http://www.anegsangsoog.com/  086 6441825

 

 

 

เอกสารประกอบการบรรยาย

เรื่อง

จริยธรรมในการทำงาน

(ทหาร)

 

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย

พันเอก เอนก  แสงสุก

สิงหาคม  ๒๕๔๖

 

 

 

คำนำ

 

                         การปฏิบัติหน้าที่ราชการให้สำเร็จลุล่วงบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  นอกจากข้าราชการจะต้องมีความรู้ความสามารถตามหน้าที่รับผิดชอบแล้ว  ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ  ได้รับความไว้วางใจและชื่นชมทั้งจากผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  คือ  “จริยธรรม”  หรือธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ  ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ  ที่ช่วยเสริม  ได้แก่  คุณธรรม  ศีลธรรม  จรรยาบรรณ  เป็นต้น  ทั้งนี้  ข้าราชการทหารมีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะต่าง ๆ  หลายฐานะด้วยกัน  เช่น  ในฐานะข้าราชการ  ในฐานะทหาร   ในฐานะผู้บังคับบัญชาและในฐานะฝ่ายอำนวยการ  ฯลฯ

                         เอกสารประกอบคำบรรยาย  เรื่อง  “จริยธรรมในการบริหารงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน”  ฉบับนี้  ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพิ่มเติมด้วยแนวความคิดจากประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้เขียน  หวังว่าเอกสารฉบับนี้คงเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้างตามสมควร

 

                                                                                ลงชื่อ  พันเอก  เอนก   แสงสุก

                                                                                                         (เอนก   แสงสุก)

                                                                                    ประจำสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ


 
สารบัญ

 

คำนำ                                                                                                                                                        หน้า

ตอนที่       หลักการ                                                                                                                                                      
บทที่          กล่าวทั่วไป
                                                                                                                                                 

   นิยามศัพท์                                                                                                                                                                        

   จริยธรรมต้องมาจากจิตใจ                                                                                                                                              

   หน้าที่ของทหาร                                                                                                                                                              

บทที่         จริยธรรมของทหาร                                                                                                                                 

   ักราชการ                                                                                                                                                                       

กฎรักษาเกียรติหรือศีลรักษาศักดิ์                                                                                                                                 

คุณธรรม    ประการ                                                                                                                                                     

จริยธรรมพื้นฐานของทหาร                                                                                                                                          

จรรยาบรรณของทหารอาชีพ                                                                                                                                        

บทที่          จริยธรรมในฐานะข้าราชการ                                                                                                                   ๑๐

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท                                                                                                                                    ๑๐

การเป็นข้าราชการที่ดี                                                                                                                                                      ๑๑

ค่านิยมสร้างสรรค์                                                                                                                                                            ๑๔

จรรยาบรรณของข้าราชการ                                                                                                                                            ๑๔

บทที่          จริยธรรมในฐานะผู้บังคับบัญชา                                                                                                            ๑๕

จริยธรรมพื้นฐานของผู้บังคับบัญชา                                                                                                                            ๑๕

จริยธรรมโดยหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา                                                                                                                        ๑๕

บทที่         จริยธรรมในฐานะฝ่ายอำนวยการ                                                                                                          ๑๖

ประเภทของฝ่ายอำนวยการ                                                                                                                                           ๑๖

จริยธรรมโดยหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการ                                                                                                                       ๑๖

คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสายงานเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี                                                         ๑๗

บทที่           การพัฒนาจริยธรรม                                                                                                                                 ๑๘

การพัฒนาจริยธรรมของทหาร                                                                                                                                      ๑๘

กฏแห่งกรรม                                                                                                                                                                     ๑๙

ตัวแปรที่มีอิทธิพลเหนือจริยธรรมและคุณธรรมของข้าราชการ                                                                             ๒๐

พฤติกรรมในหน่วยงาน                                                                                                                       ๒๑

โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน                                                                                                                ๒๒

ข้อคิดพิจารณาการทำความดี                                                                                                                    ๒๓

ตอนที่       ประสบการณ์

บทที่         จริยธรรมในการบริหารงาน                                                                                                                    ๓๐

ความคิดและปณิธานของผู้เขียน                                                                                                                                   ๓๐

ข้อที่พึงละเว้น                                                                                                                                           ๒๘

ข้อที่พึงปฏิบัติ                                                                                                                                             ๒๙

เทคนิคบางประการในการทำงานทั่วไป                                                                                                                      ๓๓

ข้อคิดบางประการในการทำงานเกี่ยวกับการเงิน                                                                                                      ๓๕

สรุป                                                                                                                                                                                     ๓๖

จริยธรรมเชิงลบในการทำงาน  (แถมท้าย)                                                                                                                 ๓๗

เอกสารอ้างอิง                                                                                                                                                                   ๓๙


ตอนที่    หลักการ
บทที่ 

กล่าวทั่วไป

นิยามศัพท์

                         พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๒๕ ได้บัญญัติความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมไว้ดังนี้

                         “จริย”  หมายถึง  ความประพฤติ,  กิริยาที่ควรประพฤติ

                         “ธรรม”  หมายถึง  คุณความดี,  คำสั่งสอนในศาสนา,  หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา,  ความยุติธรรม,  ความถูกต้อง

                         “จริยธรรม”  หมายถึง  ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ,  ศีลธรรม,  กฎศีลธรรม

                         “คุณธรรม”  หมายถึง  สภาพคุณงามความดี

                         “ศีล”  หมายถึง  ข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติกายและวาจาทางพระพุทธศาสนา  เช่น  ศีล    ศีล  ,  ความประพฤติที่ดี

                         “ศีลธรรม”  หมายถึง  ความประพฤติที่ดีที่ชอบ,  ธรรมในระดับศีล,  ศีลและธรรม

                         “จรรยาบรรณ”  หมายถึง  ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น  เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก  อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

                         “จริยธรรม”  ตามความหมายของวอร์น๊อก  คือ  สภาพทางจิตวิทยาของความรับผิดชอบ  ความรู้สึกผิดชอบ,  หลักความประพฤติ,  ความต้องการที่จำเป็นของมนุษย์

จริยธรรมต้องมาจากจิตใจ

                         ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่ามนุษย์  ในมนุษย์ไม่มีอะไรสำคัญเท่า  “จิตใจ”  จิตใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในพฤติกรรมของมนุษย์  และจริยธรรม  คือ  พฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกในทางที่ถูกที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ

                         ความคิด  การพูด  และการกระทำ  ล้วนมาจากจิตใจทั้งสิ้น  หากจิตใจได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถภาพและคุณภาพดีแล้ว  ความคิด  การพูด  และการกระทำ  จะออกมาในทางสร้างสรรค์  ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อตนเองและส่วนรวม

                         จิตใจที่ต่ำทราม  ถ้าปล่อยให้มีขึ้นจนเคยชิน  จะทำให้เป็นคนมักง่าย  หน้าด้าน  เห็นแก่ตัว  ไม่มีวินัย  ไร้ความอาย  หยาบคาย  ละโมบ  กอบโกยผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้อง

 

 

หน้าที่ของทหาร

                   หน้าที่ส่วนรวม  คือ  ป้องกันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

                         หน้าที่ส่วนตัว  คือ  ประพฤติตนให้อยู่ในขอบเขตของศีลธรรม  จริยธรรม  ของทหารอาชีพ

และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ


บทที่ 

จริยธรรมของทหาร

ักราชการ

                         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์  “หลักราชการ”  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการที่สำคัญยิ่งสำหรับข้าราชการพึงยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติราชการ  ๑๐  ประการ  มีใจความสำคัญสรุปได้  ดังนี้

                         .   ความสามารถ  หมายถึง  ความชำนาญในการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ  ให้เป็นผลสำเร็จได้ดียิ่งกว่าผู้มีโอกาสเท่า ๆ กัน

                         . ความเพียร  หมายถึง  ความกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความลำบาก  และบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้  โดยใช้ความวิริยภาพมิได้ลดหย่อน

                         .  ความมีไหวพริบ  หมายถึง  รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่า  เมื่อมีเหตุเช่นนั้นจะต้องปฏิบัติการอย่างนั้น  เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไป  และรีบทำการอันเห็นควรนั้นโดยฉับพลัน

                         .  ความรู้เท่าถึงการณ์  หมายถึง  รู้จักปฏิบัติการอย่างไรจึงจะเหมาะสมแก่เวลา  และอย่างไรที่ได้รับเหตุสมผลจึงจะเป็นประโยชน์ที่สุด

                         .  ความซื่อตรงต่อหน้าที่  หมายถึง  ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมอบให้เป็นหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

                         .  ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป  หมายถึง  ให้ประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป  รักษาตนให้เป็นคนที่เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้

                         .  ความรู้จักนิสัยคน  ข้อนี้เป็นของสำคัญสำหรับผู้มีหน้าที่ติดต่อกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย

                         .  ความรู้จักผ่อนผัน  หมายความว่า  ต้องเป็นผู้ที่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวว่า  เมื่อใดควรตัดขาดและเมื่อใดควรอ่อนหรือผ่อนผันกันได้  มิใช่แต่จะยึดถือหลักเกณฑ์หรือระเบียบอย่างเดียว  ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียควรจะยืดหยุ่นได้

                         .  ความมีหลักฐาน  ข้อนี้ประกอบด้วยหลักสำคัญ    ประการ  คือ  มีบ้านอยู่เป็นที่เป็นทาง  มีครอบครัวอันมั่นคง  และตั้งตนไว้ในที่ชอบ

                         ๑๐.  ความจงรักภักดี  หมายความว่า  ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์แห่งชาติ  ศาสนา  และพระมหากษัตริย์

 

 

 

 

กฎรักษาเกียรติหรือศีลรักษาศักดิ์

                พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม  ซึ่งนายพลตรีพระยารามรณรงค์  เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก  พบเข้าภายหลัง  ได้สั่งให้ผู้มีหน้าที่อบรมจรรยาของนักเรียน  และผู้อยู่ในบังคับบัญชาในกรมนี้  ใช้เป็นหลักแห่งการอบรมจรรยาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  .. ๒๔๖๙  เป็นต้นมา  ดังนี้

                         ราชการทหารเป็นงานสำคัญของประเทศชาติ  เพราะเป็นหน้าที่รักษาความสงบและอิสรภาพของประเทศชาติ  เพราะฉะนั้นผู้ที่มีหน้าที่ราชการทหารต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  และมีจริยธรรมทั้งในความประพฤติ  ทั้งในทางใจ  ทั้งในทางการงานเป็นต้นว่า  ไม่ประพฤติตัวเหลวไหลให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของทหาร  เป็นคนองอาจกล้าหาญมีใจหนักแน่นและอดทนในหน้าที่  มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อสถาบันของชาติและผู้บังคับบัญชา  มีจิตใจงดงามไม่ใส่ร้ายผู้อื่น  ดังนี้จึงจะสมกับหน้าที่อันสำคัญ  และสามารถรักษาหน้าที่อันสำคัญของตนให้สำเร็จประโยชน์แก่ประเทศชาติได้  เพราะฉะนั้นทหารพึงประพฤติตามหลักต่อไปนี้

                         .   ไม่ทำการคดโกง  เช่น  ขโมยหรือล่อลวง  ปลอมหนังสือ  เหล่านี้เป็นต้น

                         . ไม่ทำร้ายผู้ที่มีกำลังอ่อนแอ  เช่น  ผู้หญิงและเด็ก  และไม่ทำร้ายผู้ที่ไม่มีอาวุธหรือป้องกันตนเองไม่ได้

                         .  ไม่ทำให้ผู้หญิงเสียชื่อ  เช่น  การชู้สาว  หรือทำให้เขาเสียแล้วไม่ทำการสมรสกับเขา

                         .  ไม่กลับคำสัญญาที่ตนได้ให้ไว้แล้วกับผู้ใดผู้หนึ่ง

                         .  ไม่กล่าวความเท็จอย่างร้ายแรง  เช่น  กล่าวเท็จในราชการ

                         .  ไม่ลอบทำร้ายคนลับหลัง  จะเป็นด้วยอาวุธหรือด้วยการยุยงส่อเสียด  หรือหาความใส่ความต่าง ๆ  ก็ตาม

                         .  ไม่ทวนคำสบถ  หรือผิดคำสาบาน

                         .  ไม่ทำการทรยศต่อเพื่อนหรือคณะของตน  หรือต่อชาติและพระมหากษัตริย์  เช่น  ขยายความลับของเพื่อนหรือของคณะตนให้แก่ผู้อื่น  หรือคบคิดสมรู้กับราชศัตรู  เป็นต้น

                         หมายเหตุ  บุคคลผู้ใดที่เป็นทหารและถือตนเป็นคนดีมีเกียรติศักดิ์  ไม่ควรประพฤติความผิดเหล่านี้  ถ้าใครประพฤติเข้าแล้วไม่ควรอยู่ดูหน้ามนุษย์อีกต่อไปตายเสียดีกว่า  ผู้ที่รักเกียรติศักดิ์ของตนย่อมไม่คบกับคนประพฤติความผิดอย่างนี้เป็นอันขาด

 

 

 

 

 

คุณธรรม    ประการ

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ได้พระราชทานคุณธรรม    ประการ  แก่ข้าราชการและประชาชนในคราวสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์  ๒๐๐  ปี  ดังนี้

                         ประการแรก  คือ  การรักษาความสัจ  ความจริงใจต่อตัวเอง  รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง  ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

                         ประการที่สอง  คือ  การรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น

                         ประการที่สาม  คือ  การอดทน  อดกลั้น  และอดออม  ไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด

                         ประการที่สี่  คือ  การรู้จักละวางความชั่ว  ความทุจริต  และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน  เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

                         คุณธรรม    ประการนี้  ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว  จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข  ความร่มเย็น  และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์

จริยธรรมพื้นฐานของทหาร

                         มี    ประการ  คือ

                         .   มีความสำนึกในการเป็นทหารอาชีพ

                         . ตั้งใจฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ความสามารถในทางทหารอย่างแท้จริง

                         .  มีความซื่อสัตย์สุจริต

                         .  มีความกล้าหาญ

จรรยาบรรณของทหารอาชีพ

                         กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ  ได้บัญญัติจรรยาบรรณของข้าราชการในกระทรวงกลาโหมไว้  ๑๐  ประการ  คือ

                         .   มีความซื่อสัตย์ต่อจรรยาบรรณของข้าราชการต่อประเทศชาติ  หมู่คณะ  และส่วนราชการที่ตนสังกัดโดยเคร่งครัด

                         . เคารพกฏหมาย  รัฐธรรมนูญ  กฎระเบียบของรัฐหรือสถาบันที่ตนสังกัด  และไม่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม

                         .  ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด  เพื่อให้งานสำเร็จด้วยดี

                         .  ทำงานเต็มเวลาราชการ  และครบตามหน้าที่รับผิดชอบ

                         .  ต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่มาติดต่อเกี่ยวข้องอย่างเสมอกันและเท่าเทียมกันหมด  ไม่ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใดทั้งสิ้น  ไม่ว่าเขาจะให้ค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม  หรือถ้ามีใครเอาค่าตอบแทนมาให้แม้แต่ญาติพี่น้องต้องไม่รับ  หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่สามารถให้คุณแก่ตนได้ก็ต้องไม่ช่วยเหลือเป็นพิเศษ

                         .  ต้องไม่สัญญาเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของทางราชการ  เมื่อเป็นข้าราชการต้องเจรจาในกรอบของทางราชการ  ห้ามเจรจาในส่วนตัวที่เกี่ยวกับงานของทางราชการ

                         .  ต้องไม่ทำธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐ  ไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม  โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

                         .  ไม่ใช้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการมาเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจส่วนตัว  เพื่อให้เกิดผลกำไรแก่ตัวเอง

                         .  หากมีหลักฐานแน่ชัดว่าฉ้อราษฎร์บังหลวงให้ยอมสารภาพแต่โดยดี

                         ๑๐.  ใช้หลักจริยธรรมของข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่  จนประชาชนศรัทธาต่อหน่วยราชการ


บทที่ 

จริยธรรมในฐานะข้าราชการ

การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

                         เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา    รอบ    ธันวาคม  ๒๕๔๒  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  ได้จัดให้มี  “โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท”  เพื่อเชิญชวนข้าราชการทุกระดับ  พร้อมใจกันตั้งปณิธานที่จะประพฤติตามพระบรมราโชวาท  และปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกรอบแห่งจรรยาบรรณ  ด้วยจิตสำนึกที่จะทำงานตามรอยพระยุคลบาท  เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติและประชาชนสืบไป  ทั้งนี้  เพื่อน้อมเกล้าฯ  ถวายเป็นราชสักการะเป็นราชสดุดี  และร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงครองแผ่นดินโดยธรรมมาตลอด

