THAI CADET : กวดวิชาเข้าเตรียมทหาร ผลงานวิชาการ ที่ 1 เหล่าทหารบก ปี 2558
Home
Facebook
YouTube
Instagram
Line
Mail
 

 
 
เจาะชีวิตนักเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศ
 
ขอบพระคุณ : ข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์ Mthai
หมายเหตุ : เนื่องจากเป็นบทสัมภาษณ์หลายปีแล้ว
ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางประการไปตามกาลเวลา ... อ่านไว้เป็นข้อมูลครับ
 

ไม่ไกลกันนัก ระหว่าง Center Point ใจกลางสยาม ที่มีวัยรุ่นจำนวนมากใช้เวลาทั้งที่เหลือในเย็นวันศุกร์ (และอาจจะไม่เหลือ แต่เอามาใช้) มาเดินเล่น แต่งตัวเปรี้ยวปรี๊ดส์.. ดูแล้วสดใสมีความกล้ากันขึ้นกว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกันหากเดินไปด้านนอกริมถนนตรงป้ายรถเมล์ อาจจะเห็นเด็กผู้ชายวัยรุ่นประมาณเรา แต่แต่งตัวในเครื่องแบบ ยืนตัวตรงเหมือนรักษาระเบียบแถวอยู่ตลอดเวลา

จะมีใครสงสัยในความเข้มงวดของนักเรียนทหารเหล่านี้เหมือนเรา I-mono บ้างมั๊ย ?

เอาน่า ! Teen Society Issue นี้ขอสนองความกระหายความอยากรู้ของตัวเอง ประกอบกับถ้าคุณได้อ่านคอลัมน์นี้จนจบ เชื่อว่า..หลาย ๆ คนที่ (อาจจะ) ไม่เคยอยากจะรู้ จะต้องประทับใจกับคำว่า "อุดมการณ์" และ "หาญกล้า" ของเหล่านักเรียนในรั้ว (สีเทา) ของชาติกลุ่มนี้แน่นอน

มารู้จักโรงเรียนนายเรืออากาศกัน

ที่นี่สอนระเบียบวินัย สอนความเป็นผู้นำให้กับนักเรียนทุกคน นอกเหนือจากการเรียนที่เหมือนกับการเรียนระดับอุดมศึกษาทั่วไป แต่จะมีเพิ่มเรื่องวิชาทหาร วิชาการบินทั่วไป ซึ่งถ้าเราเรียนจบแล้ว ที่นี่จะมีปริญญาบัตรสองประเภทครับ คือวิทยาศาสตร์ กับวิศวกรรมศาสตร์ โดยแบ่งเป็นวิทยาศาสตร์ 2 สาขา วิศวกรรมศาสตร์ 6 สาขา แม้จะยังไม่ได้ฝึกบินของจริง แต่ทุกคนจะได้รับการสอนพื้นฐานเกี่ยวกับการบินที่นี่ นักเรียนทั้งหมดมี 5 ชั้นปี ก่อนเข้ามาเราต้องไปเรียนรวมกัน 4 เหล่าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร 2 ปีจบแล้วก็มาเรียนที่โรงเรียนนายเรืออากาศตั้งแต่ปีที่ 1 - 5 รวมทั้งหมดก็ 5 ปี (นานเหมือนกันนะ...แต่ก็คุ้ม)

 

นอกเหนือจากด้านวิชาการละ ?

ก็มีกิจกรรมหลายอย่าง ที่นี่มีชมรมเยอะมาก และส่วนมากที่ตั้งมาแรก ๆ มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อผูกสัมพันธไมตรีระหว่างนักกีฬาแต่ละเหล่านักเรียน ทหาร หลัง ๆ มาก็ออกไปแข่งมหาวิทยาลัยบ้าง อะไรบ้าง ก็ได้เพื่อนมาเยอะแยะมากมาย และบางชมรมก็ออกไปพัฒนาสังคม เช่นอาสาพัฒนา ไปค่าย สร้างโรงเรียน ชมรมนี้ส่วนมากจะสมัครใจไป ไม่ตายตัวสมาชิก ส่วนชมรมที่ออกไปโชว์บ่อย ๆ ก็มี Fancy Drill เล่นปืน เล่นกระบี่ ท่าอาวุธประกอบดนตรี มีกระบี่กระบอง โชว์ตามงานต่าง ๆ งานวันเด็ก อย่างสิ้นปีมีสวนสนามราชวัลลภ เราก็ต้องส่งกองพันนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์เข้าร่วม แล้วโดยเฉพาะปีนี้กองทัพอากาศเป็นเจ้าภาพจัดแสดงก่อนเวลา งานจะมีทุกปีแต่ปีนี้โรงเรียนนายเรืออากาศเป็นฝ่ายจัดงาน บรรยากาศก็จะเป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์แต่จะมีแค่นักเรียนนายร้อย ทหารและตำรวจเท่านั้น โดยปีนี้จะจัดพิธีเปิดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(รังสิต)ตั้งแต่วันที่4 กรกฎาคม2546เป็นต้นไป ถ้าใครสนใจก็ไปให้กำลังใจหนุ่มหล่อรั่วของชาติเหล่านี้ได้...(ฝ่ายประสานงาน โรงเรียนนายเรืออากาศฝากบอกว่างานนี้การเปิดตัวใหญ่และสวยงามมาก)

