http://www.duangden.com
พลังรัก
 


***

ขณะนี้อาจกล่าวได้ว่า ประเทศ ไทยเรากำลังโหยหาพลังรัก พลังสามัคคี ของคนในชาติ เพราะการอยู่ร่วมกันด้วย ความรักนั้น เป็นสิ่งที่ดี พลังแห่งความรัก มีอานุภาพสูงที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ อย่างเอื้ออาทรต่อกันและมีสันติสุขในสังคม โดยเราสร้างพลังรักได้ง่าย ๆ จากการ รักครอบครัว รักหน่วยงาน รักชาติ และ รักในหลวงของเรา

รักแรกคือ “รักครอบครัว” ท่านปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ ได้แสดงปาฐกถาธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า เราควรจะรักครอบครัวของเรา เพราะเราอยู่ เป็นครอบครัว เป็นวงศ์สกุล แล้วก็รวมเป็น ชาติ เป็นประเทศ เราจึงต้องเสียสละความสุข ส่วนตัว เพื่อประโยชน์แห่งความสุขส่วนรวม คือ ครอบครัว เช่น “สามีภรรยาอยู่ด้วยกัน ต่างคนต่างอยู่เพื่อกันและกัน สามีก็อยู่เพื่อ ภรรยา ภรรยาก็อยู่เพื่อสามี มีลูกมีเต้า เราก็อยู่เพื่อลูกต่อไป ทำอะไรทุกอย่าง เพื่อลูก...” เราควรจะอธิษฐานใจ เมื่อเรามี ครอบครัวว่า เราจะรักครอบครัว ขณะเดียวกัน ลูกก็ต้องรักครอบครัว โดยตอบแทนบุญคุณ ของพ่อแม่ด้วยการเรียนหนังสือและประพฤติดี ประพฤติชอบ เป็นคนดีต่อไปในอนาคต ความรักเช่นนี้จะนำไปสู่การมีครอบครัวที่อบอุ่น

รักที่สองคือ“รักหน่วยงาน” นับว่า เป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อทุกคนถึงวัยทำงาน ก็ต้องเข้าไปทำงานยังหน่วยงานต่างๆ ก็จะได้ รับการเรียนรู้และการสอนงานจากคนรุ่นก่อนๆ ทั้งในด้านความประพฤติและด้านการปฏิบัติงาน ดังนั้น เราจะต้องตอบแทนบุญคุณของ หน่วยงาน ด้วยการประพฤติตนเป็นคนดี ขยัน หมั่นเพียร ทำงานอย่างเต็มกำลังความรู้ ความสามารถ อย่างไรก็ดี การมีความรักและ ความผูกพันกับหน่วยงานและเพื่อนร่วมงาน มากเกินไป และสนับสนุนเพื่อนพ้องจน เกินพอดี อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้ง และความไม่เป็นธรรมขึ้นได้ในสังคม และอาจ เป็นผลให้ขาดความสามัคคีในการปฏิบัติงานได้

รักต่อมาคือ “รักชาติ” เป็นเรื่องที่มี ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการที่ประชาชน คนไทยได้อยู่อาศัยบนผืนแผ่นดินไทยที่มี ความสงบสุขและมีความอุดมสมบูรณ์มาจน ทุกวันนี้ก็เพราะเรามีบรรพบุรุษผู้กล้าหาญ ได้แสดงความรักชาติด้วยการเสียสละ เลือดเนื้อและชีวิต ปกปักรักษาแผ่นดินนี้ไว้ ด้วยเหตุนี้ คนไทยทุกคนจึงควรทดแทน บุญคุณของแผ่นดิน เช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษ ของเราได้เสียสละ มาแล้ว

การทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน เพื่อแสดงความรักชาตินั้น ประการแรก ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ใครมีหน้าที่อะไร ก็ให้มุ่งปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต อุทิศกายและใจ เพื่อให้เกิด ผลงานที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลดีเป็น ประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวมในที่สุด ประการที่สอง ในขณะที่บ้านเมืองของเรา กำลังเผชิญกับปัญหาร้ายแรงต่างๆ อยู่ในขณะนี้ ได้แก่ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาการเมือง ปัญหาความไม่สงบใน สามจังหวัดชายแดนใต้ ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติและปัญหา สารพัดที่กำลังบ่อนทำลายความสามัคคีของ คนในชาติคนไทยทุกคนจะต้องช่วยกัน เป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแลระแวดระวังภัย มิให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง พบเห็นสิ่งใดที่ ผิดปกติจะต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ได้รับทราบ เพื่อจะได้หาทางป้องกันไม่ให้ เกิดเหตุร้ายในบ้านเมืองของเรา ประการที่สาม ผู้ที่รักชาติรักบ้านเมือง ต้องช่วยกันรักษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และ ค่านิยมที่ดีงามเอาไว้ให้เป็นที่เชิดหน้าชูตา ของบ้านเมือง และเป็นภูมิคุ้มกันสังคมไทย ไม่ให้ถูกทำลายจากกระแสวัตถุนิยมซึ่ง กำลังครอบงำคนไทยและสังคมไทยอยู่ ในขณะนี้ ประการที่สี่ ต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ คือ การตระหนักถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ยิ่งกว่าผลประโยชน์ส่วนตน ด้วยการเสียสละ อาสาเข้าไปรับใช้สังคมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการให้ความร่วมมือกับทางราชการ ถือเป็นการทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน อย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความรักชาติ รักบ้าน เมืองของคนไทย เพราะสิ่งที่ทางราชการ ขอความร่วมมือนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ จะทำให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย และเข้มแข็งมั่นคง ดังเช่นความร่วมมือกับ ทางราชการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหา ยาเสพติด การป้องกันและแก้ไขปัญหา การทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งการช่วย ประหยัดพลังงาน เป็นต้น

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวได้ทรงปลุกใจให้คนรักชาติอยู่เสมอ โดยผ่านทางบทพระราชนิพนธ์ปลุกใจ ให้รักชาติและมีความกล้าหาญที่จะยอมตาย เพื่อชาติได้ ดังนี้

หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤา
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย
ใครราน ใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม

นอกจากนี้ ยังมีพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่อง “ความดีมีชัย” ตอนหนึ่ง ความว่า “จงอย่าได้มีเวลาเสื่อมคลายความรัก ใคร่ชาติบ้านเมืองของเรา พึงอุตส่าห์ตั้งใจ ไว้ว่า จะรักษาความเป็นไทยแห่งชาติ บ้านเมืองของเราไว้ มิให้มีเวลาย่อหย่อน แม้แต่นิดหนึ่งเลยเป็นอันขาด”

รักที่สำคัญที่สุดที่พวกเราเทิดทูน ไว้เหนือเกล้าฯ ก็คือ “รักในหลวง” การที่ประชาชนรักในหลวง ก็เพราะตระหนัก ดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรัก และห่วงใยพสกนิกรของพระองค์อย่างที่สุด เห็นได้จากพระปฐมบรมราชโองการที่ พระราชทานไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดิน โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม” สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักอาณาประชาราษฎร์ ได้แก่ภาพที่เจนตาและประทับใจพสกนิกร ชาวไทยเสมอมา คือ ในหลวงของประชาชน ยามเสด็จไปทรงงานในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ อุปกรณ์ทรงงานที่ติดพระองค์ อยู่ตลอดเวลา ได้แก่ แผนที่ เอกสารข้อมูล กล้องถ่ายรูป และกล้องส่องทางไกล พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราช-กรณียกิจต่างๆ เพื่อบ้านเมือง โดยไม่เห็นแก่ ความเหน็ดเหนื่อยพระวรกายนับตั้งแต่ ขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบันเป็นเวลายาวนาน ถึง ๖๐ ปี “พระองค์รับสั่งกับข้าราชบริพารว่า “การเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นต้องเป็น ๒๔ ชั่วโมง พระองค์ทรงอยู่บนยอดปิรามิดของสังคม แต่ปิรามิดในประเทศไทยนั้นเป็น ปิรามิดหัวกลับ หมายความว่า พระองค์ท่าน ทรงอยู่ด้านล่าง เพื่อรองรับปัญหาทุกๆ อย่างของประชาชน“ และทรงตักเตือนบรรดา บุคคลที่ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทใน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ อยู่เสมอว่า “ความทุกข์ของประชาชนนั้น รอไม่ได้” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานสัมภาษณ์ ในหนังสือ “ในหลวงของเรา” ว่า “เวลาที่ทรง พระสำราญ คือ เวลาที่เสด็จออกวางโครงการ พัฒนาประเทศและเห็นว่า แนวพระราชดำริ จะบังเกิดผลต่อประชาชนกับอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การที่ได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนมีน้ำใจ ต่อพระองค์ และคนไทยด้วยกันเอง...”