                         ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการครองตนก็ดี  ทางที่ดีที่สุดที่จะศึกษาได้ก็คือ  การศึกษาจากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  และการครองพระองค์ว่าทรงทำอย่างไร  ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่จะอาศัยเป็นตัวอย่างได้ทุกโอกาสและทุกสถานการณ์  โดยเฉพาะ  “ทศพิธราชธรรม”  ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถน้อมนำมาปฏิบัติได้  ดังนี้

                         .   ทาน                 ให้ทาน

                         . ศีล                    รักษาศีล

                         .  ปริจจาคะ        สละประโยชน์ส่วนตน

                         .  อาชชวะ         ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น

                         .  มัททวะ           อ่อนโยน  มีสัมมาคารวะ

                         .  ตปะ                 พากเพียรไม่เกียจคร้าน

                         .  อักโกธะ         ระงับความโกรธ

                         .  อวิหิงสา         ไม่เบียดเบียน

                         .  ขันติ                อดทน

                         ๑๐.  อวิโรธนะ     แน่วแน่ในความถูกต้อง

                         นอกจากนี้พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ  “เศรษฐกิจพอเพียง”  ซึ่งมิใช่จะใช้ได้เฉพาะแต่ในแง่ของการจัดการทรัพย์สินของบ้านเมือง  หรือของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  แม้แต่ในหมู่ข้าราชการก็เป็นแนวคิดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่มีการล่วงสมัย  เป็นแนวดำเนินชีวิตที่อาจตัดปัญหาที่จะนำไปสู่การฉ้อราษฎร์บังหลวงได้เป็นอันมาก  การไม่ทะเยอทะยานอยากจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างหรูหราโอ่อ่าและใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  มาสู่คุณสมบัติประจำบุคคล  ปรับตนเองให้พอกินพออยู่  รู้จักประหยัด  คือ  รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ในสิ่งที่จำเป็นแก่การครองชีพ  ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  รู้จักพินิจพิจารณาว่าสิ่งใดควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ  รวมตลอดทั้งแบ่งปันรายได้ส่วนหนึ่งเก็บออมไว้ใช้จ่ายเมื่อคราวจำเป็น  จะได้ไม่ต้องหยิบยืมผู้อื่นมาแก้ปัญหา  หรือประพฤติมิชอบเพื่อให้พ้นจากภาระหนี้สิน  การถือเอาระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักดำเนินชีวิตจะมีแต่ทางได้เท่านั้น

                         อนึ่ง  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลในโอกาสต่าง ๆ  ล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานทั้งสิ้น  ซึ่งได้อัญเชิญมาเพื่อน้อมใส่เกล้าใส่กระหม่อมเป็นบางองค์  ดังนี้

                         “ในการปฏิบัติราชการนั้น  ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่  อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ให้มาก  ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เป็นรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ  จะทำให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง”

                         “การปฏิบัติราชการให้สำเร็จผลที่พึงประสงค์นั้น  นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถในทางวิชาการแล้ว  แต่ละบุคคลยังจะต้องมีรากฐานทางจิตใจที่ดี  คือความหนักแน่นมั่นคงในสุจริตธรรม  และความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้จนเสร็จ  ทั้งต้องมีกุศโลบายหรือวิธีการอันแยบคายในการปฏิบัติงานประกอบกันพร้อมด้วย  จึงจะสัมฤทธิ์ผลที่แน่นอนและบังเกิดประโยชน์อันยั่งยืนทั้งแก่ตนเองและแผ่นดิน”

                         “เมื่อทำงาน  ต้องมุ่งถึงจุดหมายที่แท้ของงาน  งานจึงจะสำเร็จได้รับประโยชน์ครบถ้วน  ทั้งประโยชน์ของผู้ทำ  ถ้าทำงานเพื่อจุดหมายอื่น ๆ  เช่น  เพื่อประโยชน์ส่วนตัว  แม้จะได้ผลมากมายเพียงใด  งานก็ไม่สำเร็จ  แต่ทำให้เสียทั้งงานเสียทั้งคน”

                         “การปฏิบัติราชการให้ดีนั้น  กล่าวอย่างสั้น  ง่าย  และตรงที่สุด  คือ  ทำให้สำเร็จทันการ  และให้ได้ผลเป็นประโยชน์แต่ทางเดียว  ซึ่งจะทำได้เมื่อบุคคลมีวิชาความสามารถ  และมีปัญญาความรู้คิดพิจารณา  เห็นสิ่งที่เป็นคุณเป็นโทษ  เป็นประโยชน์มิใช่ประโยชน์  อย่างชัดเจน  ถูก  ตรง”

                         “เกียรติและความสำเร็จ  เกิดจากผลการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตัวของแต่ละคน  ที่สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบให้ได้ผลสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์  และปฏิบัติตัวให้สุจริต  เที่ยงตรง  พอควรพอดีแก่ตำแหน่งหน้าที่ที่ดำรงอยู่”

การเป็นข้าราชการที่ดี

                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นแบบอย่างในการทรงงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง  ทรงทุ่มเทพระวรกาย  ทรงตรากตรำในการทำงานเพียงเพื่อให้พสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ดังนั้น  ตลอดระยะเวลาที่ทรงงานมาจึงหมายถึงการที่ทรงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์มานานจวบพระชนมายุถึง  ๗๒  พรรษา  ซึ่งเหล่าข้าราชการทั้งหลายที่ได้ชื่อว่า“ข้าราชการ”  จึงควรที่จะปฏิบัติตนเองให้สมกับความหมายของข้าราชการ  คือ  “ผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของพระราชา  และทำงานต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อประโยชน์สุขของแผ่นดิน”  ซึ่งปวงข้าราชการทั้งหลายจึงควรน้อมปฏิบัติและร่วมกันเรียนรู้เพื่อเจริญรอยตามพระราชจริยาวัตรของพระองค์เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีต่อไป

 

                         คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทย

                                .      ทักษะการใช้ความคิด

                                         .      คิดภาพรวม  ลุ่มลึก  และกว้างไกล  ไม่หยุดความคิด

                                         .     รู้จักปรับยืดหยุ่น  ไม่ว้าวุ่นเป็นเถรตรง

                                         .     คิดทำงานเชิงรุก  ไม่ขลุกอยู่กับที่

                                         .     คิดป้องกันดีกว่า  อย่าวัวหายจึงล้อมคอก

                                .    การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                                         .     กระบวนทัศน์ต้องรู้ปรับ  ไม่อยู่กับกระบวนเดิม

                                         .              สร้างเครื่องมือไว้ชี้วัด  ดีกว่าหัดนั่งดูเทียน

                                         .    เช้าชามเย็นชามขอให้งด  จงกำหนดเวลาแล้วเสร็จไว้

                                         .    อุทิศซึ่งเวลา  ไม่แสวงหาประโยชน์ตน

                                         .    สัมพันธ์กับลูกค้า  อย่าทำหน้าไม่บอกบุญ

                                .     การบริหารทรัพยากร

                                         .     คำนึงถึงต้นทุน  ไม่คุ้มทุนจงอย่าทำ

                                         .    บริหารแบบประหยัด  จงอย่าหัดเป็นหนี้เขา

                                         .    สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ  อย่าเป็นทองไม่รู้ร้อน

                                         .    รู้จักบำรุงและรักษา  อย่าดีแต่ใช้เครื่องเป็น

                                .     ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร

                                         .     ใช้เทคโนโลยีใหม่  ไม่ล้าสมัยไดโนเสาร์

                                         .    สร้างเครือข่ายให้กว้างขวาง  อย่าปล่อยวางเรื่องทีมงาน

                                         .    รู้จักพูดให้ได้ผล  อย่าทำตนเป็นเบื้อใบ้

                                         .    อดทนต่อถ้อยคำ  ไม่จดจำมาต่อกร

                                         .    แถลงเรื่องลึกล้ำได้  อย่าตอบง่ายไม่ศึกษา

                                .     ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ

                                         .     ซื่อสัตย์สุจริต  ไม่คิดคอรัปชั่น

                                         .    พร้อมรับผิดชอบ  ตรวจสอบได้

                                         .    สร้างศรัทธาประชา  เงินตราไม่รับ

                                         .    ไม่เป็นอภิสิทธิชน  เป็นคนของรัฐและประชาชน

                                         .    บริการยอดเยี่ยม  คุณภาพเปี่ยมล้น

                                .     การมุ่งเน้นให้บริการ

                                         .      บริการแบบโปร่งใส  พ้นสมัยเป็นความลับ

                                         .     คำนึงถึงลูกค้า  ให้มากกว่าคำนึงตน

                                         .     มุ่งผลอันสัมฤทธิ์  คือผลผลิตและผลลัพธ์

                                         .     เสมอภาคและเป็นธรรม  ไม่ห่วงย้ำแต่พวกพ้อง

                                         .     บริการประชาชน  ไม่ทำตนเป็นนายเขา

                                .     จริยธรรม

                                         .     มีศีลธรรม  พฤติกรรมเป็นแบบอย่าง

                                         .    คำนึงประโยชน์ราษฎร์  อย่าฉลาดเอาแต่ได้

                                         .    ร่วมทำกิจ  ขจัดจิตเห็นแก่ตัว

                                         .    ตระหนักถึงครอบครัว  ไม่พึงมั่วด้วยโลกีย์

                                         .    ไม่ก่อมลภาวะ  แต่ควรจะพิทักษ์และรักษา

                                .     ความสามารถในการปฏิบัติงาน

                                         .     รู้จริง  รู้ลึก  รู้กว้าง  ไม่รู้อย่างงู ๆ ปลา ๆ

                                         .    ทำงานวางแผนได้  ไม่ทำตามอำเภอใจ

                                         .    อธิบายชี้แจงได้  ไม่ผลักไสให้ผู้อื่น

                                         .    สร้างองค์ความรู้ใหม่  ไม่ใส่ใจแต่ของเดิม

                                .     การแก้ปัญหา

                                         .      ยิ้มสู้ปัญหา  ไม่เบือนหน้าหนี

                                         .     แก้ปัญหาด้วยปัญญา  ไม่รอช้าหาคนช่วย

                                         .     พบปัญหาก็รู้แก้  ไม่ยอมแพ้วิ่งหาแพะ

                                         .     เห็นปัญหาเป็นโอกาส  ไม่ขลาดเห็นเป็นอุปสรรค

                                ๑๐.   การทำงานเป็นทีม

                                         ๑๐.    มีมนุษย์สัมพันธ์  ไม่แบ่งกันเป็นก๊กเหล่า

                                         ๑๐.  ร่วมคิดร่วมทำ  ไม่นำตนไปโดดเดี่ยว

                                         ๑๐.   แบ่งปันซึ่งความรู้  ไม่ใส่ตู้รู้ผู้เดียว

                                         ๑๐.   ให้อภัยเมื่อพลั้งพลาด  ไม่คาดโทษให้แก่กัน

                                ๑๑.   ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์

                                         ๑๑.    ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ  ไม่รำคาญหาความรู้

                                         ๑๑.  คุ้มค่าด้วยการใช้  ไม่เก็บไว้ประดับห้อง

                                         ๑๑.   ถนอมใช้ด้วยระวัง  ไม่ตึงตังให้แตกหัก

                                         ๑๑.   บำรุงและรักษา  ไม่เรียกหาแต่ของใหม่

 

ค่านิยมสร้างสรรค์

                 มติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่  ๑๑  พฤษภาคม  ๒๕๔๒  เห็นชอบแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐที่ครอบคลุมแผนที่    แผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม  เพื่อให้การปฏิรูประบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เกิดผล  จึงได้มีการจัดทำ  “ค่านิยมสร้างสรรค์เจ้าหน้าที่ของรัฐ”   ดังนี้

                         .   กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง

                         . ซื่อสัตย์  และมีความรับผิดชอบ

                         .  โปร่งใส  ตรวจสอบได้

                         .  ไม่เลือกปฏิบัติ

                         .  มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

จรรยาบรรณของข้าราชการ

                         จรรยาบรรณต่อตนเอง

                                .      เป็นผู้มีศีลธรรม  และประพฤติตนเหมาะสม

                                .    ซื่อสัตย์

                                .     มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง

                         จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน

                                .      สุจริต  เสมอภาค  ปราศจากอคติ

                                .    ทำงานเต็มความสามารถ  รวดเร็ว  ขยัน  ถูกต้อง

                                .     ตรงต่อเวลา

                                .     ดูแล  รักษา  และใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด

                         จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และผู้ร่วมงาน

                                .      ร่วมมือ  ช่วยเหลือ  แนะนำ  ทำงานเป็นทีม

                                .    เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง

                                .     สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่

                                .     สุภาพ  มีน้ำใจ  มีมนุษยสัมพันธ์

                                .     ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

                         จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

                                .      ให้ความเป็นธรรมเอื้อเฟื้อ  มีน้ำใจ  สุภาพอ่อนโยน

                               .    ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป

                                .     ละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด  ซึ่งมีูลค่าเกินปกติวิสัยจากผู้มาติดต่อราชการ

 

บทที่ 

จริยธรรมในฐานะผู้บังคับบัญชา

จริยธรรมพื้นฐานของผู้บังคับบัญชา

                         จริยธรรมพื้นฐานของผู้บังคับบัญชา  มี    ประการ  คือ

                         .   ความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์และกองทัพ 

                                ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในกฏ  ระเบียบ  วินัย  ข้อบังคับ  และแบบธรรมเนียมของทหาร  อย่างเคร่งครัดและโดยสุจริตใจ  ทั้งต้องเชื่อฟัง  ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา  และปฏิบัติตามที่ได้ปฏิญาณต่อหน้าธงชัยเฉลิมพลทุกประการ

                         . ความซื่อสัตย์ต่อหน่วย

                                รวมถึงความซื่อสัตย์ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น  มีความรัก  ความสามัคคี  ไม่แบ่งแยก  ภาคภูมิใจในหน่วยของตน  พร้อมที่จะปฏิบัติตนด้วยความเสียสละแก่หน่วยได้ตลอดเวลา  จะช่วยเสริมสร้างให้หน่วยมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทั้งปวง

                         .  ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

                                ผู้บังคับบัญชา  ต้องรับผิดชอบในการพัฒนาและสร้างสรรค์ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน  มีความสำนึกและปฏิบัติงานในหน้าที่ของแต่ละคนด้วยความเต็มใจ  และใช้ขีดความสามารถของตนอย่างเต็มที่  เพื่อให้หน่วยมีประสิทธิภาพ  สามารถสนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชาติเป็นส่วนรวมได้

                         .  ความเสียสละ

                                เป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญที่สุด  โดยเพ่งเล็งไปที่ความไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว  และพร้อมที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม

จริยธรรมโดยหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา

                         มี    ประการ  คือ

                         .   รับผิดชอบในความสำเร็จและความล้มเหลวของหน่วย

                         . ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

                         .  สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในหน่วย

                         .  สั่งงานไม่เกินขีดความสามารถของหน่วยรอง

                         .  ตรงไปตรงมา

                         .  ยุติธรรม

                         .  ไม่เห็นแก่ตัว


บทที่ 

จริยธรรมในฐานะฝ่ายอำนวยการ

ประเภทของฝ่ายอำนวยการ

                          ฝ่ายอำนวยการ  แบ่งเป็น    ประเภท  คือ

                         .      ฝ่ายอำนวยการประสานงาน  เป็นผู้ช่วยหลักของผู้บังคับบัญชา  แต่ละคนเกี่ยวข้องกับสายงานที่เกี่ยวข้องอย่างกว้าง ๆ  ฝ่ายอำนวยการประสานงานช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาโดยการประสานแผน  หน้าที่  และการปฏิบัติของส่วนต่าง ๆ  ของหน่วย  และยังประสานบรรดากิจกรรมทั้งปวงของหน่วย  เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติภารกิจได้ผลดีที่สุดเป็นส่วนรวม

                         .    ฝ่ายกิจการพิเศษ  ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาสำหรับงานในหน้าที่ที่เป็นวิชาชีพ  เทคนิค  และงานในหน้าที่อื่น ๆ  ซึ่งมีวงแคบกว่าสายงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายอำนวยการประสานงาน  และมีความสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับเรื่องทางเทคนิค  ธุรการ  และเรื่องของเหล่าต่าง ๆ  ฝ่ายกิจการพิเศษโดยทั่วไปจัดเป็นแผนกต่าง ๆ  แตกต่างกันไปตามวิชาชีพ  เทคนิค  และงานในหน้าที่พิเศษอื่น ๆ  ภายในหน่วย

                         .     ฝ่ายอำนวยการประจำตัว  ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในเรื่องส่วนตัวหรืองานในหน้าที่เฉพาะนายทหารฝ่ายอำนวยการประจำตัว  คือ  นายทหารซึ่งผู้บังคับบัญชาได้เลือกให้ทำหน้าที่  เช่น  นายทหารคนสนิท  และผู้บังคับบัญชาต้องการประสานและดำเนินงานกิจกรรมของฝ่ายอำนวยการแต่ละคนโดยตรง แทนที่จะให้ผ่านไปยังเสนาธิการ  นายทหารฝ่ายอำนวยการประจำตัวเหล่านี้รายงานเรื่องราวต่าง ๆ  ตามหน้าที่ของตนไปยังผู้บังคับบัญชาโดยตรง  แทนที่จะผ่านไปตามสายฝ่ายอำนวยการปกติภายในหน่วย  ส่วนมากแล้วนายทหารฝ่ายอำนวยการเหล่านี้  จะแบ่งเวลาระหว่างหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประจำตัวของผู้บังคับบัญชา  กับหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประสานงานหรือฝ่ายกิจการพิเศษ

จริยธรรมโดยหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการ

                         มี    ประการ  คือ

                         .      ไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชา  และสั่งการหน่วยรอง

                         .    เคารพสิทธิ  อำนาจของ  ผบ.หน่วยรอง

                         .     สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ  ผบ.  และ  ผบ.หน่วยรอง

                         .     ไม่รับปากหรืออนุมัติคำขอของหน่วยรอง

                         .     ไม่ทำงานข้ามสายงาน

                         .     การให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ  ผบ.หน่วยรอง  ต้องกระทำอย่างรอบคอบ

                         .     ไม่ละเมิดความไว้วางใจของ  ผบ.

