 J Contemp H L & Pol'y 36, 368-37. ๓๒. David Van Bicma, Is Therea Right to Did, Times, Jan 13, 1997, vol 149 No.2 ๓๓. Arther S. Berger, Dying & Death in Law & Medicine, 1993, The United States of America, Praeger Publishers, p.48. ๓๔. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, สิทธิที่จะตาย (The Right to Die), ๒๕๓๙, ดุลพาห, เล่มที่ ๔ ปีที่ ๔๓, หน้า ๙๓-๙๔, ๑๐๘, ๑๒๕. ๓๕. ดังจะเห็นได้จากกฎหมายต่าง ๆ ของสหรัฐที่ยอมรับสิทธิที่จะตาย ต่างก็อ้างถึงการตายโดยธรรมชาติ ทั้งสิ้น เช่น The Oklahoma Natural Death Act, The Tennessee Right to Natura lDeath Act และ Texas Natural Death Act เป็นต้น ๓๖. Article 293 of the Netherlands Penal Code ๓๗. John Keown, The Law and Practice of Euthanasia in the Netherlands, 1992, 108 The Law Quarterly Review 5, 52. ๓๘. The Netherlands Penal Code article 294. ๓๙. The Australian Senate's Euthanasia Law Bill 1996, para. 827, cited in Euthanasiai n Holland, available at http://www.euthanasia.com/dutch.html ๔๐. lbid., para. 8. 28 ๔๑. คดีนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า "Alkmaarcase" ๔๒. Peter Singer, opcit., p.146. ๔๓. Netherlands legalizes euthanasia, Globeandmale, Toronto On, 200-Nov-29, p.A7, cited in Euthanasia and Physician-Assisted Suicide outside the U.S. (Available at http://www.religioustolerance.org/euthwld.htm) ๔๔. Cristopher J. Ryanand Miranda Kaye, Euthanasia in Australia: The Northern Territory Rights of Terminally III Act, 1996, 334 The New England Journal of Medicine 326, 328. ๔๕. The Northern Territory Rights of Terminally III Act, section 7 (3). ๔๖. Paul A. Glare and Bernadette Tobin, Euthanasia in Australia, 1996, 334 The New England Journal of Medicine 1668, 1668. ๔๗. ความแตกต่างของความผิดทั้งสองกรณีนี้ก็ คือผู้ที่ถูกลงโทษจําคุกโดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานฆาตรกรรมขั้นที่หนึ่งจะไม่ถูกปล่อยตัวภายใต้ทัณฑ์บนก่อนครบกําหนดระยะเวลา ๒๕ ปี ขณะที่ผู้ถูกลงโทษฐานฆาตรกรรมขั้นที่สองจะไม่อาจได้รับการปล่อยตัวก่อนระยะเวลา ๑๐ ปี ๔๘. Of Life and Death-Final Report, opcit, p.72. ๔๙. (1993) 82 BCLR (2d) 273 (CanSupCt) ๕๐. Peter Singer, opcit., p.139. ๕๑. Peter Singer, opcit., p.135. ๕๒. lbid. ๕๓. Maria T. Cele Cruz, opcit., p.379. ๕๔. Oregon's Death with Dignity Act Annualreport 2000 Three years of legalized physician-assisted Suicide (available at http://www.hod.hr.state.or.us/chs/pas/ar-smmry.htm) ๕๕. Case No .96-110 (available at http://laws.findlaw.com/us/000/96-110.htm) ๕๖. Case No.96-1858 (available at http://laws.findlaw.com/us/000/95-1858.htm) *** ที่มา : http://www.library.judiciary.go.th/article19.php