เว็บไซต์นายร้อยไทย
บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร
 
© คำอธิบาย การแสดงวิธีทำ และข้อคิดเห็นทั้งหมด
ในเว็บเพจนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
หากจะนำไปเผยแพร่ซ้ำ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด
ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก webmaster@thaicadet.org
 
บทที่ ๙ ประโยคที่มีส่วนขยาย
 

 

 
เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.

          การสื่อสารในชีวิตประจำวันมนุษย์ต้องอาศัยคำพูด หรือการเขียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น จึงใช้วิธีการขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยคนั่นเองค่ะ สำหรับสิ่งที่นำมาเป็นส่วนขยายของประโยคอาจเป็น “คำ กลุ่มคำ หรือประโยค” ก็ได้

ประโยค

ประโยคที่มีส่วนขยาย

ต้นมะพร้าวถูกโค่น

ต้นมะพร้าวต้นใหญ่หน้าปากซอยถูกโค่นเรียบร้อยแล้ว

ดอกลีลาวดีกำลังบาน

ดอกลีลาวดีในสวนหลังบ้านของฉันกำลังบานสะพรั่ง

ระยะนี้อากาศหนาว

ระยะนี้อากาศในประเทศไทยหนาวแล้ว

เรืองเดชขยันมาก

เรืองเดชนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ ๑ ขยันอ่านหนังสือดีมาก

นักเรียนอนุบาลร้องไห้

นักเรียนอนุบาล ๑/๓ ร้องไห้กระจองอแง

          จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า สามารถขยายส่วนต่าง ๆ ประโยคได้ทั้งในส่วนที่เป็น

๑. ส่วนขยายภาคประธาน

๒. ส่วนขยายกริยาหรือภาคแสดง

 

๑. การขยายส่วนประธาน

          เป็นการบอกรายละเอียดเกี่ยวกับประธานในประโยคให้ชัดเจนขึ้น อาจขยายด้วยคำ กลุ่มคำ และประโยค

          (๑.) การขยายส่วนประธานด้วยคำ คำที่ใช้ขยายประธานอาจเป็นคำนาม คำสรรพนาม หรือ คำสรรพนามก็ได้

- การขยายประธานด้วยคำนาม ได้แก่

นายสมชายนักการทำงานดีมาก

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงมาก

นายรักเกียรติตัวการได้ถูกจับกุมตัวโดยเจ้าพนักงานแล้ว

 - การขยายประธานด้วยคำวิเศษณ์ ได้แก่

ลมหนาวพัดโชยมาเบา ๆ

ผมแห้งเพราะขาดวิตามิน

ฉันรักเธอมากพอ ๆ กับเขา

 - การขยายประธานด้วยคำสรรพนาม ได้แก่

ธงไชยเขาเป็นนักร้องเสียงดีคนหนึ่ง

นายกรัฐมนตรีท่านชอบพูดว่ายังไม่ได้รับรายงาน

สมศรีเธอเป็นคนจริงใจ

           (๒.) การขยายส่วนประธานด้วยกลุ่มคำ

เพ็ญศรีน้องของจันทร์เพ็ญแต่งงานไปแล้ว

เกียรติภูมิหัวหน้านักเรียนได้รับรางวัลเรียนดี

พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นความจริงอยู่ตลอดกาล

           (๓.) การขยายส่วนประธานด้วยประโยค

ข้อความอันละไว้ ก่อให้เกิดความสงสัย

คนที่ชอบจับผิดผู้อื่น มักจะปกปิดความผิดของตนเอง

ผู้ปกครองซึ่งใกล้ชิดกับเด็กควรดูแลเอาใจใส่เรื่องนิสัยของเด็ก

 

๒. การขยายส่วนกริยาหรือตัวแสดง

          คำที่ใช้ขยายกริยาอาจเป็นคำนาม คำสรรพนาม หรือคำสรรพนามก็ได้

(๑.) การขยายส่วนกริยาด้วยคำ คำที่ขยายกริยาก็คือคำวิเศษณ์ เช่น

รถยนต์แล่นฉิว

สุนัขวิ่งเร็ว

คุณตาเป่ายานัตถุ์์แรง ๆ

 (๒.) การขยายส่วนกริยาด้วยกลุ่มคำ/วลี

ฉันพยายามอดทนโดยไม่ย่อท้อ

กรุงเทพมหานครถูกสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕

เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นเมื่อสิบปีมาแล้ว

 (๓.) การขยายส่วนกริยาด้วยประโยค

ทหารต้องปฏิบัติตนตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด

รถเมล์คันนี้แล่นช้าเหมือนเต่าคลาน

ฉันรู้สึกอ่อนเพลียเมื่อมลพิษเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป

 

ทบทวนความรู้ :

ประโยค

ภาคประธาน

ภาคแสดง

ประธาน

ส่วนขยายประธาน

บทกริยา

ส่วนขยายริยา

บทกรรม

ส่วนขยายกรรม

แม่ค้าคนนั้นขายกับข้าวแพงมาก

แม่ค้า

คนนั้น

ขาย

แพงมาก

กับข้าว

-

ครูพละตำหนินักเรียนทุกคนด้วยถ้อยคำที่รุนแรง

ครู

พละ

ตำหนิ

ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง

นักเรียน

ทุกคน

เขาอ่านหนังสือไม่คล่อง

เขา

-

อ่าน

ไม่คล่อง

หนังสือ

-

น้องของฉันเรียนหนังสือเก่ง

น้อง

ของฉัน

อ่าน

เก่ง

หนังสือ

-

แมวดำกัดไก่ชนตาย

แมว

ดำ

กัด

ตาย

ไก่ชน

-

 

***

ตัวอย่างข้อสอบเก่าเตรียมทหาร

คำในข้อใดเติมลงในช่องว่างได้เหมาะสมที่สุด (ทบ.๔๕)

          บริษัทฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด ดำเนิน..........สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนครบวงจร..........บรรจุสินค้า ทั้งที่เป็นผง ของเหลว ของแช่แข็ง ส่วนใหญ่เป็นประเภทอาหารและสินค้าเพื่อการเกษตร..........เครื่องจักร ที่ทันสมัย มีการควบคุม คุณภาพการผลิตทุกขั้นตอน..........คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงได้รับความเชื่อถือจากตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนได้ใบรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 : 2000

ก. งาน ในการ โดย ด้วย

ข. ธุรกิจ ในการ ด้วย เนื่องจาก

ค. ธุรกิจ เพื่อ ด้วย โดย

ง. งาน ในการ โดย ด้วย

จ. งาน เพื่อ ด้วย เนื่องจาก

***

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

 

Google
 
 
 
 

เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.
© 2012. All Right Reserved by THAI CADET.ORG / Last Updated : Mon, 10 September, 2012 23:01   Bookmark and Share