ปัญหาจริยธรรมในทรรศนะของศาสนาอิสลาม

การประกอบอาชีพ ศาสนาอิสลามถือว่าการประกอบอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น มิได้แยกออกจากศาสนา ชีวิตประจำวันมิได้แยกออกจากศาสนา ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับเรื่องหลักของศาสนา การที่พูดความจริงไม่พูดความเท็จนี้เป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่ควบคุมมนุษย์ให้อยู่ในหลักจริยธรรมของอัล-อิสลาม นอกจากนี้ ในการทำงานน่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารมักจะมีปัญหามากมายในเรื่องของ การปฏิบัติต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง 
 

อาจารย์อุ่น หมั่นทวี 

ในปัจจุบันนี้ ปัญหาจริยธรรมในวิชาชีทางการแพทย์นั้นมีแนวโน้มว่าจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคิดว่าเป็นเช่นเดียวกับในต่างประเทศ เพราะว่าในปัจจุบันนี้การแพทย์และสาธารณสุขได้มีการขยายบทบาทกว้างขวางขึ้น ไปกว่าแต่ก่อน แต่เดิมนั้นจริยธรรมทางการแพทย์เป็นเรื่องของผู้ป่วยกับแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการให้บริการในการที่จะรักษา (Health Care) เพียงส่วนเดียวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันบทบาทของแพทย์ได้ขยายวงกว้างขึ้น เพราะว่านอกจากจะดูแลทางด้านผู้ป่วยแล้ว ยังดูแลทางด้านของการป้องกันโรค นอกจากนั้นยังไปเกี่ยวข้องกับความไม่สมบูรณ์ของผู้ป่วยบางอย่าง เช่น การเสริมสวย การรักษาคนไม่มีลูกให้มีลูกขึ้นมา เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีที่ไม่เป็นตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นบทบาทของแพทย์ตรงส่วนนี้ก็ขยายวงกว้างไปกว่าเดิม ในเรื่องของการรักษาโรคอย่างเดียวก็ขยายวงกว้างออกไปอีกมาก ดังนั้น ตรงนี้ทำให้เกิดปัญหาทางด้านจริยธรรมขึ้น

ก่อนอื่นก็มีศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหัว ข้อนี้ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจคือคำว่า “อิสลาม” กับคำว่า “จริยธรรมอิสลาม” เพราะถ้าหากว่ามิได้มีการอธิบายความหมายของคำว่า “อิสลาม” กับคำว่า “จริยธรรมในความหมายของอิสลาม” บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน

คำว่า “อิสลาม” นั้น หากแปลตามศัพท์ก็คือว่า “สันติ ปลอดภัย และการยอมมอบตนต่อพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า” นี่คือความหมายตามศัพท์ แต่ความหมายทั่วไปก็คือศาสนาหนึ่งซึ่งคัมภีร์ได้ให้ชื่อไว้ว่าอิสลาม ส่วนผู้นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า “มุสลิม” สองคำนี้มักจะมีความไขว้เขวในความเข้าใจเรื่องการมองภาพพจน์ของอิสลาม เพราะความเข้าใจไขว้เขวนี้มีมาตั้งแต่ในสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน และจากข่าวสาร และสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่เข้าใจสองคำนี้ก็จะมองภาพพจน์ของอิสลามเสียไป

ดังนั้นคำ ว่า “อิสลาม” เป็นศาสนาหนึ่ง ซึ่งในเนื้อหาคือเป้าหมายที่จะให้มนุษย์ผู้ประพฤติปฏิบัติมีความสันติ ปลอดภัย เป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนต่อพระเป็นเจ้า ที่นี้คำว่า “มุสลิม” ก็หมายถึง ผู้รับนับถือศาสนาอิสลาม คือบางครั้งผู้นับถือศาสนาอิสลามอาจจะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ฝืนต่อคำสอน ของศาสนาอิสลามได้ จึงมีเหตุการณ์จากทางโทรทัศน์ หรือสื่อสารมวลชนอื่น ๆ อยู่เสมอ ที่มีผู้เข้าใจไขว้เขวในเรื่องนี้ ซึ่งถ้าหากเข้าใจคำว่า “อิสลาม” และ “ มุสลิม ” ก็จะสรุปได้ทันทีว่า นี่เป็นเรื่องของมุสลิมบางคน บางกลุ่ม มิใช่เรื่องของอิสลาม เพราะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันนี้จะพบว่า มุสลิมมีเรื่องรบราฆ่าฟันกันระหว่างตนเอง และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากมาย ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะคิดว่าอิสลามมีคำสอนอย่างนี้หรือ อิสลามสอนให้ฆ่ากันหรือ นี่คือปัญหาที่ว่าหากเข้าใจก็จะรู้ว่านี่เป็นเรื่องของมุสลิม เรื่องของผู้นับถือศาสนาอิสลาม มิใช่เรื่องคำสอนของศาสนาอิสลาม