                         .     ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่นำเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง

                         .     ศึกษานโยบายหน่วยเหนือ  ระเบียบข้อบังคับที่สำคัญ  เพื่อนำมาเป็นข้อเตือนใจ  ผบ.หน่วย  ในกรณีที่จะต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญของหน่วย  และคนในชาติเดียวกัน

คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสายงานเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

                         .      พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

                         .    ปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ

                         .     มีความรับผิดชอบ

                         .     พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ

                         .     เป็นผู้นำในการประหยัดทรัพยากรของหน่วยงาน

                         .     ดำรงชีพให้เหมาะสมกับฐานะ  ไม่ฟุ่มเฟือย  ไม่สุรุ่ยสุร่าย

                         .     รักษาจรรยาวิชาชีพที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

                         .     มีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับข้าราชการและลูกจ้างทุกคน


บทที่ 

การพัฒนาจริยธรรม

การพัฒนาจริยธรรมของทหาร

                          การพัฒนาจริยธรรมของ  ผบ.หน่วย  และฝ่ายอำนวยการ  เป็นการพัฒนาทุกด้าน  เพราะเป็นหนทางในการยกระดับบรรทัดฐาน และค่านิยมของทหารอาชีพที่สังคมในชาติยอมรับ การพัฒนาจริยธรรมควรพัฒนาคุณสมบัติต่าง ๆ    ด้าน  คือ

                         .   ความมีวินัย

                                   เป็นจริยธรรมที่ต้องปลูกฝังและสร้างสรรค์เป็นลำดับแรก  เพราะวินัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับการเป็นทหารอย่างยิ่ง  เนื่องจากทหารนั้นควบคุมกันอยู่ได้ก็ด้วยวินัย  วินัยเป็นมาตรการควบคุมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  เป็นเครื่องชี้ความถูกต้องทั้งส่วนบุคคลและหมู่คณะ  การงานทั้งหลายถ้าเริ่มต้นที่วินัย  จะมีโอกาสดำเนินไปด้วยดี  ถ้าไม่มีวินัยอาจประสบความล้มเหลวในที่สุด  ความมีวินัยจะแสดงออกโดยการยึดถือ  ระบบ  กฎ  ข้อบังคับ ระเบียบ  แบบแผน  ขนบธรรมเนียมประเพณี  และค่านิยมที่ถูกต้อง

                                   การปลูกฝังวินัย  ต้องปลูกฝังที่นิสัย    ประการ  คือ  การรู้จักระวังตัว  (ศีล)  การรู้จักควบคุมตัว  (ธรรม)  และการรู้จักเชื่อฟัง  (ศรัทธา)

                                   การฝึกนิสัยที่ดี  ต้องฝึกในเรื่อง  การตรงต่อเวลา  การปฏิบัติตามระเบียบ  และการมีสัมมาคารวะ

                         .  ความรับผิดชอบต่อหน้าที่

                                   คือ  ความตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องเรียบร้อย  และให้เสร็จสิ้นด้วยดีไม่ให้เกิดความผิดพลาดบกพร่อง  เป็นความดีที่ประเสริฐที่สุดเหนือความดีทั้งหลาย  เพราะเป็นการช่วยเหลือตนเอง  ช่วยเหลือผู้อื่น  และช่วยเหลือส่วนรวม

                         .  การใช้หลักมนุษยธรรม

                                   หลักจริยธรรมของมนุษยธรรม  มี    ประการ  คือ

                                   ..     ความซื่อสัตย์  ประกอบด้วย  ความซื่อตรง  ความจริงใจ  ความตรงไปตรงมา  นำไปสู่ความราบรื่นทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

                                   ..   ความเมตตา  ประกอบด้วย  ความรัก  ความปรารถนาดี  ความนับถือ  การช่วยเหลือ  การให้อภัย  การเอาใจเขามาใส่ใจเรา  มุ่งสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและมั่นคง

                                   ..    ความสามัคคี  ประกอบด้วย  การรวมกำลังทั้งในทางป้องกันและการสร้างสรรค์ที่ชอบธรรมทุกกรณี  โดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน  ไม่ถือเอาความขัดแย้งแพ้ชนะเป็นเรื่องสำคัญ

 

 

                         .  การเคารพอาวุโส

                                   การรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่  รู้จักรุ่นพี่รุ่นน้อง  เป็นความรู้ที่มีคุณค่าสูงยิ่ง  เพราะเป็นความรู้สภาพที่แท้จริงของตนและสังคม  ทำให้อยู่ด้วยกันได้อย่างสบาย  ไม่มีปัญหาระหว่างกัน  จะช่วยในการปกครองบังคับบัญชาได้มาก  ผู้อาวุโสจะเห็นใจผู้น้อยก็เพราะรู้จักตัวเองว่าเราเป็นผู้ใหญ่และเขาเป็นเด็ก  การรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทยมาแต่โบราณ  จึงควรอนุรักษ์ไว้  อย่าสอนหรือทำตัวอย่างให้เด็กก้าวร้าวผู้ใหญ่  ความมั่นคงของสังคมอยู่ที่การรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่  เสรีภาพที่ถูกต้องมาจากการรู้จักเด็กรู้จักผู้ใหญ่

                         .  การกำหนดค่านิยมที่ถูกต้องของตนเอง

                                  ค่านิยม  เป็นแนวทางความประพฤติ  ความเชื่อถือ  และการกระทำ  เช่น  การรักษาเกียรติ  ความซื่อสัตย์  ความอ่อนน้อมถ่อมตน  ความกล้าหาญ  ความรับผิดชอบ  เป็นค่านิยมวิถีปฏิบัติ  ทรัพย์สินมีค่า  เพียงให้เกิดความสะดวกสบายบางประการ  มิใช่ก่อให้เกิดความสะดวกในทุกประการ  แต่คนที่มีค่านิยมที่ถูกต้อง  จะรู้จักความเป็นคน  ย่อมก่อให้เกิดความสะดวกสบายในทุกประการ

                                   “มีทรัพย์สิน  ไม่มีคน  อยู่ยาก  แต่ถ้ามีคน  ไม่มีทรัพย์สิน  อยู่ง่าย”

                                   “การเสียคน  เป็นการเสียมาก  แต่การเสียทรัพย์  เป็นการเสียน้อย”

                                   ค่านิยมจริยธรรม  มีจุดรวมอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  มีความสำนึกในความถูกผิด  ดีชั่วและมีจุดรวมอยู่ที่ตนเอง  ถ้าตัวเองละเมิดจริยธรรมและไม่ละอายใจ  คือ  ผู้ที่ไม่มีค่านิยมจริยธรรม  ดังนั้น  การมีค่านิยมจริยธรรมที่ถูกต้อง  ต้องไม่หลงในค่านิยมที่ผิด ๆ  เช่น  ค่านิยมของคนรวยต้องใช้ของราคาแพง  คนจนจะไปใช้ค่านิยมของคนรวยไม่ได้  ถ้าขืนไปใช้จะนำไปสู่การช่อราษฎร์บังหลวง

                         .   การยึดมั่นในหลักศาสนา

                                   ศาสนา  เป็นเครื่องคุ้มครองชีวิตจิตใจ  ให้เกิดความสงบเรียบร้อย  ความดีงาม  และการมีสถานภาพที่น่าเชื่อถือไว้วางใจในสังคม  พุทธศาสนา  มุ่งให้คนช่วยตนเองด้วยสติปัญญา  มุ่งประพฤติแต่ความดี  ละเว้นการทำชั่ว  และพัฒนาจิตใจให้มีความสะอาด  บริสุทธิ์  โปร่งใส

กฎแห่งกรรม

                         กฎแห่งกรรม  เป็นกฏธรรมชาติที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนกับบุคคลทุกรูปทุกนาม  ไม่ช้าก็เร็ว  เป็นจริยธรรมขั้นมูลฐานของพุทธศาสนา  เช่นเดียวกับที่เป็นจริยธรรมขั้นมูลฐานของศาสนาอื่น ๆ  ด้วย  ศาสนาใหญ่ทุกศาสนายอมรับในเรื่องกฎแห่งกรรม  เป็นจริยธรรมขั้นมูลฐานและเป็นสัจจธรรม  เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันมองต่างมุมกันเท่านั้น

                         เรื่องกฎแห่งกรรมนี้เองมีปัญหาว่า  เหตุใดจึงไม่ค่อยมีผู้เชื่อถือกฎแห่งกรรม  การที่ไม่คอยมีผู้เชื่อถือในเรื่องกฎแห่งกรรม  ก็เพราะว่ากฎแห่งกรรมไม่ได้ส่งผลทันตาเห็นเสมอไป  บางเรื่องอาจจะส่งผลทันตาเห็น  แต่บางเรื่องไม่ได้ส่งผลทันตาเห็น  คนก็ไม่เชื่อ  อย่างไรก็ตามถ้าเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม  ก็จะต้องเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดด้วย  มิฉะนั้น เหตุใดบางคนเกิดมายังไม่ได้ทำอะไรเลย  เกิดมาบนกองเงินกองทองเสียแล้ว  แต่บางคนก็พิการแต่กำเนิดแล้ว  นี่หมายความว่าอย่างไร  ยังไม่ทันมีโอกาสได้ทำความดีหรือความชั่วที่ไหน  เราจึงต้องยอมรับในเรื่องการมีอดีตชาติ  ชาติปัจจุบัน  และอนาคตชาติ  แม้ว่าสำหรับอดีตชาติและอนาคตชาติจะพิสูจน์ไม่ได้  ก็พิสูจน์ได้เฉพาะปัจจุบันเท่าที่ปรากฏอยู่  บางคนทำดีทำเด่นทุกอย่างแต่ก็ไม่ได้รับผลดีผลเด่นในชาตินี้  กรรมยังไม่ส่งผลดีหรือชั่ว  บางคนก่นแต่จะทำชั่วอย่างเดียวเท่านั้นทำให้ผู้คนเดือดร้อน  บ้านเมืองเดือดร้อน  แต่ก็ไม่ได้รับผลกรรมอะไร  แม้กระนั้นก็ตามเขาจะต้องรับกรรมของเขาไปในภายหน้า 

                         เรื่องนี้มีจุดอ่อนตรงที่ว่าพิสูจน์ไม่ได้  แต่สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้ก็คือ  ทรัพย์สิ่งของที่ได้รับมาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง  หรือทรัพย์สิ่งของที่ได้รับมาจากการกระทำผิดของโจร  ทรัพย์สิ่งของอะไรก็แล้วแต่  ถ้าได้มาโดยมิชอบนี้โบราณท่านว่าเป็น  “ของร้อน”  มีอาถรรพณ์  ได้มาไม่ช้าก็เร็วจักต้องอันตรธานไป  ขอให้ท่านพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง  ท่านรับราชการมาช้านาน  คงจะต้องมีตัวอย่างให้ท่านได้เห็นกับตาของท่านเองว่า  คนไหนที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง  ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงอันเป็น  “ของร้อน” นั้น ลูกหลานของผู้ฉ้อราษฎร์บังหลวงได้รับประโยชน์จากของร้อนเหล่านั้นบ้างหรือไม่ ไม่มีเลย 

                         เราลองสังเกตดูบรรดาผู้ที่กอบโกยเงินทองของประเทศชาติเป็นหมื่นล้านแสนล้านไป  ลูกหลานเขาควรจะร่ำรวยตามนั้น  แต่ไม่เคยปรากฏ  หากลูกหลานมีฐานะดีบางส่วนนั้น  ก็เป็นกรรมดีเฉพาะตัวของเขาเอง  แต่การที่จะรับมรดกสืบทอดหรือได้รับผลประโยชน์จากของร้อนที่บิดามารดาฉ้อราษฎร์บังหลวงไว้ไม่มี  ท่านน่าจะลองศึกษาดูจากผู้ที่อยู่ใกล้และจากผู้ที่อยู่ไกล  ว่าความจริงเป็นอย่างไร  ฉะนั้น  เรื่องกฏแห่งกรรมนี้น่าที่จะรับมาเป็นเรื่องสำคัญในการที่จะใช้ฝึกอบรมในด้านจริยธรรม เพื่อจูงใจให้แต่ละคนประพฤติปฏิบัติตนดี

ตัวแปรที่มีอิทธิพลเหนือจริยธรรมและคุณธรรมของข้าราชการ

                         ในแง่หนึ่งของมาตรฐานของจริยธรรมและคุณธรรม  มีตัวแปรอย่างน้อย    ตัว  ซึ่งบางครั้งเรามองข้ามไป  เรามักจะฝึกอบรมเฉพาะตัวข้าราชการผู้เดียว  ซึ่งเป็นการอบรมเพียงครึ่งเดียว  อีกครึ่งหนึ่งของชีวิตเขา  หุ้นส่วนของชีวิตเขาเราไม่คิดถึงเลย  นั่นคือ  “คู่สมรส”  ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด  ถ้าฝึกอบรมแต่เฉพาะตัวข้าราชการเองไม่ฝึกอบรมคู่สมรสด้วยจะมีปัญหา 

                         ในชีวิตการทำงานของแต่ละท่าน  ต้องมีคนที่ท่านเคารพนับถือจริง ๆ  ว่าเป็นปูชนียบุคคล  หรือเป็นบุคคลที่น่าเคารพนับถือมากในเรื่องการครองตน  เรื่องคอรัปชั่นไม่มี  เป็นคนที่สะอาดบริสุทธิ์สดใสทุกประการ  ซึ่งส่วนใหญ่คู่สมรสของท่านเหล่านั้นมักจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมอันสูงส่งด้วย  เกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่สามีแสนดีแต่ภรรยาเปิดประตูหลังบ้านเรียกสินบน  ถ้าครอบครัวใดดีก็มักจะดีด้วยกันทั้งสามีและภรรยา  อย่างไรก็ตามการที่จะฝึกอบรมคู่สมรสของข้าราชการด้วย  ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ 

                         ตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ทำให้กระทบกระเทือนต่อระบบคุณธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างมากก็คือ  “ข้าราชการการเมืองที่แทรกแซงงานของข้าราชการประจำ”  ข้าราชการประจำต่างก็หวั่นไหว  ถ้าไม่ทำตามความประสงค์ของฝ่ายการเมือง  ตำแหน่งหน้าที่อาจหลุดลอยไป  หรืออย่างน้อยก็ไม่มีอนาคตเสียแล้ว  ครั้นทำตามความปรารถนาของฝ่ายการเมือง  ถ้าถูกต้องก็ไม่มีปัญหา  แต่ถ้าไม่ถูกต้องและเป็นการที่เสี่ยงทำไปในนามของตนเอง  เพราะฝ่ายการเมืองไม่ประสงค์จะออกมาแสดงตนรับผิดชอบเอง  เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ข้าราชการประจำกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