 

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็น นนอ.

ก็คือต้องเรียนจบ ม.4 มาก่อน (ข้อมูลเก่า) แต่ในปีต่อไประบบการศึกษาใหม่จะต้องเรียนเตรียมทหาร 3 ปี จบ ม.4 แล้วเอาวุฒิมาสมัคร จะมีสอบคัดเลือก 5 วิชาคล้าย ๆ เอนท์ทรานซ์คือมีภาษาไทย คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ จะต่างกันตรงที่ไม่มีชีววิทยา สังคม

 

 

จำนวนที่รับในแต่ละปี

เฉลี่ย ๆ ปีนึงรับ 100 คน ที่ผ่านมาสมัคร 18,000 คน ตอนนี้เหลือร้อยเดียว นอกจากผ่านการสอบ 5 วิชาในรอบแรกแล้ว ต้องสอบรอบสองด้วย คือมีพละศึกษา ว่ายน้ำ วิ่ง ดึงข้อ ดันพื้น ซิตอัพ นั่งยืดตัว และสอบสัมภาษณ์เป็นด่านสุดท้าย นอกจากนี้ ร่างกายก็ต้องพร้อม โดยมีตรวจร่างกาย และสูง 160 ซม.ขึ้นไป

 

จบแล้วส่วนใหญ่มีเป้าหมายไปทำอะไรกันต่อ

เป็นนักบิน โรงเรียนเราจะมีสองส่วน ส่วนหลักคือนักบินของกองทัพอากาศจะรับจากนักเรียนนายเรืออากาศโดยตรงเท่า นั้น อีกส่วนหนึ่งเราจะมีให้ไปเป็นนักบินการบินไทยด้วย ตกปีละประมาณ 10-15 คน ส่วนที่เหลือก็จะแยกไปตามกรมกองต่าง ๆ ตามวิชาที่เรียนมา

 

จาก ข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะรู้กันบ้างแล้ว แต่ต่อจากนี้ จะเข้าถึงในรั้วโรงเรียนที่หลาย ๆ คนฟังแล้วจะต้องทึ่ง

ที่แน่นอนในเรื่องระบบรุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่นี่เราเป็นโรงเรียนทหาร เราจะฝึกการบังคับบัญชาไปด้วย คือ นักเรียนนายเรืออากาศชั้นปีที่ 5 ก็จะทำหน้าที่เป็นนักเรียนปกครองคือควบคุมระเบียบวินัยให้รุ่นน้องและเพื่อน ให้ปฎิบัติตามระเบียบวินัยของโรงเรียน ที่เห็นกันชัด ๆ ก็คือตามธรรมเนียมรุ่นน้องเจอรุ่นพี่ก็จะต้องทำความเคารพก็เป็นปกติของนาย ทหารอยู่แล้ว เราจำลองชีวิตการเป็นทหารจริงมาอยู่ที่นี่ คือจำลองชั้นยศมาเป็นชั้นปี ในการเข้าแถวของทหารจะต้องมีผู้ควบคุมแถว ก็คือเราจะมีคนคุมแถวคอยสั่งแถว สั่งการ แม้แต่ไม่ใช่ในชั้นปีเราทั้งหมด แต่หากจะเป็นการจับกลุ่มเดินไปไหนในโรงเรียนจะต้องมีคนนึงออกมาจัดแถวตลอด เวลา

 