ประการต่อมา คือ อิสลามมองมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ อย่างไร ให้ทัศนะเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อย่างไร เอจะได้เข้าใจว่าฐานะของจริยธรรมอิสลามนั้นมีความสำคัญอย่างไร อิสลามถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างจากพระเป็นเจ้า มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย เมื่อพระผู้เป็นเจ้าสร้างแล้ว ก็ให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินตามกฎเกณฑ์ สำหรับมนุษย์นั้นก็มีกฎจริยธรรมสำหรับมนุษย์ด้วย ในคัมภีร์อัล - กุรอาน ซึ่งกล่าวสอนมนุษย์เรื่องจริยธรรมมักจะเท้าความถึงกฎเกณฑ์ของจักรวาลด้วย จะขออนุญาตกล่าวโองการในคัมภีร์อัล-กุรอานบทหนึ่ง และขอกล่าวเป็นภาษาอาหรับด้วย ดังนี้

“อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอนิรเราะญิ่ม วัสสะมาอะเราะฟะอะฮา
วะวะเฎาะอัลมีซาน อัลลาตัฏเฆาฟิลมีซาน วะอะกีมุลวัซนะบิลกิสฏิ
วะลาตุคสิรุลมีซาน”

นี่เป็น โองการหนึ่งในพระมหาคัมภีร์อัล - กุรอาน บทที่ 55 โองการที่ 7-9 มีความหมายว่า “ฟากฟ้านั้น พระองค์ทรงยกให้สูง และพระองค์ทรงวางดุลยภาพให้แก่มัน นั่นคือ ท่านทั้งหลายจงอย่าฝืนดุลยภาพ จงดำรงไว้ซึ่งดุลยภาพด้วยความเป็นธรรม และจงอย่าให้ขาดดุลยภาพนั้น” คือ หมายถึง ระบบจักรวาลดำเนินไปอย่างมีระบบระเบียบ เนื่องจากมันรักษาดุลยภาพที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดไว้ฉันใด มนุษย์ในโลกนี้จะมีความสุขความสงบก็ต่อเมื่อเขารักษาดุลยภาพตามกฎของ จริยธรรมที่พระผู้เป็นเจ้าทรงวางไว้สำหรับมนุษย์ด้วย และนอกจากนี้อิสลามถือว่ามนุษย์อยู่ในฐานะผู้ปกครองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีหลายบทในอัล - กุรอานแจ้งว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นมาเพื่อมนุษย์ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ แต่การสร้างมนุษย์นั้นเพื่อได้เป็นบ่าวที่ดีของพระผู้เป็นเจ้า คือได้ปฏิบัติตนตามจริยธรรมที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนด” หมายถึงว่า มนุษย์อยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดในบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้การที่มนุษย์จะอยู่ในโลกนี้ด้วยความสงบสุขก็ต่อเมื่อมนุษย์ ต้องอยู่ในขอบเขตของจริยธรรม