พฤติกรรมในหน่วยงาน

                         นอกจากจะพัฒนาจริยธรรมตามที่กล่าวแล้วข้างต้น  ยังอาจสามารถพัฒนาได้จากการพินิจพิจารณา  วิเคราะห์ใคร่ครวญ  พฤติกรรมของบุคคลในหน่วยงาน  ทั้งผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และผู้ร่วมงาน  ที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน  โดยพิจารณาว่า  พฤติกรรมนั้นเหมาะสมหรือไม่  ถ้าเหมาะสมดีงามก็ควรน้อมนำมาปฏิบัติบ้างในโอกาสต่อไป  หรือหากได้ปฏิบัติอยู่แล้วก็จะได้ปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ  ขึ้นไป  ถ้าไม่เหมาะสม  ก็ตั้งใจว่าจะไม่ประพฤติปฏิบัติพฤติกรรมนั้น  ไม่ใช่ถือว่าธุระไม่ใช่ ไม่สนใจเรื่องของคนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของตน  ตัวอย่างพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นในที่ทำงานซึ่งอาจน้อมนำมาวิเคราะห์และพัฒนาจิตใจและจริยธรรมของตนเอง  ได้แก่

                         .   ผู้บังคับบัญชามีภรรยาน้อย  หรือมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับข้าราชการภายในหน่วย

                         . ข้าราชการดื่มสุราแล้วทะเลาะวิวาทกัน

                         .  ข้าราชการชกต่อยกับภารโรงเพราะถูกสบประมาท

                         .  ข้าราชการไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ  จึงเขียนบัตรสนเท่ห์

                         .  ข้าราชการเล่นไพ่กับเพื่อนในสถานที่ราชการ

                         .  หัวหน้าตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชาต่อหน้าคนจำนวนมาก

                         .  ข้าราชการสาวโสดไปเป็นนักร้องประจำที่ห้องอาหารทุกคืน

                         .  วิศวกรโยธาผู้ควบคุมงานก่อสร้างสถานที่ราชการ  ไปรับประทานอาหารมื้อเย็นตามคำเชิญของผู้รับเหมาก่อสร้าง

                         .  ข้าราชการชายเป็นหัวหน้าคิวรถจักรยานยนต์  และจ้างนักเลงในซอยไว้เป็นผู้คุ้มครอง

                         ๑๐.  ข้าราชการใช้เวลาของทางราชการไปเป็นที่ปรึกษาบริษัท

โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน

                         ต้นฉบับดั้งเดิมของหนังสือนี้เป็นภาษาจีนโบราณสมัยราชวงศ์หมิง  (..๑๙๑๑ - ๒๑๘๗)ท่านผู้นิพนธ์มีนามว่า  “เหลี่ยวฝาน”  (สังเกตจากที่ท่านเล่าให้ลูกฟังในหนังสือ  ท่านคงเกิดในราว  ..๒๐๙๒  ท่านเขียนหนังสือนี้เมื่ออายุ  ๖๙  ปี  หนังสือนี้จึงมีอายุประมาณ  ๓๖๓  ปี  ในปี  ..๒๕๒๕)

แรกเริ่มเดิมทีท่านมีนามว่า  “เอวี๋ยนเสวียห่าย”  ท่านเป็นขุนนางจีนในแผ่นดินหมิง  ก่อนที่จะได้เข้ารับราชการได้พบพระเถระ  ที่ทรงคุณวิเศษท่านหนึ่งได้สอนวิธีเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงให้  ท่านเหลี่ยวฝานจึงตั้งปณิธานที่จะหลุดพ้นจากความเป็นปุถุชนให้ได้  โดยพัฒนาตนเองด้วยวิธีของพระผู้มีพระภาค  คือการปฏิบัติอย่างจริงจังถูกต้องใน  ศีล  สมาธิ  และปัญญา  แล้วเปลี่ยนชื่อตนเองเสียใหม่ว่า

“เหลี่ยวฝาน”  ซึ่งมีความหมายตรงตามปณิธานที่ตั้งไว้

                         ท่านเหลี่ยวฝานเป็นผู้หนึ่งที่เข้าใจและเข้าถึงคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา  ท่านจึงนิพนธ์หนังสือนี้อันเป็นประสบการณ์ของท่านเอง  เพื่อชี้ให้ลูกท่านเห็นว่าชีวิตที่อยู่ในกรอบแห่งจริยธรรมก็ดีหรืจะหลุดจากขอบข่ายทั้งมวลในสังคมก็ดี  ล้วนแต่เกิดจากเจตนารมณ์ของตนเองทั้งสิ้น  มิได้ขึ้นอยู่กับลิขิของฟ้าดิน  ชาตาชีวิตมิใช่ข้อชี้ขาดที่จะแก้ไขมิได้  จะดีจะชั่วมิใช่ฟ้าดินจะบันดาลให้โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล  เป็นตัวเราเองต่างหากคือผู้กำหนดอนาคตของตนเอง  ปุถุชนมักมองชีวิตว่าถูกลิขิตมาแล้วแน่นอนก่อนเกิดเสียอีก  ความจนความรวย  ความสูงศักดิ์ความต่ำต้อย  ความบุญมั่นขวัญยืนหรือไม่  ล้วนแต่เกิดจากผลแห่งกรรมอันเป็นการกระทำด้วยเจตนาที่ดีบ้างชั่วบ้าง  ที่ตนเองได้สร้างสมไว้แต่ชาตินี้หรือชาติปางก่อน  วิบากย่อมส่งผลของชาติที่แล้วมาบ้าง  ที่ย้อนขึ้นไปอีกหลาย ๆ  ชาติบ้าง  ทัศนคติที่มีต่อกรรมเช่นนี้แม้จะถูกต้องแต่ก็มิใช่ทั้งหมด  ท่านเขียนหนังสือนี้เพื่อสั่งสอนอบรมบุตรของท่าน  ต่อมาท่านเห็นควรพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน  หนังสือนี้จึงแพร่หลายมาจนทุกวันนี้  คำว่า  “พ่อ”  ในหนังสือนี้  จึงหมายถึงท่านเหลี่ยวฝานนั่นเอง

                         โอวาทข้อที่หนึ่ง  การสร้างอนาคต

                         โอวาทข้อที่สอง  วิธีแก้ไขความผิดพลาด

                                .  จะต้องมีความละอายต่อการทำชั่ว

                                . จะต้องมีความเกรงกลัวต่อการทำชั่ว

                                . จะต้องมีความกล้าที่จะแก้ไขตนเอง

                         โอวาทข้อที่สาม  วิธีสร้างความดี

                                .  อดีตเป็นตัวอย่างอันดี

                                . ช่วยแต่คน  ไม่สนทรัพย์สิน

                               . จิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา  สยบความดุร้ายได้

                                . คุณธรรมล้ำเลิศเพราะปัญญา

                                . ให้ทานต้องไม่อิดหนาระอาใจ

                                .  ช่วยชีวิตต้องฉับพลัน

                                . ช่วยเหลือทั่วหน้า

                                . ช่วยได้ต้องช่วยทันที

                                .  การให้ความยุติธรรมเป็นความยิ่งใหญ่

                                ๑๐.  จาคะด้วยเมตตาการุณ

                                ๑๑.   ยุติธรรมค้ำจุนโลก

                                ๑๒.  ข้อคิดพิจารณาการทำความดี

                                ๑๓.  การช่วยเหลือผู้อื่น

                   โอวาทข้อที่สี่  ความถ่อมตน

                                .  ความถ่อมตนนำมาซึ่งความสำเร็จ

                                . สติปัญญาควบคุมอารมณ์ได้

                                . อ่อนน้อมถ่อมตนไม่ต้องใช้เงิน

ข้อคิดพิจารณาการทำความดี  (จากโอวาทข้อที่สามของท่านเหลี่ยวฝาน)

                         การทำความดีนั้น  ดีจริงหรือดีปลอม  บริสุทธิ์ใจหรือไม่บริสุทธิ์ใจ  ทำแล้วมีคนรู้เห็นหรือไม่มีคนรู้เห็น  ทำถูกหรือผิด  ทำด้วยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่  ทำครึ่ง ๆ  กลาง ๆ  หรือทำอย่างสมบูรณ์  ทำใหญ่หรือเล็ก  ทำยากหรือทำง่าย  ทั้งหมดนี้จะต้องใคร่ครวญให้ถ่องแท้  หากกระทำความดีโดยไม่อาศัยเหตุผลแล้วไซร้  ความดีนั้นอาจจะให้ผลร้ายเป็นบาปไปก็ได้  เป็นการสูญเปล่าไม่ได้ประโยชน์อันใดเลย  ทีนี้พ่อจะมาพูดให้ฟังทีละข้อ

                         ความดีข้อแรก  คือ  การทำความดีนั้น  ทำแล้วดีจริงหรือไม่

                                ในสมัยราชวงศ์หยวน  มีพระเถระรูปหนึ่งมีนามว่าท่านจงฟง  ฮ่องเต้ในสมัยนั้นได้สถาปนาท่านเป็นถึงสังฆราช  ท่านมีคุณธรรมล้ำเลิศมีคนไปนมัสการท่านมากมาย  อยู่มาวันหนึ่ง  มีพวกนักศึกษาลัทธิขงจื่อได้พากันไปนมัสการท่าน  กราบถามท่านถึงปัญหาหนึ่งว่า

                                “พระพุทธศาสนานั้น  เน้นหนักในเรื่องกฎแห่งกรรม  ใครทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วดุจเงาตามตัว  บัดนี้ปรากฏว่าบางคนทำความดีแต่ลูกหลานไม่เจริญรุ่งเรือง  ส่วนคนที่ทำชั่วนั้นเล่ากลับได้ดีมีหน้ามีตา  เช่นนี้แล้วจะเชื่อคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างไรกัน”

                                พระเถระจงฟงกล่าวตอบว่า  “หากเราจะวินิจฉัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ถ้าใช้ทัศนะชาวโลกก็จะวินิจฉัยได้แง่มุมทางโลก  ถ้าใช้ทัศนะทางพุทธธรรมก็จะวินิจฉัยได้แง่มุมในทางธรรม  อันปุถุชนคนธรรมดาไม่สามารถจะมองเห็นได้แจ่มแจ้งเท่า  เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยในทัศนะทางโลก  จึงไม่อาจถูกต้องเสมอไป  บางทีคนดีก็มองไปว่าเป็นคนไม่ดี  ส่วนคนไม่ดีก็มองเห็นว่าเป็นคนดีไปก็มีชาวโลกจึงมักจะไม่สำรวจตนเอง  เอาแต่โทษฟ้าดินลำเอียง”

                                แล้วท่านก็ให้พวกนักศึกษาลัทธิขงจื่อ  ยกตัวอย่างที่พวกเขาเห็นว่าดีและไม่ดีออกมา  จะได้เข้าใจความหมายของความดีถ่องแท้ขึ้น  บางคนก็ยกตัวอย่างว่า  การตีคนด่าคนไม่ดี  การอ่อนน้อมมีมารยาทดีจึงจะดี  บางคนก็ยกตัวอย่างว่า  การละโมบอยากได้ของเขาอื่นไม่ดี  การไม่โลภถือสันโดษเป็นความดี

                                ท่านจงฟงเถระก็ได้แต่ส่ายหน้าว่า  ไม่ใช่อย่างว่าเสมอไป  ท่านอธิบายว่า  “ถ้าเราทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นเรียกว่า  ทำความดี  แต่ถ้าเราทำเพื่อตัวเราเอง  นั่นคือ  ความไม่ดี  ถ้าเราทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น  ถึงแม้เราจะตีเขาก็ดี  ดุด่าว่ากล่าวก็ดี  ล้วนแต่เป็นการกระทำดีทั้งนั้น  ถ้าเพื่อประโยชน์ของเราเอง  เราจึงอ่อนน้อมต่อผู้อื่น  ทำความคารวะต่อผู้อื่น  นี่เป็นความดีปลอมไม่ใช่ดีจริง  ฉะนั้น  การกระทำใด ๆ  ก็ตาม  ถ้าทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นแล้วไซร้  เป็นความดีจริงทั้งนั้น  ถ้าเราทำเพื่อผลประโยชน์

ของเราเอง  ก็เป็นดีปลอมทั้งนั้น  ถ้าเราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ  มีความจริงใจ  ไม่หวังสิ่งตอบแทน  จึงจะเป็นความดีที่แท้  หากยังต้องการอามิสสินจ้างรางวัลจึงจะทำความดี  ความดีนั้นก็เป็นดีปลอม  เพราะฉะนั้นก่อนที่จะกล่าวว่า  สิ่งนั้นดี  สิ่งนั้นไม่ดี  คนนี้ดี  คนนี้ไม่ดี  ก็ต้องพิจารณาใคร่ครวญทุกแง่ทุกมุมเสียก่อน  มิฉะนั้นการวินิจฉัยของเรา  ก็จะเกิดการผิดพลาดขึ้นได้”

                         ความดีข้อที่สอง  คือ  การทำความดีโดยบริสุทธิ์ใจหรือแฝงด้วยเจตนาใด ๆ

                                สมัยนี้คนส่วนมากชอบคนที่มีนิสัยไม่ดื้อรั้นว่าเป็นคนดี  แต่นักปราชญ์ท่านมักจะชอบคนที่เป็นตัวของตัวเอง  เพราะคนชนิดนี้มักจะสอนง่าย  แต่หาได้ยากมาก  คนที่ว่านอนสอนง่าย  ชักจูงอย่างไรก็ไปอย่างนั้น  ถึงแม้ใครต่อใครพากันชมเชยว่า  เป็นคนดีนักหนาก็ตามที  แต่ท่านนักปราชญ์กลับเห็นว่าคนชนิดนี้  เป็นผู้ร้ายในคุณธรรม  สอนให้ดีได้ยาก  หาความก้าวหน้าไม่ได้  เพราะฉะนั้น  ความดีความไม่ดีชาวโลกมักเห็นตรงข้ามกับนักปราชญ์เสมอ  ส่วนเทวดาฟ้าดินนั้น  มีความเห็นตรงกับนักปราชญ์  ดังนั้นการทำความดีจึงมิได้อาศัยที่ตาดู  หูฟัง  แต่ต้องเริ่มที่ใจของตนเอง  เริ่มไตร่ตรองสำรวจตนเองอย่างระแวดระวัง  อาศัยกำลังใจของเราเอง  ซักฟอกจิตใจให้ใสสะอาด  ไม่ว่าจะทำอะไรก็ให้คิดถึงประโยชน์สุขของผู้อื่นก่อน  แล้วทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ  ไม่แฝงไว้ด้วยเจตนาที่จะต้องการการตอบแทนจากใคร  จึงจะเป็นความดีโดยบริสุทธิ์  หากเราทำความดีเพื่อเอาใจผู้อื่นก็ดี  หวังการตอบแทนก็ดี  ก็ไม่ใช่ความดีที่เกิดจากความบริสุทธิ์ใจเสียแล้ว  เป็นการเสแสร้งเพทุบายเพื่อหวังประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง  เป็นเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์จะถือเป็นความดีแท้ไม่ได้

                         ความดีข้อที่สาม  คือ  การทำความดี  มีผู้รู้เห็นมากก็กลายเป็นความดีทางโลกไป  แต่ทำแล้วไม่มีผู้รู้เห็นเหมือนการปิดทองหลังพระ  นี่เป็นความดีทางธรรม

                                ความดีทางธรรม  ซึ่งฟ้าดินย่อมประทานผลดีให้  ส่วนความดีทางโลก  ก็จะได้รับแต่ชื่อเสียงเกียรติยศความมั่งคั่งเป็นผลตอบแทน  การมีชื่อเสียงโด่งดังนั้นชาวโลกมักจะเห็นว่า  เป็นผู้มีบุญวาสนา  แต่ทางธรรมแล้วเห็นว่า  ผู้นั้นมิได้ทำความดีมากพอกับการมีชื่อเสียง  จึงมักจะได้รับผลไม่ดีในบั้นปลาย  แต่คนดีที่ได้รับการปรักปรำจนเสียชื่อเสียงนั้น  ลูกหลานกลับรุ่งเรืองได้ดีมีสุข  เพราะผู้ที่ได้รับการปรักปรำสามารถอดทนต่อการถูกประณามหยามเหยียด  หวานอมขมกลืนก้มหน้ารับความขมขื่นอยู่ด้วยอาการสงบ  เป็นการสั่งสมกุศลกรรมอย่างใหญ่หลวง  ลูกหลานจึงมีโอกาสได้ดี  เพราะฉะนั้น  ลูกจะต้องเห็นความสลับซับซ้อนอันล้ำลึกของการทำความดีที่ดีแท้และดีปลอม  จึงจะทำความดีได้ถูกต้อง