การซ่อมน้อง
เค้าเรียกว่าการปรับปรุงวินัยครับ อย่างปีหนึ่งก็ปกติจะเจอหนักหน่อย ตามการฝึกการเรียนรู้แล้วชั้นปีที่หนึ่งจะเป็นชั้นอาวุโสต่ำสุด โดยให้เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเดียว เราฝึกให้น้องเป็นผู้ตามก่อน เพราะการจะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น จะต้องเป็นผู้ตามก่อน ขึ้นปีที่ 2 เราก็เริ่มผ่อนออกมาขึ้น ให้แสดงความคิดบ้าง สามารถดูระเบียบวินัยชั้นปีที่หนึ่งได้ คือถ้าจริง ๆ แล้ว เราจะดูแลชั้นอาวุโสที่ต่ำกว่า แล้วก็มีชั้น 5 ที่เป็นชั้นปกครองที่จะดูแลโดยตรง ก็คือนักเรียนบังคับบัญชาเป็นตำแหน่งใหญ่ อย่างเช่นในกองพันก็จะมีหัวหน้ากองพัน หัวหน้ากองร้อย ในกองพันเราจะมีอัตราอยู่ว่า บางคนจะอยู่ที่หมวดหนึ่ง กองร้อยสอง กองพันที่หนึ่งเป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะมีหัวหน้าหมวด หัวหน้าหมวดก็จะรับผิดชอบตรงนี้โดยตรงก็คือรับผิดชอบหมวดหนึ่ง กองร้อยสอง แล้วก็จะมีหัวหน้ากองร้อยรับผิดชอบหมวด สมมติมีสองหมวดก็ดูแลทั้งสองหมวด แล้วก็จะมีหัวหน้ากองพันอีกหนึ่งคน

 

ยิ่งชั้นสูงขึ้น ก็จะได้สิทธิ์มากขึ้น?

จะมีการแบ่งอย่างชัดเจน อย่างปีห้า กางเกงชุดพละชั้นอื่น ๆ ก็จะเป็นสีน้ำเงิน แต่ถ้าเป็นชั้น 5 ก็จะเป็นสีขาว อย่างชุดฝึก ถ้าพับแขนและหมวกแบบนี้คือชั้น 4 และ 5 ขั้น 3 ก็จะเป็นแขนยาวแต่หมวกใบนี้ แต่ชั้น 2 และ 1 ก็จะเป็นแขนยาวแต่หมวกจะเป็นไฟเบอร์ คล้าย ๆ หมวกเหล็ก นอกจากนี้ยังมีถนนที่พวกเราเรียนกว่า "ถนนเกรียติศักดิ์" ที่มีไว้สำหรับชั้น 5 เดินเท่านั้น ชั้นอื่นต้องเดินอ้อม ไม่มีสิทธิ ถึงแม้ว่าตึกจะอยู่ตรงนั้นก็ต้องเดินอ้อม

 

การให้สิทธิ์รุ่นน้อง

อยู่ที่รุ่นพี่จะเป็นคนกำหนดเอง ว่ารุ่นน้องมีความประพฤติที่ดีแล้ว โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนควบคู่กัน 1. ระยะเวลา 2. ความประพฤติเหมาะสมที่จะได้รับสิทธิ์นั้นแล้ว อย่างเช่น ชั้น 1 การเคลื่อนที่ในโรงเรียน ชั้น 1 จะต้องวิ่งอย่างเดียว แล้วอะไรที่มันไม่ตรงแล้ว (เช่นเจอทางเลี้ยว) จะต้องเตะฉากก่อน คล้าย ๆ สวนสนาม มันไม่ใช่แสดงถึงว่าเป็นการบังคับ หรือแสดงคำสั่งแต่อย่างใด แต่มันแสดงถึงความรับผิดชอบต่อตัวเอง ว่าคุณนั้นให้เกียรติตัวเองรึเปล่า มันไม่จำเป็นจะต้องมีคนมาดู หรือมีพี่คุมอยู่ตรงนั้น ถ้ามีความซื่อสัตย์กับตัวเองได้ ก็ซื่อสัตย์กับประเทศชาติได้ เราจะเรียกว่าระบบเกียรติศักดิ์ (อันนี้ I-mono ยืนยัน เพราะในขณะที่ทีมงานยืนปรึกษาผู้บังคับบัญชาแม้ท่านไม่ได้มองอยู่หรือหัน หลัง เราเห็นเต็ม ๆ นักเรียนทุกคนต่างเคารพในเกียรติของตนเองที่จะมีความสัตย์ในการปฏิบัติตาม กฎ)

 

มีอะไรที่เป็นกฎแล้วมันทำให้รู้สึกว่าเกินพอดีบ้างมั๊ย ?