ในแง่ของอิสลามถือว่า จริยธรรมหรือ “ซะรีอะฮ์” ในภาษาอาหรับ เป็นกฎเกณฑ์ที่ระผู้เป็นเจ้าประทานแก่มนุษย์ให้มนุษย์ปฏิบัติเพื่อมนุษย์จะ ได้มีความสงบสุข ฉะนั้นซะรีอะฮ์จึงกว้างจนรวมหมดทั้งกฎเกณฑ์ความประพฤติปฏิบัติที่มนุษย์จะ ต้องปฏิบัติ มิใช่เป็นเพียงแค่ควรปฏิบัติ แต่อิสลามถือว่าจริยธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติและมีความรับผิดชอบ ในการปฏิบัตินั้น คือ หากประพฤติผิดทางจริยธรรมแล้วก็มิใช่เพียงแต่สำนึกเสียใจในการทำผิดนั้น แต่อิสลามถือว่าเขาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นในวันปรโลก คือวันแห่งการตัดสินด้วย ด้วยเหตุนี้อัล-กุรอานได้บ่งถึงว่า ทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบันมีความเสียหายเกิดขึ้นมากมายอันเนื่องมาจาก การปฏิบัติของมนุษย์ ทั้งนี้เพื่อเขาจะได้ลิ้มรสสิ่งที่เขากระทำ เพื่อว่าเขาจะได้กลับตัว (30 : 41) อัลกุร-อานจึงส่งเสริมว่าให้สัญจรไป ณ พื้นแผ่นดินเพื่อจะได้เห็นสิ่งที่คนก่อน ๆ ได้ประพฤติผิดจริยธรรม และได้รับโทษไปแล้ว เพื่อจะได้นำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงตัวเขา แล้วกลับตัวเป็นคนดีเสีย (3 : 136, 6: 11)

อีกประการหนึ่ง อิสลามถือว่า หน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องปฏิบัติมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ มนุษย์กับพระเป็นเจ้า และมนุษย์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เรื่องของมนุษย์กับพระเป็นเจ้าก็มักจะอยู่ในหมวดของการปฏิบัติศาสนกิจ แต่เรื่องของมนุษย์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั้นก็จะมีเรื่องของมนุษย์กับ จริยธรรมนับตั้งแต่มนุษย์ต่อตนเอง มนุษย์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย และมนุษย์ต่อแม้แต่สัตว์หรือพืช ซึ่งจะพบในหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม เหล่านี้เป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องนำมาปฏิบัติทั้งสิ้น มิได้หมายความเพียงแต่เป็นกฎหมายอย่างเดียวโดยไม่นำมาปฏิบัติ

นอกจากนี้ ในศาสนาอิสลามนั้น สิ่งใดที่ฝืนต่อจริยธรรมหรือกฎเกณฑ์ทางศาสนา สิ่งนั้นจะถูกสกัดกั้นทั้งหมด เช่น ห้ามเล่นการพนันในรัฐอิสลาม ซึ่งต่างจากรัฐมุสลิม รัฐอิสลามปกครองโดยหลักคำสอนของอิสลามซึ่งมีอยู่ในอัล-กุรอาน และอัล-ฮะดีษเป็นแม่บท แต่รัฐมุสลิมนี้มีมาก ถือว่าจะเป็นรัฐไหนก็ได้ที่ผู้ปกครองเป็นมุสลิม แต่กฎหมายมิได้เป็นหลักคำสอนของอิสลาม ที่ว่ารัฐอิสลามนั้นจะไม่มีการอนุมัติให้มีสิ่งที่ขัดกับบทบัญญัติอิสลาม เช่น อิสลามห้ามเรื่องการพนัน ก็จะไม่ให้มีบ่อนการพนัน จะไม่มีการสนับสนุนเรื่องการพนัน เมื่ออิสลามห้ามของเสพติดมึนเมาหรือสุรา ก็ไม่มีการตั้งโรงงานผลิตสุรา หรือไม่มีการสนับสนุน ไม่มีโฆษณา ไม่มีการขาย ทั้งหมดที่เกี่ยวกับสุราเป็นความผิดทั้งสิ้น และแม้แต่เรื่องดอกเบี้ก็ห้ามไม่ว่าจะเป็นการรับหรือการให้ดอกเบี้ย การเป็นพยานในการรับหรือการให้ดอกเบี้ย สรุปว่าห้ามทั้งหมดเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตาม สิ่งใดที่อิสลามอนุมัติก็ส่งเสริมด้วย เรื่องจริยธรรมของอิสลามนี้จึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไข คือความประพฤติปฏิบัติในทัศนะของอิสลามนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 4 ประการ คือ