                         ความดีข้อที่สี่  คือ  ความดีที่ทำผิดหรือทำถูกกาละเทศะ

                                ในแคว้นหลู่  ราษฎรถูกจับไปเป็นเชลยในแคว้นอื่น  เมื่อมีคนไถ่มาได้ส่งคืนแคว้นหลู่ไปก็จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน  เพราะสมัยชุนชิวนั้น  ต่างก็ตั้งตัวเป็นอ๋องกัน  รบราฆ่าฟันช่วงชิงเขตแดนกัน  จับเชลยศึกได้ก็นำไปเป็นข้าทาสทั้งชายหญิง  แคว้นหลู่เป็นแคว้นเล็ก ๆ  ไม่ค่อยจะมีกำลังไปสู้รบกับใครนัก  จึงมักถูกแคว้นอื่นบุกเข้ามาจับราษฎรไปเป็นทาสเสมอ  ใครใจบุญอยากทำความดีก็นำ

เงินไปไถ่มาคืนเจ้าผู้ครองแคว้นหลู่  ก็จะได้รับรางวัลทันที  ต่อมาท่านจื่อก้งซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่าน

ขงจื่อ  ท่านก็ไปไถ่เชลยศึกมาคืนแคว้นหลู่  แต่ไม่ยอมรับเงินรางวัลเพราะท่านมีฐานะดีอยู่แล้ว  ทำไปโดยมิหวังผลตอบแทนใด ๆ  แต่เมื่อท่านขงจื่อทราบเรื่องเข้า  ท่านก็โกรธลูกศิษย์ของท่านมาก  ท่านบอกว่า  แคว้นหลู่นั้นคนจนมากคนรวยมีน้อย  ต่อไปนี้คงจะไม่มีใครกล้าไปไถ่เชลยศึกมาอีกแล้ว  เพราะท่านจื่อก้งไปทำตัวอย่างเอาไว้เช่นนั้น  ก็มีแต่คนที่มีฐานะดีจึงกล้าเอาอย่างท่านจื่อก้งได้  ส่วนคนที่โลภเงินรางวัลก็ดี  คนที่ไม่ค่อยจะมีเงินนักก็ดี  ต่างก็ไม่ทำความดีอีกต่อไป  เพราะไม่ได้รับเงินรางวัลจะทำไปทำไม  ดังนี้จึงเห็นได้ว่าบัณฑิตนั้น  ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะเป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น  จึงต้องระมัดระวังจะทำอะไรผิดไม่ได้  คนก็จะพากันทำตามอย่างผิด ๆ  ไปด้วย  ความดีก็เลยเป็นความดีปลอมไป

                                (มีท่านผู้อ่านแย้งมาว่า  พระพุทธศาสนาสอนมิให้ทำความดีเพื่ออามิสสินจ้าง  ท่านเหลี่ยวฝานหมายถึงว่า  เมื่อมีเจตน์จำนงจะทำความดี  ส่วนผลตอบแทนนั้น  ถ้าพึงได้โดยชอบธรรม  แม้ตนเองไม่ต้องการ  ก็สามารถนำไปทำความดีเพื่อผู้อื่นอีกต่อไปได้  เช่น  ท่านจื่อก้ง  เมื่อท่านรับเงินมาแล้ว  ท่านสามารถนำเงินไปไถ่คนมาให้กับแคว้นหลู่ได้อีก  เป็นการทำความดีที่ต่อเนื่องไปสู่ประโยชน์สุขของผู้อื่นได้อีกมากมาย  และไม่เสียธรรมเนียมของแคว้นหลู่  เป็นการไม่เสียหายทั้งทางโลกและทางธรรม  จึงไม่ขัดกับคำสอนของพุทธศาสนาเลย - ผู้ถอดความ)

                                ท่านจื่อลู่ซึ่งก็เป็นศิษย์เอกของท่านขงจื่อเช่นกัน  อยู่มาวันหนึ่งท่านจื่อลู่ได้ช่วยคนตกน้ำไว้ได้  ชายนั้นให้วัวตัวหนึ่งเป็นการตอบแทนที่ได้ช่วยชีวิตไว้  ท่านจื่อลู่ก็รับเอาวัวนั้นมา  ท่านขงจื่อเมื่อทราบเรื่องก็ดีใจมาก  ท่านพูดว่าต่อนี้ไปแคว้นหลู่ของเรานี้  จะมีคนชอบช่วยเหลือผู้อื่นเพิ่มขึ้นอีก  เพราะเมื่อทำความดีแล้ว  มีคนเห็นความดีและได้รับการตอบแทนทันที  ใคร ๆ  ก็อยากจะทำความดีเช่นนี้กันมากขึ้น  แต่ในสายตาของชาวโลกแล้ว  จะต้องมองในทัศนะกลับกันกับท่านขงจื่อเป็นแน่  ชาวโลกจะต้องเห็นว่าท่านจื่อก้งดี  ช่วยคนแล้วไม่หวังสิ่งตอบแทน  ส่วนท่านจื่อลู่นั้นไม่ดี  ช่วยแล้วก็ไม่ปฏิเสธการตอบแทนแต่นักปราชญ์ท่านมองการณ์ไกล  การทำความดีที่มีคนนำไปเป็นเยี่ยงอย่างให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้จึงจะเป็นความดีแท้  ส่วนการทำความดีที่กลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไป  เป็นผลร้ายต่อส่วนรวมแล้วไซร้  ก็หาชื่อว่าเป็นความดีแท้ไม่  สมมติว่ามีคนไม่ดีคนหนึ่งเที่ยวเกะกะระรานผู้คน  ถ้าไม่มีคนถือสาเห็นว่าการให้อภัยเป็นคุณธรรมที่ดี  นี่เป็นการทำความดีที่ผิด  เพราะคนพาลนั้นก็ยิ่งได้ใจ  กล้าทำความผิดหนักยิ่งขึ้น  คนพาลก็จะถูกกฎหมายลงโทษอย่างหนัก  แต่ถ้าเราไม่ปล่อยให้คนพาลเหิมเกริม  หาทางกำราบเสียก่อนที่จะสายเกินแก้  ก็จะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย  เพราะฉะนั้น  บางครั้งการไม่ให้อภัยคนพาล  ช่วยกันกำราบให้กลับตัวได้  กลับจะเป็นความดีแท้

                         ความดีข้อที่ห้า  คือ  การทำความดีด้วยความรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่

                                แต่ก่อนนี้มีขุนนางไจ่เซี่ยงท่านหนึ่ง  รับราชการในรัชกาลของพระเจ้าอิงจงฮ่องเต้  ท่านรับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่มีด่างพร้อย  เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป  ต่อมาท่านปลดเกษียณตน

เองกลับไปอยู่ภูมิลำเนาเดิมของท่านที่ชนบท  ประชาชนก็พากันมาเคารพท่าน  ต่างก็เปรียบท่านดุจขุนเขาอันสูงสุดในแผ่นดินจีนคือท่ายซาน  และเปรียบดุจดาวเหนือที่สุกใสกว่าดาวใด ๆ  ในพิภพ

                                ครั้นแล้ว  มีชายขี้เมาคนหนึ่งมาด่าท่านซึ่ง ๆ  หน้า  ท่านเห็นเป็นคนเมาก็ไม่ถือโกรธ  บอกคนรับใช้ว่า  อย่าไปเอาเรื่องกับคนเมาเลย  ปิดประตูเสียเถิด  ต่อมาชายขี้เมาคนนี้ได้รับโทษประหารชีวิต  เมื่อท่านอดีตไจ่เซี่ยงรู้เข้าก็เสียใจมาก  รำพึงว่า  “ถ้าเราเอาเรื่องเสียแต่แรกที่ด่าเรา  จับไปทำโทษสถานเบาเสียที่อำเภอ  เขาจะไม่ต้องรับโทษประหารในวันนี้  เพราะเราแท้ ๆ  กรุณาเขาผิดกาละไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ทำให้เขาเหิมเกริมทำชั่วจนตัวตาย”  นี่คือตัวอย่างของความใจดี  แต่กลับทำให้ผู้อื่นได้รับผลชั่วตอบแทน  ส่วนการกระทำที่เห็นว่าชั่วแต่กลับเป็นผลดีนั้น  ก็มีตัวอย่างเช่นกัน

                                มีอยู่ครั้งหนึ่ง  บ้านเมืองเกิดทุพภิกขภัย  ราษฎรต่างแย่งชิงทรัพย์สินกันเองในกลางวันแสก ๆ  มีเศรษฐีท่านหนึ่งไปร้องต่อนายอำเภอ  ขอให้ระงับเหตุก่อนที่จะเกิดจลาจล  แต่นายอำเภอไม่เอาเรื่อง  คนยากจนก็เลยได้ใจพากันยื้อแย่งกันมากขึ้น  เศรษฐีเห็นไม่เป็นการ  จึงระดมผู้คนของตนออกปราบเอง  เรื่องจึงสงบ  การกระทำของเศรษฐีท่านนี้  แม้จะรุนแรงแต่ก็ทำด้วยความสุจริตใจ  หวังมิให้เกิดการจลาจล  จึงเป็นการทำความดีแท้อีกวิธีหนึ่ง

                         ความดีข้อที่หก  คือ  ความดีที่กระทำครึ่ง ๆ  กลาง ๆ  หรือทำอย่างสมบูรณ์

                                ในคัมภีร์อี้จิงได้กล่าวไว้ว่า  ผู้ที่ไม่สั่งสมความดี  จึงมีความดีไม่พอที่จะได้รับชื่อเสียงดี  ผู้ที่ไม่สั่งสมบาป  ย่อมไม่รับเคราะห์กรรมถึงตายได้  ในประวัติศาสตร์ก็ได้กล่าวถึงราชวงศ์ชางว่า  โจ้วอว๋างซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดร้ายที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์จีน  และเป็นองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชาง  ถูกปราบสำเร็จโดยโจวอู่อว๋าง  โจ้วอว๋างสั่งสมแต่บาปกรรม  ดุจการร้อยเงินเหรียญไว้เต็มพวง  จึงรักษาแผ่นดินและชีวิตของตนเองไว้ไม่ได้  การสั่งสมความดีความชั่วนั้น  ดุจนำของบรรจุลงในภาชนะทุกวันก็จะเต็มเปี่ยม  ถ้าสั่งสมบ้างไม่สั่งสมบ้าง  หยุด ๆ  ทำ ๆ  บุญหรือบาปนั้น  ก็พร่องอยู่เสมอไม่มีวันเต็มได้เลย

                                แต่ก่อนนี้มีเด็กสาวคนหนึ่ง  เข้าไปในวัดเพราะอยากทำบุญแต่มีเงินเพียงสองอีแปะ  ความจริงราคาของเงินนั้นน้อยนิด  แต่ค่าของความมีใจอยากทำบุญนั้นเหลือหลาย  ท่านเจ้าอาวาสจึงกล่าวอนุโมทนาคาถาเอง  ให้ศีลให้พรเอง  ต่อมาหญิงนั้นได้เป็นพระสนมของฮ่องเต้มีเงินมากมาย  จึงนำเงินหลายพันตำลึงมาที่วัดนั้นอีกเพื่อทำบุญ  คราวนี้เจ้าอาวาสให้พระลูกวัดกล่าวอนุโมทนาคาถาและให้ศีลให้พรแทน  พระสนมเกิดความสงสัยยิ่งนัก  จึงถามท่านว่า  “เมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้ายากจน  มีเงินเพียงสองอีแปะแต่ท่านมากล่าวอนุโมทนาและให้ศีลให้พรข้าพเจ้าด้วยตนเอง  มาบัดนี้ข้าพเจ้าพอจะมีเงินบ้าง  จึงนำมาถวายหลายพันตำลึง  แต่ทำไมท่านกลับให้พระลูกวัดทำหน้าที่แทนท่านเล่า”

                                ท่านเจ้าอาวาสกล่าวว่า  “แต่ก่อนนี้  แม้ท่านจะทำบุญน้อย  แต่ใจท่านนั้นเปี่ยมไปด้วยเจตนาที่เป็นกุศล  มาบัดนี้  แม้ท่านจะมีเงินทำบุญมาก  แต่ใจของท่านนั้นไม่เหมือนแต่ก่อนเสียแล้ว  จึงไม่จำเป็นที่จะต้องให้อาตมาไปกล่าวเอง”  นี่คือตัวอย่างของการทำดีที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยราคาของเงินมาวัดความดีนั้น  ทำบุญด้วยเงินน้อยนิด  กลับเป็นบุญที่เต็มเปี่ยมเพราะจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยกุศลเจตนา  แม้ทำ

บุญด้วยเงินมากมาย  หากจิตใจมีศรัทธาเพียงครึ่ง ๆ  กลาง ๆ  การทำความดีนั้น  ก็จะได้ผลเพียงครึ่ง ๆ  กลาง ๆ  เท่านั้น

                                อีกตัวอย่างหนึ่ง  มีเซียนท่านหนึ่งชื่อว่าจงหลี  ท่านเป็นชาวฮั่น  เมื่อตายได้สำเร็จเป็นเซียนผู้วิเศษเสวยสุขอยู่บนสวรรค์หลายร้อยปี  จนสมัยราชวงศ์ถัง  ท่านเซียนจงหลีก็รับลูกศิษย์ไว้คนหนึ่ง  มีชื่อว่าท่านหลี่ย์ต้งปิง  ต่อมาจนถึงปัจจุบันผู้คนเรียกท่านว่าหลี่ย์จู่  ท่านเป็นขุนนางรับราชการเป็นนายอำเภออยู่สองครั้ง  เมื่อมีโอกาสพบเซียนผู้วิเศษ  ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ  ในลัทธิเต๋ารวมทั้งการนั่งสมาธิด้วย  ท่านติดตามเซียนผู้วิเศษไปฝึกสมาธิที่ภูเขาแห่งหนึ่ง  จนสำเร็จได้เป็นเซียนเช่นกัน  ต่อมาท่านจงหลีได้สอนให้ท่านสื่อโจ๊วรู้จักผสมยาวิเศษ  เพียงแต่เอายานั้นหยดลงไปที่เหล็ก  เหล็กนั้นก็จะกลายเป็นทองสามารถนำไปช่วยเหลือความยากจนของผู้คนได้

                                ท่านสื่อโจ๊วจึงกราบถามท่านอาจารย์ว่า  “เมื่อเปลี่ยนไปเป็นทองแล้ว  จะกลับเป็นเหล็กดังเดิมอีกไหม”  ท่านจงหลีบอกว่า  “เมื่อครบห้าร้อยปีแล้ว  ก็จะกลับสภาพเดิมได้”  ท่านสื่อโจ๊วจึงปฏิเสธไม่ยอมทำเหล็กให้เป็นทอง  เพราะท่านเห็นว่า  เมื่อครบห้าร้อยปีแล้ว  ก็จะทำให้ผู้คนเสียหายมากมายเพราะอยู่ ๆ  ทองในมือก็กลายเป็นเหล็กไปเสียแล้ว  ย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างมากมาย  เป็นการให้ร้ายผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม

                                การที่ท่านจงหลีลองใจท่านสื่อโจ๊วครั้งนี้  ทำให้ท่านภูมิใจในลูกศิษย์ของท่านเป็นอย่างยิ่งเพราะคำพูดเพียงคำเดียว  ก็แสดงให้เห็นความเป็นคนของท่านสื่อโจ๊วว่าสูงส่งเพียงใด  ท่านจึงกล่าวกับศิษย์รักของท่านว่า  “การที่จะบรรลุความเป็นเซียนนั้น  จะต้องสั่งสมคุณธรรมให้ได้ถึงสามพันอย่าง  คำพูดของเจ้าเพียงคำเดียว  ก็เท่ากับได้สร้างคุณธรรมครบสามพันอย่างแล้วในพริบตา”