ในหลวงของเราทรงอุทิศเวลาและ น้ำพระราชหฤทัยเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ในทุกถิ่นที่และทุกเวลาโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริทั้งหมดมีมากกว่า ๓,๐๐๐ โครงการ ซึ่งได้รังสรรค์ความผาสุขร่มเย็น บนผืนแผ่นดินไทย ขจัดปัดเป่าปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ปัญหาที่ทำกิน การเสื่อมสูญ ทรัพยากรธรรมชาติ การให้โอกาสทาง การศึกษา พัฒนาอาชีพ กระจายรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตและปรับปรุงมาตรฐาน การใช้เทคโนโลยีให้ก้าวทันกระแสโลก พระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชาติไทยนั้น ยิ่งใหญ่เป็นล้นพ้น

ในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต ของราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานานัปการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตราษฎร โดยมี พระราชประสงค์ที่จะวางพื้นฐานให้ราษฎร ทั้งปวง สามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด แนวทางเช่นนี้แฝงเร้นเป็นปรัชญาหลัก ในโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริต่างๆ ทั้งยังเชื่อมโยงสอดคล้องกับทิศทางของแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘ ซึ่งระบุให้ยึด “คน” เป็นหลักในการพัฒนา และพัฒนาโดยมีแนวคิดแบบบูรณาการ คือ การพัฒนาที่มีพื้นฐานของการมีส่วนร่วมกัน เพื่อวางแผนกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
แผนพัฒนาของพระองค์มุ่งสร้าง ความเข้มแข็งให้ชุมชนก่อนในลักษณะของ การพึ่งตนเอง ทรงใช้คำว่า “ระเบิดจาก ข้างใน” ซึ่งหมายถึงการทำให้ชาวบ้านชุมชุน หมู่บ้านมีความเข้มแข็งเสียก่อน แล้วจึงค่อย ออกมาสู่สังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านซึ่งยังขาดความพร้อม ด้วยเหตุนี้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริส่วนใหญ่ จึงเน้นการ “พัฒนาคน พัฒนาความรู้” พร้อมๆ กับการลงมือแก้ปัญหาด้านการ ทำกินและคุณภาพชีวิตเมื่อ “คน” ได้รับ การพัฒนาแล้ว ลำดับขั้นต่อไป คือ การ พัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง อาจกล่าว ได้ว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเกษตรแทบทั้งหมด มีโครงสร้างภายในเพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการพึ่งตนเองของชุมชนโดยเฉพาะ ถ้าชุมชนเข้มแข็ง รู้จัก พึ่งตนเองแล้ว การแสวงหาความร่วมมือจากภายนอก ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ตรงกันข้าม กลับเป็น ความสามัคคีร่วมมือกันสร้างสรรค์ และพัฒนา ท้องถิ่นให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

พลังใจในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ พลังที่เกิดจากความรักชาติ รักประชาชน กับพลังที่เกิดจากความรักในพระราชกรณียกิจ หรือการงานที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ

สำหรับความรักชาติรักประชาชน นอกจากที่เราทุกคนได้เห็นประจักษ์จาก พระราชกรณียกิจต่างๆ ในการพัฒนาชนบท ที่ห่างไกลและช่วยเหลือประชาชนแล้ว บทเพลงพระราชนิพนธ์ เช่น แผ่นดินของเรา หรือความฝันอันสูงสุด ยังได้สะท้อนพระราช ประสงค์ของพระองค์ที่ต้องการให้คนไทย ทุกคนรักชาติและเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่าง พร้อมเพรียงด้วย และกระแสพระราชดำรัส ที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ก็มักจะเป็นเรื่อง ความรัก ความภาคภูมิใจในชาติบ้านเมือง ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มแห่งความสามัคคีและ เสียสละเพื่อประเทศชาติ

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจมากมาย เพื่อชาติและประชาชน ทำให้พสกนิกร ชาวไทยได้พร้อมใจกันแสดงความรักในหลวง แม้จะแสดงออกโดยคำพูด การสวมสายรัด ข้อมือ หรือสวมเสื้อสีเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์ การครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี หรือ ข้อความว่า “เรารักในหลวง” เท่านั้นยังไม่เป็น การเพียงพอ ประชาชนคนไทยจะต้องนำ ความรักความศรัทธาที่มีต่อพระองค์มาเป็น พลังในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามต่อสังคม เพราะคนไทยทุกคนล้วนแล้วแต่จงรักภักดี ต่อในหลวงด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่ค่อยจะได้ แสดงความรักออกมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เราได้ฟังพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์เป็นประจำ และได้อ่านหนังสือที่มีการพิมพ์แจกจ่าย กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งปรัชญาและ แนวทางปฏิบัติในการดำเนินชีวิตครอบคลุม ในทุกด้าน ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ไม่ว่า จะเป็นหน่วยงาน หรือประชาชนคนธรรมดา อาทิ ในเรื่อง รู้รักสามัคคี เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา การยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และความถูกต้องเป็นธรรม การยึดมั่นใน ผลประโยชน์ของแผ่นดิน และ มีความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

***

ที่มา: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

Google
 

 

 
 
 
© Webpage Designed by thaicadet.org // Last Updated. Tuesday 26 July, 2011 11:15 PM