• หลักการ 
• วิธีการ 
• เจตนา 
• ผลที่จะเกิดขึ้น

หลัก 4 ประการนี้ต้องมาก่อน หมายถึงว่าสิ่งนั้นตามหลักการ ตามคำสอนของศาสนาแล้วได้หรือไม่ นี่หมายถึงหลักการ วิธีการก็คือจะต้องปฏิบัติอย่างไร ส่วนใหญ่มาจากการที่ท่านศาสดาและบรรดาสาวกในรุ่นก่อน ๆ ได้ปฏิบัติมา ส่วนเจตนาก็มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะการปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นอย่างมาก ส่วนผลมักจะถือเป็นส่วนรองลงมา ยกตัวอย่างเช่น การรักษาพยาบาล หรือการกระทำใด ๆ เช่น การเสริมสวย การแปลงเพศ ทั้งหมดนี้ครั้งแรกก็ต้องดูหลักการว่าสิ่งนี้อนุมัติหรือไม่ ต่อมาวิธีการ ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่มีข้อยืดหยุ่น ถ้าหากเป็นเรื่องการรักษาพยาบาลที่ทางการแพทย์เห็นว่าวิธีการนี้ดี และไม่ได้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติทางศาสนาแล้วก็ถือว่าทำได้

ส่วนเจตนานี้เป็นสิ่งสำคัญมาก คือบางครั้งหลักการดี วิธีการดี แต่เจตนาไม่ดี ก็ถือว่าเขาทำผิดจริยธรรมทางศาสนาอิสลาม แต่ถ้าหากหลักการดี วิธีการดี เจตนาดี แต่ผลที่ออกมาไม่ดี อิสลามก็มีทัศนะว่านั่นไม่ผิดทางจริยธรรม ตัวอย่างเช่น แพทย์วินิจฉัยโรคของคนไข้ เมื่อพบคนได้อาการอย่างนี้ เป็นโรคนี้ ต้องรักษาอย่างนี้ ก็มีเจตนาดี จะให้ยา หรือฉีดยา แต่ปรากฏว่าคนไข้เสียชีวิต ลักษณะนี้ถือว่าแพทย์ไม่ผิด เขามีเจตนาดี แต่ผลเกิดมาในทางลบก็ถือว่าเขาไม่ผิด แต่ถ้าหลักการดี วิธีการดี แต่เจตนาไม่ดี เขาต้องการทำลายชีวิตคนไข้ ปรากฏว่าคนไข้หายจากโรค อาการดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีเจตนาจะฆ่า อย่างนี้ถือว่าผิด เพราะว่าเจตนาไม่ดี

ฉะนั้น การที่จะถือว่าอะไรถูกหรือผิดจริยธรรมต้องดูเงื่อนไขดังกล่าวมา ในแง่จริยธรรมนั้นการทำดีถือว่ามีผลตอบแทน 10 เท่า ถึง 700 เท่า คัมภีร์อัล - กุรอาน ได้กล่าวถึงการทำดีเหมือนกับเมล็ดพืช 1 เมล็ด ไปเพาะงอกออกมาเป็น 7 รวง แต่ละรวงก็มี 100 เมล็ด การที่อัลกุร - อาน เปรียบเทียบเช่นนี้ หมายถึงการกระทำความดีจะได้ผลมากมายทั้ง 700 เท่า หรือมากกว่านั้น แต่การกระทำความชั่วถือว่าได้ผลลบเพียงส่วนเดียว หมายถึงเมล็ดพืชนั้นนำไปเพาะแล้วเน่าเสีย ไม่งอกขึ้นมาก็เสียไปเมล็ดเดียว หรือการทำความชั่วนี้ผู้ทำจะรับผิดชอบเพียงส่วนเดียวทางจริยธรรม ในขณะเดียวกัน หากเจตนาจะทำความดีแต่ยังไม่ได้ทำก็ถือว่าได้ผลหนึ่ง ถ้าเจตนาจะทำความชั่วแต่สำนึกผิดแล้วไม่ทำก็ถือว่าเขาได้ทำความดีเช่นกัน เป็นรางวัลที่เขาคิดจะทำชั่วแต่กลับตัวได้ไม่กระทำก็ถือว่าเป็นบุญอย่าง หนึ่ง