                                การทำความดีนั้น  เมื่อทำแล้วก็แล้วกัน  อย่าได้นำมาคิดถึงบ่อย ๆ  ราวกับว่า  การทำดีนั้นช่างยิ่งใหญ่นัก  ใครก็ทำไม่ได้เหมือเรา  ถ้าคิดเช่นนี้ความดีนั้นก็จะเหลือเพียงครึ่งเดียว  แต่ถ้าทำแล้วก็ไม่นำมาใส่ใจอีก  คิดแต่จะทำอะไรต่อไปอีกจึงจะดี  ก็จะเป็นความดีที่สมบูรณ์  ไม่ตกไม่หล่น  เช่น  การให้เงินแก่คนยากจน  ในใจของลูกจะต้องอย่าคิดว่าเราเป็นผู้ให้  ภายนอกก็อย่าไปสนใจว่าใครเป็นผู้รับ  แม้แต่เงินที่เราบริจาคไปแล้ว  ก็มองไม่เห็นว่าสำคัญตรงไหน  ให้แล้วก็แล้วกันลืมเสียให้ได้  ไม่กลับมาคิดอีกให้เสียเวลา  เช่นนี้เรียกว่า  ทำความดีด้วยจิตว่างเปล่า  เมื่อไม่ได้บรรจุอะไรไว้ที่จิตเลย  จิตนั้นก็ย่อมเต็มเปี่ยมไปด้วยกุศลผลบุญ  พลังแห่งกุศลธรรมเช่นนี้ใหญ่หลวงนัก  สามารถทำลายเคราะห์กรรมได้ถึงหนึ่งพันครั้งเพราะฉะนั้น  การทำความดี  จึงมิได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเงินทองหรือวัตถุที่บริจาค  แต่อยู่ที่ใจเราเท่านั้นที่จะทำจิตใจให้ว่างเปล่าจนสามารถบรรจุบุญกุศลได้เพียงใดต่างหาก

                         ความดีข้อที่เจ็ด  คือ  ความดีที่ใหญ่หรือเล็ก

                                มีขุนนางผู้หนึ่งมีนามว่า  เอว้ยจ้งต๊ะ  รับราชการอยู่ในกรมประวัติศาสตร์  อยู่มาวันหนึ่ง  ถูกจับไปยังยมโลก  พญายมได้สั่งให้เสมียนในยมโลกนำบัญชีดีชั่วของท่านเอว้ยมาให้ดู  ปรากฎว่า  บัญชีชั่วนั้นช่างมากมายก่ายกองวางจนเต็มห้องไปหมด  ส่วนบัญชีความดีนั้นเล็กนิดเดียวมีขนาดพอ ๆ  กับ

ตะเกียบข้างหนึ่งเท่านั้น  พญายมสั่งให้คนนำตาชั่งมาชั่ง  ปรากฎว่า  บัญชีความดีนั้น  แม้จะเล็กนิดเดียวแต่กลับมีน้ำหนักมากกว่าบัญชีความชั่วที่รวมกันแล้วทั้งหมด  ท่านเอว้ยมีความสงสัยเป็นอันมาก  จึงถามพญายมว่า  “ข้าพเจ้ามีอายุยังไม่ถึงสี่สิบปี  ไฉนจึงมีความชั่วมากมายเช่นนี้”  พญายมตอบว่า  “เพียงแต่จิตคิดมิชอบเท่านั้นก็เป็นบาปแล้ว  เช่น  เห็นผู้หญิงสาวสวยก็มีจิตปฏิพัทธ์  จิตที่คิดมิชอบเช่นนี้  ก็จะถูกบันทึกในบัญชีความชั่วทันที”

                                ท่านเอว้ยถามต่อไปว่า  “ถ้าเช่นนั้น  ในบัญชีความดีอันน้อยนิด  ได้บันทึกไว้อย่างไร”พญายมตอบว่า  “มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ฮ่องเต้ทรงดำริจะซ่อมสะพานหินที่เมืองฝูเจี้ยน  ท่านเกรงว่าราษฎรจะเดือดร้อน  จึงถวายความเห็นเพื่อยับยั้งพระราชดำรินั้นเสีย  บัญชีความดีนั้น  ก็คือสำเนาที่ท่านทูลเกล้าถวายฮ่องเต้นั่นเอง”  ท่านเอว้ยก็แย้งว่า  “แม้ข้าพเจ้าจะกระทำดังกล่าวจริง  แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ  พระองค์ทรงดำเนินการไปแล้ว  ไม่น่าเลยที่บัญชีความดีเพียงอย่างเดียว  จะมีน้ำหนักมากกว่าบัญชีความชั่วที่กองอยู่เต็มห้องนี้”  พญายมจึงพูดว่า  “การที่ท่านมีเมตตาจิตต่อราษฎร  เกรงจะได้รับความลำบากกันมากมาย  กุศลจิตนี้ใหญ่หลวงนัก  ถ้าหากท่านยับยั้งได้สำเร็จก็จะยิ่งเพิ่มน้ำหนักขึ้นอีก  พลังแห่งกุศลกรรมนี้จะยิ่งใหญ่อีกหลายเท่านัก”

                                แม้จะเป็นเรื่องเล็ก  แต่ถ้ากระทำเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้วไซร้  ความดีนั้นก็ใหญ่หลวงยิ่งขึ้นหากทำดีเพื่อตนเองแล้วไซร้  แม้จะทำดีขนาดไหน  ก็ได้ผลเล็กน้อยมาก  ลูกจงจำไว้ว่า  การทำความดีไม่ว่าจะเป็นความดีมากหรือน้อยเพียงใด  ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาในการทำความดีนั้น  เพื่อผู้อื่นหรือเพื่อตนเอง

                         ความดีข้อที่แปด  คือ  ความยากง่ายในการทำความดี

                                สมัยก่อน  ท่านผู้คงแก่เรียนมักจะพูดว่า  ถ้าจะเอาชนะใจตนเองให้ได้  ต้องเริ่มจากจุดที่ข่มใจได้ยากที่สุดเสียก่อน  ถ้าสามารถเอาชนะได้  จุดอื่น ๆ  ก็ไม่สำคัญเสียแล้ว  ย่อมจักเอาชนะได้โดยง่ายลูกศิษย์ของท่านขงจื่อซื่อ  ฝานหือ  ได้ถามอาจารย์ว่า  “เมตตาธรรมนั้นเป็นอย่างไร”  ท่านขงจื่อตอบว่า“การทำสิ่งที่ยากที่สุดได้เสียก่อน  จึงจะชนะใจตนเองได้  เมื่อชนะใจตนเองได้แล้ว  ความเห็นแก่ตัวก็หมดไป  จึงบังเกิดเมตตาธรรม”

                                พ่อจะยกตัวอย่างให้ฟัง  ลูกจะได้เข้าใจง่ายเข้า  ที่มณฑลเจียงซี  มีท่านผู้เฒ่าแซ่ซู  ท่านยังชีพด้วยการสอนหนังสือตามบ้าน  อยู่มาวันหนึ่ง  มีชายคนหนึ่งเป็นหนี้เพราะความยากจน  เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้  เจ้าหนี้ก็จะยึดภรรยาของชายผู้นี้ไปเป็นคนใช้  ท่านผู้เฒ่าชูเกิดความเห็นใจสามีภรรยาคู่นี้ยิ่งนักจึงยอมสละเงินที่เก็บออมไว้ได้จากการสอนหนังสือเป็นเวลาสองปี  นำมาใช้หนี้แทนชายผู้นั้น  ทำให้สามีภรรยาคู่นี้ไม่ต้องแยกจากกัน

                                อีกตัวอย่างหนึ่ง  มีชายคนหนึ่งด้วยความยากจนยิ่งนัก  จึงนำภรรยาและบุตรไปจำนำไว้ได้เงินมาพอประทังชีวิต  เมื่อถึงกำหนดไม่มีเงินจะไปไถ่คืน  ภรรยาก็เดือดร้อนคิดจะฆ่าตัวตาย  บังเอิญท่านผู้เฒ่าจางรู้เรื่องเข้ามีความเห็นใจเป็นยิ่งนัก  จึงนำเงินที่เก็บสะสมมาแล้วถึงสิบปีมาใช้หนี้แทนให้  พ่อแม่ลูกจึงได้มีโอกาสกลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้ง

                                ทั้งท่านผู้เฒ่าซูและผู้เฒ่าจาง  ล้วนแต่ได้กระทำในสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง  เงินที่ท่านสะสมไว้คนละสองปีและสิบปีนั้น  ท่านก็หวังว่าเมื่อทำมาหากินไม่ได้แล้ว  ก็จะได้พึ่งเงินจำนวนนี้ประทังชีวิตต่อไป  เป็นเงินที่ต้องใช้เวลาอันยาวนานสะสมไว้วันละเล็กละน้อย  แต่ท่านทั้งสองก็สามารถตัดใจช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จักกันเลยแม้แต่นิดในพริบตาเดียว  นี่คือการทำความดีที่ยากยิ่งจริง ๆ

                                อีกตัวอย่างหนึ่ง  ของผู้ที่ชนะใจตนเองได้  คือท่านผู้เฒ่าจิน  ท่านอายุมากแล้ว  ยังไม่มีบุตรไว้สืบสกุล  ด้วยความหวังดีของเพื่อนบ้านคนหนึ่ง  ได้ยกบุตรสาวของตนให้เป็นอนุภรรยาของท่านผู้เฒ่าแต่ท่านกลับไม่ยอมรับความหวังดีนี้  ท่านให้เหตุผลว่า  ท่านนั้นชราภาพแล้ว  ส่วนเด็กสาวนั้นอายุไม่ถึงยี่สิบ  ควรจะได้สามีที่มีวัยไล่เรี่ยกัน  ท่านจึงไม่ควรที่จะไปทำลายความสุขและอนาคตของเด็กสาวนี้เสียด้วยความเห็นแก่ตัวเพียงเพื่อจะมีบุตรไว้สืบสกุล  เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง

                                ท่านผู้เฒ่าทั้งสามท่านนี้  ล้วนแต่ทำในสิ่งที่ยากยิ่งจริง ๆ  ฟ้าดินทรงประทานความสุขความเจริญให้แก่ท่านทั้งสาม  ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเป็นแน่แท้  ส่วนคนที่มีเงินมีอำนาจนั้น  ถ้าจะกระทำความดีก็ย่อมง่ายกว่าผู้ที่ไม่มีทั้งเงินและอำนาจ  แต่พวกนี้ก็ไม่ค่อยชอบทำความดี  น่าเสียดายที่ผู้ที่มีโอกาสพร้อม  กลับไม่ชอบทำความดี  ส่วนผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าจะทำความดีได้  ก็ด้วยความลำบากยิ่ง  นี่คือความแตกต่างกันในคุณค่าของความดี

                         การทำความดีต่อผู้อื่นนั้น  ก็จะต้องแล้วแต่โอกาส  จังหวะเวลาก็มีความสำคัญเช่นกัน  การช่วยเหลือผู้อื่นนั้น  มีวิธีการมากมาย  ประมวลแล้วก็สามารถแยกออกได้  ๑๐  วิธีด้วยกัน  คือ

                                .  ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี

                                . รักและเคารพทุกคนอย่างเสมอหน้า

                                . สนับสนุนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความดีพร้อม

                                . ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดี

                                . ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในความคับขัน

                                .  กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

                                . อย่าทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์  ต้องหมั่นบริจาค

                                . ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม

                                .  เคารพผู้มีอาวุโสกว่า

                                ๑๐.   รักชีวิตผู้อื่นดุจรักชีวิตของตนเอง


ตอนที่    ประสบการณ์

บทที่ 

จริยธรรมในการบริหารงาน

ความคิดและปณิธานของผู้เขียน

                         ผู้เขียนคิดว่าพื้นฐานของจริยธรรมและคุณธรรมล้วนมาจาก  “ศีลธรรม”  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้นานแล้ว  หากได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามอย่างจริงจังจะมีแต่ประโยชน์สุข  ผู้เขียนสนใจปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่เด็ก  สนใจปฏิบัติทั้งด้าน  ทาน  ศีล  และภาวนา  เมื่อเรียนจบและเริ่มรับราชการเป็นนายทหารเมื่ออายุ  ๒๓  ปี  ก็มีการเข้าสังคมบ้าง  แต่ก็ไม่พยายามละเมิดศีล    เท่าที่จะหลีกเลี่ยงได้  จนเมื่ออายุได้  ๓๑ ปี  ได้ตั้งใจสมาทานศีล    ตลอดชีวิต  โดยตั้งปณิธานว่า  จะไม่ยอมให้ศีล    ด่างพร้อยแม้แต่น้อยนิดจนตลอดชีวิต

                         ผู้เขียนมีความศรัทธาและความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์  โดยเฉพาะหัวใจของพุทธศาสนา  ซึ่งได้แก่  อริยสัจสี่  และมรรคมีองค์แปด  จึงได้ดำเนินชีวิตทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตราชการตามแนวทางดังกล่าวตลอดมา  โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของชีวิตไว้ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้  นั่นคือ พยายามไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์  ในระหว่างที่ยังไม่ตายก็ใช้ร่างกายนี้ให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างสูงสุด  และเน้นการปฏิบัติที่  “จิตใจ”  เพื่อขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจเป็นหลัก  รวมทั้งเชื่อมั่นตามคำสอนของท่านพุทธทาสที่ว่า  “การทำงาน  คือ  การปฏิบัติธรรม”  ยิ่งทำงานมากยิ่งมีโอกาสปฏิบัติธรรมมาก  มีโอกาสสะสมความดีมาก  มีโอกาสขัดเกลา  “จิตใจ”  ได้มาก

                         ในฐานะข้าราชการ  ผู้เขียนมีความคิดว่า  เราเป็นข้าของพระเจ้าแผ่นดินที่ทำงานแทนพระองค์ท่าน  ถึงแม้จะอยู่จุดใดตำแหน่งใดในกองทัพ  ก็ถือว่าต้องทำงานแทนพระองค์ท่านให้ดีที่สุด  และมักระลึกถึงพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ภาพที่ทรงงานจนพระเสโทไหลย้อยที่ปลายพระนาสิก  ทั้งที่  พระองค์ท่านไม่จำเป็นต้องทรงงานตรากตรำขนาดนั้นก็ได้  ฉะนั้น  เราในฐานะข้าของพระองค์ท่าน  จึงควรปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มที่  เต็มเวลา  เต็มความรู้ความสามารถ  เพื่อมุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่

                         ในการรับราชการที่ผ่านมาเป็นเวลา  ๒๒  ปี  ผู้เขียนได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ทั้งในฐานะผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และฝ่ายอำนวยการ  ทั้งฝ่ายอำนวยการประสานงาน  และฝ่ายอำนวยการประจำตัว  และมีนิสัยชอบบันทึกคำแนะนำในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ  รวมทั้งการทำงานบางอย่างในชีวิตส่วนตัวไว้  เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังหรือผู้อื่น  ที่ได้รับมอบให้ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน  หรือจะทำงานส่วนตัวอย่างเดียวกัน  สำหรับเรื่องจริยธรรมและคุณธรรมในการปฏิบัติราชการนั้น  มีสอดแทรกอยู่ในบันทึกคำแนะนำ  เรื่อง  ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประสานงาน  และ  ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประจำตัว  ซึ่งได้คัดลอกมาเฉพาะส่วนที่อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องจริยธรรมและคุณธรรม  ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเป็นแนวทางหนึ่งของข้าราชการผู้หนึ่งเท่านั้น

ข้อที่พึงละเว้น

                         - ไม่นินทานาย หรือกล่าวถึงส่วนไม่ดีของนายให้ผู้ใดฟังทั้งสิ้น

                         - ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของนายให้ผู้อื่นทราบแม้คนใกล้ชิดในครอบครัวของเรา

                         - ไม่ปิดบังเรื่องใด ๆ กับนายแม้ความผิดของตัวเองก็ยอมรับผิดอย่างตรงไปตรงมา

                         - ไม่ฟ้องนายในเรื่องที่เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องทำผิดพลาด บางเรื่องกลับต้องออกรับหน้าแทนเสียเอง

                         - ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงานในทุกเรื่อง

                         - ไม่เห็นแก่ตัวเอาความดีใส่ตัวเพียงคนเดียว หรือโยนความผิดให้ผู้อื่น

                         - ไม่งอนหรือแสดงสีหน้าไม่พอใจนาย เมื่อนายใช้อารมณ์กับเรา

                         - ไม่เถียงนายต่อหน้าผู้อื่น ใช้วิธีขออนุญาตชี้แจงเมื่อไม่มีคนอื่นแล้ว

                         - ไม่ต้องให้นายสั่งไปเสียทุกเรื่อง

                         - ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของนาย

                         - ไม่ทำหรือส่งเสริมหรือสนับสนุนให้นายทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมายบ้านเมือง