ตอนเป็นชั้น 1 อาจจะมีความรู้สึกนี้ แต่ผมอยู่จุดนี้ (ชั้น 5) เวลามาคุยกันก็จะเป็นเรื่องขำขัน เฮฮากันไป มันผ่านมา อย่างตอนปีหนึ่งบางสิ่งบางอย่างเราไม่เข้าใจว่าเค้าให้ทำทำไม แต่พอเราอยู่ปี 5 เราจะรู้ว่าที่เราโดนแบบนั้นเพราะอะไร การกระทำทุกอย่างล้วนมีเหตุผล ตอนเป็นเด็กก็มีมุมมองอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมันก็เหมือนการเดินข้ามถนนหนะครับ ตอนเป็นเด็กก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไมผู้ใหญ่จะต้องบอกให้ระวังอยู่เรื่อย ทั้ง ๆ ที่เราก็พอจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร มั่นใจ แต่พอเค้าเป็นผู้ใหญ่ เค้ามองเห็นเด็กข้ามถนน เค้าก็จะต้องเตือนเหมือนกัน เพราะเค้าเป็นห่วง ก็แสดงว่าโตขึ้นก็จะรู้เอง ว่าสิง่ที่ทำไปนั้นเพื่ออะไร มันมีเหตุผลอยู่ครับ

 

ชีวิตที่ต้องอยู่ประจำ

อยู่ที่โรงเรียนวันจันทร์-ศุกร์ กลับบ้านเย็นวันศุกร์ และจะกลับเข้าโรงเรียนสองทุ่มของวันอาทิตย์ เวลาเข้ามาก็จะรวมพลเช๊คยอดตอนสองทุ่ม ว่าเข้ามาครบยัง ถ้าช้าก็จะมีโทษกำกับ โดยจะถือว่าเป็นคนที่ไม่ตรงต่อเวลา กลับบ้านก็ไปเที่ยวบ้าง ถ้าเครียดมีมาดตลอด 24 ชม.ตายแน่นอน แต่มันก็ไม่ได้ขนาดนั้น แต่มันฝังไปในใจไปแล้วมากกว่า

 

แบบที่เห็น ๆ กันภายนอกตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า

เครื่องแบบมีทั้งหมด 13 แบบ มีบางชุดที่ไม่ใช่ของส่วนตัว เช่นชุดราชวัลลภครึ่งยศ ชุดเต็มยศรักษาพระองค์ ชุดเหล่านี้จะใช้วันที่ถวายคำสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล หรือที่เรียกว่าพิธีสวนสนามราชวัลลภ ก็คือว่าถ้าจะใช้ช่วงนั้นก็เบิกมาใช้ ชุดนี้ที่อยู่กับเค้า ส่วนใหญ่ก็อยู่ที่เรา นอกจากนี้กระเป๋าก็มี 3 ใบคือ 1.กระเป๋าศึกษาที่ใส่หนังสือไปเรียน กระเป๋ากลับบ้านก็จะเป็นกระเป๋าเจมส์บอนด์ ถุงบิน (กระเป๋าผ้า) เอาไว้ใส่หนังสือใหญ่ ๆ หรือใส่เสื้อผ้าที่จะเอาไปแก้ ส่วนเรื่องทรงผมก็ตามสิทธิ์แต่ละชั้นปี จริง ๆ ตอนชั้นหนึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นหัวเกรียนก็ได้ แต่ชั้นหนึ่งต้องฝึกค่อนข้างหนัก ถ้าเราจะต้องมามัวพะวงดูแดทำความสะอาดก็จะเสียเวลา ตามกฎนั้นไม่ได้มี แต่ถ้าเกิดให้ปล่อยไว้ยาว ๆ ฝึกหนัก ๆ มันก็จะเป็นผลร้ายเอง เช่นกลิ่น (พิสูจน์มาแล้วคะ)


บนขวา : นนอ.กรกฎ โรจนวิภาต (แม็ค) ชั้นปีที่ 4 วิศวกรรมอากาศยาน
ล่างซ้าย : นนอ.อิศรพงษ์ วิศาลวัชร (เติ้ล) ชั้นปีที่ 5 วิศกรรมเครื่องกล
ล่างขวา : นนอ.วีรพล มะม่วงแก้ว (บอมบ์) ชั้นปีที่ 5 วิศวกรรมอากาศยาน