ในศาสนาอิสลามนั้นมีประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพหลายประเด็นด้วยกัน อิสลามเน้นหนักเรื่องความมีสัจจะในการประกอบอาชีพถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น ศาสดาได้กล่าวไว้ว่า ความสัตย์เป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ เพราะจำนำไปสู่ความดี และคุณความดีจำนะไปสู่สวรรค์ (บุคอรี, มุสลิม) ในศาสนาอิสลามนั้น การกระทำอะไรก็ตามถ้าเป็นความดีก็ได้รับผลตอบแทนสวรรค์เป็นรางวัล ถ้าเป็นความชั่วก็ได้รับผลตอบแทนเป็นนรก*** โดยศาสนาอิสลามบอกว่า ผลตอบแทนนั้นมีทั้งนรกและสวรรค์ สำหรับพฤติกรรม “ความสัตย์นำไปสู่ความดี ความดีจะนำไปสู่สวรรค์ คนพูดความจริงบ่อย ๆ จนกระทั่งได้รับการจดบันทึกไว้ ณ พระเป็นเจ้าว่า เขานั้นเป็นคนมีสัจจะ พึงระวังความเท็จ เพราะความเท็จนำไปสู่ความชั่ว ความชั่วนำไปสู่นรก บุคคลที่พูดเท็จบ่อย ๆ จนเคยชิน ก็จะถูกบันทึกไว้ ณ พระเป็นเจ้าว่า เขานั้นเป็นคนพูดเท็จ เป็นคนสับปลับ ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยง” (บุคอรี, มุสลิม)

ดังนั้น ในเรื่องการประกอบอาชีพ ศาสนาอิสลามถือว่าการประกอบอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น มิได้แยกออกจากศาสนา ชีวิตประจำวันมิได้แยกออกจากศาสนา ถือว่าเป็นหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับเรื่องหลักของศาสนา การที่พูดความจริงไม่พูดความเท็จนี้เป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่ควบคุมมนุษย์ให้อยู่ในหลักจริยธรรมของอัล-อิสลาม นอกจากนี้ ในการทำงานน่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารมักจะมีปัญหามากมายในเรื่องของ การปฏิบัติต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง มีคำสอนปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่า จงอย่าปล่อยให้ความอาฆาตพยาบาทต่อชนกลุ่มหนึ่ง ทำให้สู้เจ้าต้องลำเอียงไปจากความเป็นธรรม จงรักษาความเป็นธรรมไว้ เพราะการรักษาความเป็นธรรมนั้นใกล้กับการสำรวมตนต่อพระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าทรงมองดูอยู่ในพฤติกรรมของสูเจ้า (5 : 8) อีกประการหนึ่ง การรับฟังข่าว การตัดสินใจมีกฎเกณฑ์ของการตัดสินใจว่า เมื่อได้รับฟังข่าวมา ก็ควรต้องมีการกรองข่าวเสียก่อน อย่างเพิ่งปักใจเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ในคัมภีร์ได้กล่าวถึงว่า

“โอ้ผู้ศรัทธา หากว่าผู้ไม่ประสงค์ดีนำข่าวมาแจ้งแล้ว ก็จงกรองข่าวนั้น อย่าปักใจเชื่อ เพราะบางครั้ง ท่านจะต้องปฏิบัติไปกับชนกลุ่มหนึ่งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แล้วจะเสียใจในภายหลัง”

ข้อความนี้อยู่ในบทที่ 49 โองการที่ 6 ซึ่งเป็นเรื่องกว้าง ๆ ในประเด็นของจริยธรรมในวิชาชีพ และยังมีอีกมากมายในรายละเอียด

***
ที่มา : วริยา ชินวรรโณ, บรรณาธิการ. (2536). นานาทรรศนะเกี่ยวกับจริยธรรม. ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

THAI CADET

 

© 2547-2565. All Right Reserved by THAI CADET   TEL./LINE : 0959429193

Made with Pingendo Free  Pingendo logo