                         - ไม่ประพฤติตนผิดศีลธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ, กฎหมายบ้านเมือง จนมีเรื่องเดือนร้อนมาถึงนาย

                         - ไม่รับสินบนหรือของกำนัลในลักษณะสินบนจากบุคคลอื่น

                         - ไม่ใช้หน้าที่และฐานะที่อยู่หน้าห้องนาย เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง หรือคนในครอบครัวในทางที่ไม่สมควร

                         - ไม่นำพวกพ้องหรือคนในครอบครัวมาเป็นภาระให้นายช่วยเหลือ

                         - ไม่ร้องขอความช่วยเหลือในเรื่องส่วนตัวใด ๆ จากนาย ยกเว้น นายยื่นมือเข้าช่วยเหลือเอง

                         - ไม่กีดกันบุคคลใด ๆ ไม่ให้เข้าพบหรือติดต่อกับนาย ยกเว้นบุคคลที่นายสั่งไว้ (ไม่หวงนาย)

                         - ไม่ตัดสินใจหรือออกความเห็นแทนนายในเรื่องที่บุคคลในหน่วยงานขอให้ถามนาย

                         - ไม่แก้หนังสือของหน่วยรอง และส่งกลับคืนเสียเองก่อนนำเรียนนาย

                         - ไม่ตอบนายว่า “ไม่ทราบ” อยู่เสมอ ๆ ควรใช้คำพูดว่า “ขออนุญาตไปตรวจสอบก่อน”

                         - ไม่ใช้โทรศัพท์ของนาย หรือเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้นายไปติดต่อเรื่องส่วนตัว

                         - ไม่ฉวยโอกาสแสวงประโยชน์ส่วนตัวจากบุคคลที่มาติดต่อกับนายหรือแขกของนาย

                         - ไม่เปิดเผยข้อราชการหรือการสั่งการของนายที่เป็นเรื่องลับ หรือเรื่องที่ไม่ควรเปิดเผยทั่วไป ให้แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง

                         - ไม่อ้างนายหรือคำสั่งนาย หรือทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นคำสั่งนาย ต่อผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน

                         - ไม่ขออนุญาตไปทำธุระส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของงานของนายในวันนั้น

ข้อที่พึงปฏิบัติ

                         - กล่าวสรรเสริญความดีของนายต่อบุคคลอื่นเสมอ (ถึงแม้มีส่วนที่ไม่ดีอยู่บ้างก็จะพูดเฉพาะส่วนที่ดี)

                         - รักษาความลับในเรื่องส่วนตัวของนาย

                         - กล้าพูด กล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็นทุกเรื่อง อย่างตรงไปตรงมา

                         - เสนอแนะนายในการดูแลสวัสดิการและความก้าวหน้าของเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง

                         - ทำใจให้พร้อมที่จะรองรับอารมณ์โกรธหรือถูกด่าว่า ถูกตำหนิจากนาย (บางคน) โดยไม่แสดงออกซึ่งความไม่พอใจ

                         - ชี้แจงเหตุผลให้นายทราบเมื่อนายอารมณ์เย็นลงแล้ว

                         - ดูแลต้อนรับผู้มาติดต่อกับนาย และแขกของนายอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องให้นายสั่ง

                         - ริเริ่มวาดภาพล่วงหน้าเสมอ สมมุติว่าถ้าเราเป็นนายเราจะต้องไปไหน ทำอะไรบ้างในวันนี้และพรุ่งนี้  ควรจะต้องรับรู้หรือเตรียมการอย่างไรบ้าง แล้วเราก็เตรียมแบบนั้นให้นายโดยไม่ต้องรอให้นายสั่งก่อนจึงทำ

                         - ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี การพูดติดต่อประสานงานกระทำด้วยวาจาสุภาพ แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ มีวินัยในการแสดงการเคารพ ไม่ถือตัวว่าอยู่หน้าห้องนายแล้วไม่ต้องไหว้ใคร ทำตัวให้ผู้อื่นชื่นชม

                         - ปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ ตามนโยบายของนาย เช่น ผู้ใดไม่ต้องการพูดโทรศัพท์ด้วย หรือไม่อยากให้เข้าพบ เป็นต้น ต้องรู้จักหาวิธีพูดปฏิเสธโดยนุ่มนวล ไม่ให้เขารู้สึกว่านายสั่งไว้

                         - หากตรวจพบข้อผิดพลาดในหนังสือที่จะนำเรียนนาย ควรนำกลับไปถามนายรองคนสุดท้ายที่เซ็นเสนอขึ้นมาให้ท่านตัดสินใจและรับผิดชอบดำเนินการต่อไป ไม่ควรติดต่อกับเจ้าของเรื่องโดยตรง ยกเว้นเป็นคำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ควรกวนนายรอง

                         - มาถึงที่ทำงานก่อนนายและกลับหลังนายเสมอ

                         - ใช้คำพูดที่เหมาะสมในการตอบผู้มาติดต่อในขณะที่นายพักผ่อนอยู่ หรือออกไปรับประทานอาหารกลางวันแล้วยังไม่กลับเข้าสำนักงาน

                         - รีบติดต่อแจ้งให้นายทราบทันทีที่นายใหญ่เรียกพบ หรือมีบันทึกสั่งการในหนังสือที่กลับลงมา

                         - ต้องเรียนรู้นิสัยใจคอของนายรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรพูด ควรทำหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร ในช่วงจังหวะเวลาใด

เทคนิคบางประการในการทำงานทั่วไป

                         - สร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ทส. และ นายทหารหน้าห้อง ผบช. ทุกระดับที่หนังสือจะต้องผ่าน

                         - มีของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ผอ.กอง และ กพ. ทุกคนในกอง เมื่อถึงวันเกิดหรือเทศกาลปีใหม่

                         - ถ้ารุ่นพี่โทรมาบอกว่าจะมาประสานเรื่องงาน จะเป็นฝ่ายเดินไปหารุ่นพี่เอง

                         - ใช้หลักธรรมะในการปฏิบัติงาน ที่ใช้ประจำได้แก่

                                * เราจะให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด ไม่อึดอัดขัดเคืองผู้ใด  หรือเรื่องใด

                                * เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่…

                                * แก้ที่คนอื่นยาก ต้องแก้ที่ใจเรา

                                * กรรมบท ๑๐ ได้แก่  กาย    (ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์  ไม่ประพฤติผิดในกาม)  วาจา  (ไม่พูดปด  ไม่พูดหยาบ  ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดเพ้อเจ้อ)  ใจ    (ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ผู้อื่น – โลภะ  ไม่ผูกอาฆาต – โทสะ  มีความเห็นถูกต้อง – โมหะ)

                         - ซื่อสัตย์ จริงใจต่อ ผอ.กอง และ นายทหารในกอง ถือหลัก รายงาน ผบช. ทุกเรื่องกระจายข่าวสาร แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนร่วมงาน

                   - รายงานเรื่องที่ทำการแทน ผอ.กอง ทันที่ที่ท่านกลับมา หรือเขียนโน้ตทิ้งไว้บนโต๊ะ ผอ.กอง

                         - เมื่อนายเรียก ผอ.กอง ช่วยคิดและคาดเดาว่าจะเป็นเรื่องอะไร เสนอแฟ้มอะไรขึ้นไปหรือสอบถาม ทส. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ ผอ.กอง เอาเรื่องเดิมมาให้ท่านทบทวน เสนอแนะจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหา และคำตอบหรือคำชี้แจง ผบช.

                         - รับการแสดงการเคารพของผู้อื่นด้วยความเคารพ ยิ้มแย้มแจ่มใส โค้งตอบนายทหารเมื่อเขาเงยหน้าแล้ว

                         - รักษาน้ำใจเพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น การแก้หนังสือ การรับประทานของว่าง

                         - ให้ความเห็นใจต่อความจำเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ถามทุกข์สุข ถามการเดินทางไป - กลับบ้าน เห็นใจไม่ใช้งานใกล้เวลากลับบ้าน

                         - ก่อนเวลางาน หรือพักเที่ยง หรือเกินเวลางาน ถ้ามีงานด่วนมักจะพิมพ์เองทำเอง แล้วลูกน้องเขาก็มาช่วยเอง

                         - ใช้คนให้เหมาะกับงาน รู้ว่าใครถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร สั่งแล้วทำไม่ถูก ใคร่ครวญดูว่าเขาเข้าใจผิดหรือเราสั่งไม่ชัดเจน

                         - พูดกับลูกน้องที่เกเร แบบสองต่อสอง สอบถามความจำเป็นส่วนตัว ขอให้คิดถึงส่วนรวมไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ไม่ด่าว่าต่อหน้าคนอื่น

                         - ไม่ทำลายบรรยากาศในสำนักงานด้วยการระบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง

                         - ขอโทษทุกคนเสมอทั้ง ผอ.กอง นายทหาร นายสิบ เมื่อความผิดพลาดนั้นเกิดจากเรา

                         - ให้เกียรติด้วยคำพูดต่อนายทหาร, นายสิบ ที่มีอายุมากกว่า แต่ไม่ให้เสียการปกครองตามสายการบังคับบัญชา

                         - ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างทุกเรื่องที่ นายทหาร, นายสิบ มักจะปฏิบัติย่อหย่อน เช่น การตรงต่อเวลาในการเข้าทำงานเช้า พักกลางวัน และเวลากลับบ้าน การไม่ใช้โทรศัพท์ราชการติดต่อเรื่องส่วนตัว การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของโต๊ะทำงาน การประหยัดไฟฟ้าด้วยการปิด - เปิดไฟ/เครื่องปรับอากาศ ตามเวลาที่กำหนด การไปร่วมฟังธรรมและทดสอบร่างกาย การไม่กู้หนี้ยืมสิน ไม่เล่นหวยใต้ดินในที่ทำงาน ไม่สวมรองเท้าแตะนั่งทำงาน สวมหมวกและเข็มขัดนิรภัย เมื่อแต่งเครื่องแบบขับรถยนต์ ใช้ห้องน้ำแล้วราดให้เรียบร้อยช่วยปิดก๊อกที่ปิดไม่สนิท ช่วยเก็บถ้วยจานที่ลูกน้องบริการของว่างบนโต๊ะทำงาน ช่วยปิดสำนักงานหน้าต่างประตูเมื่อจะกลับบ้าน เซ็นแฟ้มแล้วเดินเอาไปให้ลูกน้องที่โต๊ะรับ - ส่ง เรื่องเข้ากองเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ไปรับเรื่อง - ลงทะเบียนให้เอง รีบทำเรื่องด่วนทันทีที่เห็นไม่รอให้ลูกน้องนำมาให้ตามขั้นตอน เซ็นแฟ้มทันทีที่ลูกน้องนำมาวางไม่ให้เรื่องแช่อยู่ที่โต๊ะเรา ไม่ใช้ลูกน้องทำธุระส่วนตัวมากจนเกินควร

                         - ลูกน้องปฏิบัติไม่ถูกไม่เหมาะสมด้วยเรื่องใด ไม่ต่อว่าทันที ดูที่ตัวเราก่อนว่าสั่งผิดหรือเปล่า พูดหรือเขียนไม่ชัดเจนหรือเปล่า ถ้าตรวจสอบแล้วเราไม่ผิด จะใช้วิธีสอนและอธิบายในสิ่งที่ถูกให้ฟัง

                         - ไม่โทษลูกน้องเมื่อ ผบช. ตำหนิ เนื่องจากเอกสารผิดพลาดเพราะเราก็มีส่วนในการตรวจผ่านไป

                         - หน้าห้อง ผบช. แก้หนังสือเรา ถ้าเราผิดจริงยอมแก้โดยดุษณีและขอบคุณเขาที่ช่วยดูไม่โกรธ แต่ถ้าเขาผิด ขึ้นไปอธิบายให้ฟังหรือเขียนโน้ตชี้แจง ขออนุญาตยืนยันตามเดิมยกเว้นนายสั่งแก้

                         - เรื่องด่วนที่สุด สำคัญจริง ๆ ต้องรู้วิธีลัดขั้นตอน ทั้งการเสนอเซ็น และการให้ม้าเร็วไปส่งหนังสือถึงตัวผู้ดำเนินการต่อ ไม่ยึดติดกับระเบียบปฏิบัติจนเกินไป

                         - ให้เกียรติหน้าห้อง ผบช. ในการตรวจแก้หนังสือ ถึงแม้เขาจะมียศน้อยกว่า ถือว่าเขาช่วยไม่ให้หนังสือของหน่วยผิดพลาด

                         - ไม่แก้ร่างหนังสือของลูกน้องโดยฉีกทิ้งทั้งฉบับหรือร่างใหม่ทั้งหมด พยายามใช้กระดาษของเขาและข้อความของเขาให้มากที่สุด เพื่อรักษาน้ำใจและเสริมสร้างกำลังใจ

                         - การแก้ร่างหนังสือหากงานไม่ยุ่งมากจะพยายามแก้ไขร่างที่ลูกน้องเขียนมาทุกเรื่อง จะไม่ใช้วิธี “พูดอย่างเดียว”   ว่าให้ไปปรับอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้ลูกน้องไม่อึดอัดและบ่นในใจว่า “ก็ผมคิดได้แค่นี้ จะให้แก้อย่างไรก็เขียนมาสิ”  และเพื่อให้เขามีตัวอย่างเก็บไว้ดูด้วยว่าเราคิดอย่างไรเขียนอย่างไร

                         - สนับสนุนลูกน้องที่หารายได้พิเศษโดยสุจริต ไม่เบียดบังเวลาราชการจนเกินไป เช่น ช่วยซื้อของที่นำมาขายนอกเวลางาน ฯลฯ

                         - กล่าวชมเชยและขอบคุณลูกน้องเสมอ ๆ

                         - ดูแลให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานของลูกน้องอย่างเพียงพอไม่สั่งงานอย่างเดียว

                         - ใช้งานลูกน้องออกนอกหน่วย ให้ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน จยย. และใช้ในเส้นทางกลับบ้าน

                         - รีบแจ้งเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการปฏิบัติของ ผบช. ให้หน้าห้องทราบทางโทรศัพท์ในชั้นต้นก่อน แล้วจึงทำงานหนังสือ

ข้อคิดบางประการในการทำงานเกี่ยวกับการเงิน

                         ผู้เขียนได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาบางท่านให้ทำงานเกี่ยวกับการเงิน  ทั้งเงินส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาและเงินแก้ปัญหาของหน่วย  กับได้เคยสัมผัสกับเจ้าหน้าที่การเงินบางท่านในหลายหน่วยงานที่รับราชการผ่านมา  มีข้อคิดบางประการในการทำงานเกี่ยวกับการเงิน  ดังนี้

                         - มีความรู้สึกต่อเงินหลวงเสมือนหนึ่งเป็นผู้เก็บรักษาเศษกระดาษ (ไม่มีค่าสำหรับเรา)  แต่ต้องเก็บรักษาให้ดีเหมือนธนาคารรับฝากเงินคนอื่น

                         - เก็บเงินหลวงกับเงินส่วนตัวคนละกระเป๋า คนละบัญชี เพื่อป้องกันการครหา

                         - เงินแก้ปัญหาของผู้บังคับบัญชา ต้องสนับสนุนให้หน่วยเกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ไม่กำหนดข้อปฏิบัติด้านเอกสารยุบยิบเกินไป เพื่อมุ่งแต่จะป้องกันตนเองไม่ให้ถูกกล่าวหาว่า  ทุจริต  หรือไม่รอบคอบ

                         - ทำหน้าที่ถือเงินหลวง   ถ้าออกเงินให้กู้  (ถึงแม้จะเป็นเงินส่วนตัว)  จะทำให้ภาพพจน์เสียได้  อาจถูกมองว่า  นำเงินหลวงมาให้กู้กินดอก

                         - เจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยสร้างและบำรุงขวัญของข้าราชการในหน่วยได้ เพราะทุกคนย่อมต้องการได้รับเงินโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินตกเบิก เงินค่าเช่าบ้าน เงินค่ารักษาพยาบาล เงินค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ  ฉะนั้น พึงปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