ระเบียบที่เรียกว่าเข้มงวดที่สุด

คือระบบอาวุโส ง่าย ๆ ก็คือน้องต้องเคารพพี่ ต้องให้เกียรติพี่ ให้ความเกรงใจพี่ พี่ต้องให้ความดูแล และให้เกียรติน้องด้วย ต้องคอยสั่งสอนน้องถ้าน้องทำผิด ไอ้เรื่องจะมามีอารมณ์ส่วนตัวนอกรอบจะไม่มีที่นี่แน่นอน ส่วนมากจะมีเพราะความผิด เรียกมาลงโทษ แล้วก็สอนไปในตัว ที่นี่ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามเตะ ห้ามต่อย และที่นี่ดีอย่างในตอนทานข้าวเราจะจัดเรื่องโต๊ะที่นั่งไว้ ถ้าเกิดเข้ามาเกิดปัญหาที่ว่าน้องมานั่ง แล้วไม่มีโต๊ะพอดี พี่ชั้น 5 จะลุกให้น้อง แล้วพี่จะไปทานที่สโมสร เพราะว่าพี่มีสิทธิ์ที่กินที่นั่นได้แล้ว เป็นอะไรที่พี่น้อง อาวุโสก็จริง ก็คือพี่อาวุโสต้องแสดงต่อน้องด้วย คือเรารับกับข้าวเป็นวงนึงนั่งกัน 5 คน บางครั้งน้องอาจจะมาช้ามาก เพราะติดงานอะไรอยู่ พี่ก็เสียสละให้น้อง เหมือนกับเป็นประเพณีด้วยว่า ถ้าน้องไม่มีข้าวกิน อาวุโสที่สุดก็อาจจะไม่ได้ทาน น้องอาจจะนึกว่าไปกินสโมสรได้ แต่บางคนก็ไม่มีเงิน

 

ว่าเรื่องทานข้าวแล้ว ขอถามหน่อยกฎระเบียบเข้าไปถึงตรงนั้นด้วยรึเปล่า ?

ถ้าในเรื่องอาบน้ำระเบียบจะไปไม่ถึงตรงนั้น ตามสบายได้ แต่เวลาทานข้าวก็มีสิทธิ์ตามชั้นปี ตอนกินเราจะกินพร้อมกัน แต่ Process การกินจะต่างกัน อย่างชั้น 1 จะมีวิธีการกิน คือ การกินฉาก (ก็คือมือถือช้อนตักอาหาร แล้วทำมุมฉากยื่นออกไปก่อนจะวกกลับมาส่งอาหารเข้าปากได้) เวลานั่งก็จะนั่งได้หนึ่งในสามของเก้าอี้ แบ่งเป็นสามส่วนของเบาะรองนั่ง ก็คือนั่งได้ส่วนเดียว แล้วก็ปิดเข่าเท้าชิด ปีสูงขึ้นก็ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้น อย่างปีสามก็ไม่ต้องเท้าชิดแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของน้องแต่ละคนด้วย น้องปฏิบัติดีก็จะได้เข่าแตกเร็ว (ฮา....) ชั้นห้าก็จะนั่งสบาย นั่งได้เต็มเก้าอี้ กางขาได้


ขวา : นนอ.จักรพันธ์ เครือวรรณ (อั๋น) ชั้นปีที่ 2 วิศวกรรมอุตสาหกรรม
ซ้าย : นนอ.เทวินทร์ มานะยิ่ง (ตูน) ชั้นปีที่ 3 วิศวกรรมโยธา

ขาดไม่ได้เรื่องสาว ๆ กับนักเรียนโรงเรียนประจำ?

เรื่องมันเศร้านะพี่ คำว่าแฟนนี่มัน ในความหมายของพวกผม คือไม่ได้คบกันไปวัน ๆ มันคือผู้หญิงที่พวกผมนายเรืออากาศทุกคนคบ ก็คือต้องการที่จะให้เป็นแม่ที่ดีของครอบครัว ก็เลยค่อนข้างที่จะเฟ้นกันหน่อย บางทีมันก็ลำบากใจนะพี่ บางครั้งผู้หญิงบางคนมาแรก ๆ ก็เข้าใจ รอได้.... ผู้หญิงบางคน ชั้นรอเธอได้ แต่ก็...