                         - ข้าราชการบางคนติดภารกิจสำคัญไม่สามารถไปเซ็นรับเงินด้วยตนเองได้ อาจขอให้ผู้อื่นมาเซ็นรับแทน เรื่องนี้ถ้าพออนุโลมได้น่าจะให้รับแทนได้ ไม่ทำตัวเป็นไม้บรรทัดเหล็กตรงเป๊ะ

                         - ไม่ทำงานป้องกันตนเองจนเกินไป    โดยไม่คำนึงถึงภารกิจของหน่วยหรือความเดือนร้อนของข้าราชการในหน่วย

                         - ไม่ห่วงเรื่องส่วนตัวมากกว่างานในหน้าที่  เช่น  ลาหยุด    วัน  เพื่อดูหนังสือเตรียมสอบวิชาที่กำลังเรียนนอกเวลาราชการ  ทำให้งานในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ต้องชะงักล่าช้าไป    วัน  หรือบางครั้งเกินกำหนดส่งประจำงวดหรือประจำเดือน  กลายเป็นล่าช้าไปอีก    งวด  หรือ    เดือน

                         - ไม่สะสมเรื่องไว้ทำพร้อมกันครั้งเดียวหลายเรื่อง  ทั้งที่เรื่องนั้นสามารถแยกทำทีละรายได้ ทั้งนี้  เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ยื่นเรื่อง  ก่อน - หลัง

                         - ไม่เลือกปฏิบัติกับคนที่คุ้นเคยกันโดยทำเรื่องให้เร็วหรือทำเรื่องให้ก่อน  และไม่ดึงเรื่องของคนที่ไม่ชอบกันให้ช้า  ควรแยกความรู้สึกส่วนตัวกับบุคคลต่าง ๆ  ออกจากความรับผิดชอบงานในหน้าที่


สรุป

สรุปจากหลักการ

                         - จงเริ่มพัฒนาจริยธรรมของทหารอาชีพ  ด้วยความตั้งใจ  จริงใจ  เพื่อให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาให้ได้  ซึ่งจะมีผลต่อส่วนรวมที่ทำให้เจตจำนงของคนในชาติแข็งแกร่ง  และเกิดอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตนขึ้นได้จริง

                         - การที่จะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายอำนวยการที่ประสบความสำเร็จอย่างโปร่งใสได้  ต้องอาศัยปฏิบัติตามจริยธรรมของผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการ

                         - จริยธรรมต้องเริ่มต้นที่ความมีวินัย  แล้วมีสัจจะ  เมตตา  สามัคคี  จึงจะได้ชื่อว่า  เป็นคนมีทรัพยากรแห่งจริยธรรม

                         - คนที่มีจริยธรรมอยู่ในตนเท่านั้น  ที่สามารถทำให้ผู้อื่นมีจริยธรรมได้

                         - คนจะมีจริยธรรมได้ก็ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสและปฏิบัติตามหลักจริยธรรม  ไม่ใช่เพราะได้ศึกษาให้มีความรู้เท่านั้น

                         - พัฒนาจริยธรรมด้วยการลงมือทำ  ปฏิบัติธรรม  ไม่ใช่ด้วยการพูด  การสอนอย่างเดียว 

                         - ใช้จริยธรรมในการแก้ปัญหา  เช่น  ใช้หลักอริยสัจ    ฯลฯ

                         - ใช้จริยธรรมในการปกครอง  เช่น  ทศพิธราชธรรม  พรหมวิหาร    ยุติธรรม  ฯลฯ

สรุปจากประสบการณ์

                         - จริยธรรมต้องเริ่มที่  “จิตใจ”

                         - พื้นฐานของจริยธรรม  คือ  “ศีล”  ผู้รักษาศีลด้วยความตั้งใจจริง  จะเป็นผู้มีวินัยในตัวเองทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น  และจะก่อให้เกิดจริยธรรมโดยอัตโนมัติ

                         - การพัฒนาจริยธรรมให้งอกงามในตน  ทำได้หลายวิธี

                                .      ตั้งใจรักษาศีล    อย่างเคร่งครัด  เพิ่มเติมด้วยกรรมบท  ๑๐

                                .    เรียนรู้และปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาท

                                .     สำนึกความหมายของคำว่า  “ข้าราชการ”  อยู่เสมอ  และพยายามปฏิบัติตนเป็น

ข้าราชการที่ดี

                                .     ตั้งใจไว้ว่าจะไม่  คิด  พูด  ทำ  ในสิ่งผิดกฎหมาย  และวินัยทหาร

                                .     ใช้การขับรถเป็นโอกาสในการพัฒนาจริยธรรมได้ทุกวัน  อย่าปล่อยใจไปตามสังคม

 

 


จริยธรรมเชิงลบในการทำงาน  (แถมท้าย)

เรื่อง    ปรัชญาการทำงานให้เข้าตากรรมการ

(คัดลอกจากหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดกวน” ฉบับวันที่ ๒๘ ก..๔๓)

 

                         . อย่าเดินไปไหนมาไหนโดยปราศจากเอกสารในมือ คนที่มีเอกสารในมือจะดูเหมือนว่าเป็นคนสำคัญที่กำลังจะเดินทางไปประชุมอะไรสำคัญๆ ซักเรื่อง คนที่เดินไปไหนมาไหนโดยปราศจากเอกสารในมือจะถูกมองเหมือนว่ากำลังเดินไปหาอะไรกินที่โรงอาหาร หรือคนที่เดินไปไหนมาไหนโดยมีหนังสือพิมพ์ในมือ ก็จะถูกมองเหมือนกำลังจะไปนั่งอ่านมันในห้องน้ำ คุณต้องมั่นใจว่าคุณได้แบกเอกสารกองโตพอประมาณกลับไป (ทำที่) บ้าน เพราะมันจะทำให้ทุกคนเข้าใจผิดคิดว่าคุณให้เวลากับงานมากกว่าที่คุณทำจริง

                         . ทำงานกับคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คุณดูยุ่งยิ่งกว่าเดิม เมื่อใดก็ตามที่คุณใช้คอมพิวเตอร์ มันจะสร้างภาพลักษณ์ให้คุณว่าคุณคือคนทำงานตัวจริง คุณสามารถทำอะไรก็ได้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น การรับ – ส่ง Email ส่วนตัว การคำนวณสถานะทางการเงินของคุณเอง หรือทำอะไรตามอำเภอใจถึงแม้ว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานแม้แต่นิดเดียว เนื่องจากยังไม่มีผู้ใดออกมายืนยันหรือให้ทัศนคติถึงประโยชน์ที่มีต่อสังคมของการปฏิบัติเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แต่มันก็ไม่เลวนะถ้าจะนำมันมาใช้เพื่อการนี้ แต่เมื่อใดก็ตามที่เจ้านายคุณจับได้ว่าคุณกำลังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานเลย ข้อแก้ตัวง่าย ๆ ก็คือ คุณกำลังเรียนรู้การใช้ software ใหม่ด้วยตัวของคุณเอง ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้เพียบ

                         . ทำโต๊ะทำงานให้รกเข้าไว้ ผู้บริหารระดับสูงสามารถกลับบ้านได้โดยที่โต๊ะนั้นสะอาด แต่ถ้าพวกเราทำอย่างนั้นบ้างน่ะเหรอ มันก็ดูเหมือนว่าเราทำงานหนักไม่พอนะสิ พยายามหาเอกสารมากองไว้รอบๆ บริเวณที่คุณทำงาน  งานของปีที่แล้วก็สามารถนำมากองรวมกันไว้ดูเยอะๆ ได้นะ การกองควรจะทำให้สูงและกว้าง อ้อ ถ้าคุณรู้ว่าจะมีใครซักคนกำลังมาที่โต๊ะคุณเอาเอกสารที่คุณต้องการใช้ ไปฝังไว้ซักครึ่งหนึ่งของชั้นเอกสารที่คุณมี จากนั้นทำเป็นค้นหาเอกสารตัวนั้นตอนที่เขามาถึงพอดี

                         . ถ้ามีใครฝากข้อความถึงคุณ อย่าโทรกลับไปเด็ดขาด ไม่มีใครโทรหาคุณเพื่อที่จะเอาอะไรซักอย่างให้คุณโดยไม่ได้หวังอะไรจากคุณ พวกนั้นโทรมาเพราะว่าเขาต้องการให้คุณทำงานให้เขา คุณไม่มีทางรอดแน่ถ้าเป็นอย่างนั้น ตรวจสอบว่าใครบ้างที่ฝากข้อความถึงคุณ ถ้ามีใครฝากข้อความถึงคุณและมันดูคล้ายๆ กับว่าเขามาทวงงานที่ค้างเอาไว้ โทรกลับไปหาเขาตอนพักกลางวันระหว่างที่เขาไม่อยู่โต๊ะทำงานเพราะมันจะดูเหมือนว่า คุณน่ะทำงานหนักซะเต็มประดา และยังเป็นคนเคร่งคัดในหน้าที่ถึงแม้ว่าคุณจะเจ้าเล่ห์ขนาดไหนก็ตาม ถ้าคุณนำวิธีการตรวจสอบโทรศัพท์และการโทรกลับไปตอนเขาไม่อยู่ไปใช้อย่างฉลาด มันจะเป็นตัวช่วยเพิ่มความได้เปรียบให้แก่ตัวคุณ เพราะผู้ที่โทรมาจะล้มเลิกความตั้งใจหรือ หาทางออกทางอื่นที่คุณไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ข้อความที่ทำให้คุณรู้สึกดีก็คือ “ไม่ต้องสนใจข้อความที่ผมฝากไว้นะ ผมจัดการมันเรียบร้อยแล้ว“ ถ้าการฝากข้อความนั้นมีการจำกัดจำนวนข้อความพยายามทำให้มันเต็มอยู่เสมอ ทางหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ก็คือการไม่ลบข้อความใดๆ ออกเลย หรือถ้ามันจะต้องใช้เวลานานก็ส่งข้อความหาตัวคุณเองซักสองสามอันซิ คนที่โทรหาคุณก็จะได้ยินเสียงว่า “ขอโทษค่ะ ข้อความเต็มแล้ว” มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นพนักงานที่ทำงานหนักและเป็นที่ต้องการของเพื่อนร่วมงาน

                         . ทำตัวให้ดูเป็นคนหัวแข็งและไม่มีน้ำอดน้ำทน เพื่อทำให้เจ้านายคิดว่าคุณเป็นคนที่ยุ่งอยู่ตลอดเวลา

                         . ทำงานช้าหน่อย (ใช้ได้กับบางที่เท่านั้น) ออกจากที่ทำงานช้ากว่าคนอื่นเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เจ้านายยังอยู่ที่ที่ทำงาน ก่อนที่จะออกจากที่ทำงาน คุณอาจจะอ่านนิตยสารหรือหนังสืออื่น ๆ ที่คุณอยากอ่านแต่ไม่สามารถอ่านได้เนื่องจากไม่มีเวลาพอ แต่ต้องแน่ใจว่าคุณเดินผ่านห้องเจ้านายตอนที่คุณจะกลับบ้าน ส่ง E mail  สำคัญๆ ในช่วงเวลาที่ชาวบ้านเขาไม่ทำกัน เช่น สามทุ่มครึ่ง เจ็ดโมงเช้าและในวันหยุดต่าง ๆ

                         . ถ้ามีอะไรผิดปกติแหกปากออกมาดังๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่มีคนอยู่ใกล้ตัวคุณเยอะๆ เพื่อจะทำให้ทุกคนเห็นว่าคุณมีความกดดันสูง

                         . กลยุทธ์การสุม การสุมเอกสารบนโต๊ะอย่างเดียวอาจจะสร้างภาพลักษณ์ได้ไม่พอ วางหนังสือซักตั้งไว้ที่พื้น ขอยืมมาจากห้องสมุด ก็ได้ เลือกที่มันหนาๆ อย่างคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์จะดีที่สุด

                         . สร้างคำศัพท์ไปอ่านหนังสือประเภทนิตยสารคอมพิวเตอร์และหาศัพท์ที่ไม่รู้เรื่อง หรือสินค้าใหม่ๆ แปลกๆ มาคุยกับเจ้านาย จำไว้เลยว่าเจ้านายคุณไม่จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องที่คุณพูดคุณเพียงแต่ทำให้มันดูน่าประทับใจเท่านั้นเอง

                         ๑๐. สำคัญที่สุด อย่า Forward เรื่องนี้ไปให้เจ้านายคุณเด็ดขาด

 

 

 

 

 

 

 

               


เอกสารอ้างอิง

 

.      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  .. ๒๕๒๕

.    แนวสอนวิชาจรรยา  ของกรมยุทธศึกษาทหารบก  .. ๒๔๗๐

.     เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรเสนาธิการทหาร  เรื่อง  จริยธรรมของผู้นำหน่วยและฝ่ายอำนวยการระดับสูง  โดย  พล..บุญเยี่ยม  สาริมาน  .. ๒๕๓๖

.     เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรเสนาธิการทหาร  เรื่อง  หน้าที่นายทหารเสนาธิการและจริยธรรม  โดย  พล..บุญเยี่ยม  สาริมาน  .. ๒๕๓๖

.     แนวสอนวิชา  การจัดและการดำเนินงานของฝ่ายอำนวยการ  (นส.๑๐๑ - )   ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก  .. ๒๕๓๐

.     คู่มือข้าราชการ  ลูกจ้าง  ของกองทัพสหรัฐฯ  .. ๑๙๘๙

.     เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เรื่อง  คุณค่าใหม่ของข้าราชการ  การปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยม  .. ๒๕๔๒

.     เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เรื่อง   การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท  .. ๒๕๔๒

.     เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เรื่อง   คู่มือการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม  .. ๒๕๔๔

๑๐.   เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เรื่อง   มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการพลเรือน  .. ๒๕๔๓

๑๑.   เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เรื่อง   แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับจริยธรรมของข้าราชการ  .. ๒๕๔๓

๑๒.  เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เรื่อง   คู่มือการสอนจริยธรรมด้วยกรณีศึกษาและกิจกรรม  .. ๒๕๔๔

๑๓.  หนังสือเรื่อง  “โอวาทสี่ของท่านเหลี่ยวฝาน”  ถอดความโดย  เจือจันทน์   อัชพรรณ  .. ๒๕๔๓

 

 


ประวัติผู้บรรยาย

 

ยศ,ชื่อ,นามสกุล    พันเอก  เอนก   แสงสุก

ตำแหน่งปัจจุบัน    ประจำสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  กองบัญชาการทหารสูงสุด

การศึกษา        โรงเรียนสามัญ       โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร  สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 

โรงเรียนทหาร                 โรงเรียนเตรียมทหาร  เป็นนักเรียนเตรียมทหาร  รุ่นที่  ๑๖

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  เป็นนักเรียนนายร้อย  จปร.  รุ่นที่  ๒๗

สถาบันอื่น ๆ  ในประเทศ    โรงเรียนเสนาธิการทหารบก  หลักสูตรหลักประจำ  ชุดที่  ๖๖

วิทยาลัยเสนาธิการทหาร  หลักสูตรเสนาธิการทหาร  รุ่นที่  ๓๘

ตำแหน่งราชการสำคัญ     นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองเสนาธิการทหาร

ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองยุทธการ  กรมยุทธการทหาร

รองผู้อำนวยการกองอำนวยการศึกษา  กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

ผู้อำนวยการกองอำนวยการศึกษา  กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

ราชการพิเศษ    ปฏิบัติหน้าที่นายทหารเสริมกำลังพิเศษถวายอารักขา

ประวัติการบรรยาย            หลักสูตรฝ่ายอำนวยการของ  บก.ทหารสูงสุด    รุ่น

หลักสูตรนายทหาร  บก.ทหารสูงสุด  อาวุโส    รุ่น

หลักสูตรนายทหารการเงินชั้นนายพันของ  บก.ทหารสูงสุด    รุ่น

หลักสูตรนายทหารการเงินชั้นนายร้อยของ  บก.ทหารสูงสุด    รุ่น

หลักสูตรนายสิบการเงินอาวุโส    รุ่น

หลักสูตรเพิ่มพูนความรู้แก่นายทหารชั้นยศ  .. – ..  ของ  ยก.ทหาร    รุ่น

เรื่องที่บรรยาย                     ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประสานงาน

                                                การเขียนข้อพิจารณาของฝ่ายอำนวยการ

                                                จริยธรรมในการทำงาน

การติดต่อ  :  โทร. ๐ ๑๘๒๙ ๘๘๘๕   อีเมล :  anegsangsoog@hotmail.com