 

สายสัมพันธ์ของเพื่อนเกิดจากหยาดเหงื่อและน้ำตา

แต่งชุด ถือกระเป๋าเสร็จเรียบร้อย พาไปหน้าโรงเรียน จะถึงเวลากลับบ้าน นายเวรปั่นจักรยานมา บอกว่าข้างนอกมีเหตุการณ์ไม่ปกติ เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนนักเรืออากาศ ขอให้กลับเข้าไปประจำที่โรงเรียน แล้วให้ร้องเพลง "ค่าน้ำนม" จากเหตุการณ์นี้ทุกคนได้รู้ซึ้งถึงความอดทน และไม่มีอะไรแน่นอน ฝึกความผิดหวัง ซึ่งจะมีผลได้โดยที่เราทุกคนไม่รู้ตัว มันซึมซับเข้าไปเองให้รู้จักเตรียมพร้อม และสามารถที่จะเผชิญได้ทุกสถานการณ์ เดือนแรกจะหนักมาก คิดถึงบ้าน แต่เราทุกคนผ่านมาได้เพราะมีเพื่อนอยู่ข้าง ๆ ช่วยเหลือ มีหยาดเหงื่อ มีน้ำตาไปด้วยกัน


นนอ.อภิเชษฐ์ ท่าดี (เชษฐ์) ชั้นปีที 3 หัวหน้าตอนคอมพิวเตอร์

ชีวิตนักเรียนนายเรืออากาศ

05.30 น. ปลุกตัวเองโดยอัตโนมัติ(จากเสียงแตร่) แล้วออกกำลังกาย
06.00 น. กลับมาทำภารกิจส่วนตัว อาบน้ำ แต่งตัว จัดตารางสอน ทำความสะอาดเขตที่รับผิดชอบ
7.10 น. เดินแถวไปรับประทานอาหารเช้าที่โรงอาหาร
8.00 น. เคารพธงชาติ หลังจากนั้นเริ่มศึกษาถึงเที่ยง
12.00 - 13.00 น. มาทานข้าวกลางวัน แล้วมาเรียนต่อ ตอน
13.00 - 14.00 น. ศึกษา

- - - - - - ภารกิจแต่ละวัน - - - - - -
(การฝึกพละศึกษา ฝึกวิชาทหาร หรือว่าให้พักผ่อน เล่นกีฬาตามลำพังได้)

18.00 น. ทานอาหารเย็นเย็น
19.30 - 21.30 น. ฝึกฝนอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน
21.30 น. รวมสวดมนต์

- - - - - - ภารกิจส่วนตัว - - - - - -

22.30 ปิดไฟนอน ถ้าไม่นอนต้องการฝึกฝนอ่านหนังสือเพิ่มเติมก็สามารถทำได้

ศัพท์ควรรู้ :
หลาย ๆ อย่างที่นี่จะใช้ศัพท์ทางการบินเข้ามาในชีวิตประจำวันด้วย เช่น
โรงนอน = แฮงก้า (โรงเก็บเครื่องบิน)
เวลาเดิน =เรียกแท๊กซี่ คือการเคลื่อนไป
Take off = รอบลาน ก็ไม่บอกเป็นรอบจะบอกเป็นซอร์ตี้

ที่มาจาก นิตยสาร I-Mono

 

 
ลงทะเบียนทดสอบความรู้ภาควิชาการกับเว็บไซต์นายร้อยไทย
 
 
เฉลยข้อสอบเก่าเตรียมทหารวิชาคณิตศาสตร์ (2550-2555) เหล่าทหารเรือ
เฉลยข้อสอบเก่าเตรียมทหารวิชาคณิตศาสตร์ (2550-2555) เหล่าทหารเรือ
เฉลยข้อสอบเก่าเตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ แบบละเอียดสุดๆ เหล่าทหารบก (จปร.) ปีพ.ศ. 2547-2552
เฉลยข้อสอบเก่าเตรียมทหาร วิชาคณิตศาสตร์ แบบละเอียดสุดๆ เหล่าตำรวจ (นรต.) ปีพ.ศ. 2547-2552
   
 
 
 
 
 
เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.
“เราจะปั้นเด็กธรรมดาคนหนึ่ง ให้เป็นนักเรียนเตรียมทหาร”

© 2547-2559. All Right Reserved by THAI CADET
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

ภาพถ่ายโรงเรียนเตรียมทหาร และนักเรียนเตรียมทหาร ภายในเว็บไซต์แห่งนี้
ห้ามคัดลอก หรือนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
Tel. 087 561 2511, 086 571 4623
Official Website : www.thaicadet.org
E-mail : hat3744@hotmail.com


เปิดให้บริการเว็บไซต์นับตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2547
ปรับปรุงข้อมูล Sun, 8 May, 2016 19:15