เว็บไซต์นายร้อยไทย
บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร
 
© คำอธิบาย การแสดงวิธีทำ และข้อคิดเห็นทั้งหมด
ในเว็บเพจนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
หากจะนำไปเผยแพร่ซ้ำ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด
ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก webmaster@thaicadet.org
 
บทที่ ๒  อักษรไทย
 

           อักษรไทย คือ สัญลักษณ์ที่ทำหน้าที่แทนเสียงในภาษาไทยมี ๓ ชนิด คือ รูปสระ รูปพยัญชนะ และรูปวรรณยุกต์

 

๑. สระ

          ๑.๑ รูปสระ ในภาษาไทยแม้จะมีเสียงสระ ๓๒ เสียงก็ตาม แต่มีรูปสระ หรืออักษรที่ใช้แทน เสียงสระเพียง ๒๑ รูป ดังต่อไปนี้

๑.

วิสรรชนีย์

- ใช้เขียนหลังพยัญชนะ เช่น นะคะ

- ประสมกับรูปสระอื่น เช่น เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ

๒.

ไม้ผัด หรือ

ไม้หันอากาศ

- ใช้เขียนบนพยัญชนะ ทำหน้าที่แทนสระอะ เช่น ฉ + ะ + น = ฉัน

- ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เช่น อัวะ อัว

๓.

ไม้ไต่คู้

- ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนวิสรรชนีย์ (ะ) โดยเขียนบนสระเสียงสั้นบางคำ

ที่มีตัวสะกด เช่น เปะ + ด = เป็ด

- ใช้ประสมกับตัว ก เป็นสระเอาะ+ไม้โท = ก็ (อ่านว่า เก้าะ)

๔.

ลากข้าง

- ใช้เขียนหลังพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระอา

- ประสมกับสระรูปอื่น เช่น เอาะ อำ เอา

๕.

พินทุ์อิ

- ใช้เขียนบนสระ ออกเสียงเป็นสระอิ

- ประสมกับสระรูปอื่น เช่น อิ อื เอียะ เอีย เอือะ เอือ

- ใช้แทนตัว อ ของสระเออ เมื่อมีตัวสะกด เช่น เลอก เป็น เลิก

๖.

ฝนทอง

 

- ใช้เขียนบนพินทุ์อิ เป็นสระอี

- ประสมกับสระรูปอื่น เช่น สระ เอียะ เอีย

๗.

?

นฤคหิต หรือ

หยาดน้ำค้าง

- ใช้เขียนบนพินทุ์อิ เป็นสระอึ

- ใช้เขียนบนลากข้าง (า) เป็นสระอำ

- สำหรับเขียนสระในภาษาบาลี ซึ่งอ่านเป็นเสียง ง สะกด เช่น อํ อ่านว่า อัง

๘ .

่ ่

ฟันหนู

- ใช้เขียนบนพินทุ์อิ เป็นสระอือ

- ประสมกับสระรูปอื่น เช่น เอือะ เอือ

๙.

?

ตีนเหยียด

- ใช้เขียนล่างพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระอุ

๑๐.

?

ตีนคู้

- ใช้เขียนล่างพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระอู

๑๑.

ไม้หน้า

- ใช้เขียนข้างหน้าพยัญชนะ ถ้ามีรูปเดียวเป็นสระเอ หรือสองรูปเป็นสระแอ

- ประสมกับสระรูปอื่น เช่น เอะ แอะ เอาะ เออะ เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เอา

๑๒.

ไม้ม้วน

- ใช้เขียนหน้าพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระใอ

๑๓.

ไม้มลาย

- ใช้เขียนหน้าพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระไอ

๑๔.

ไม้โอ

- ใช้เขียนหน้าพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระโอ

๑๕.

ตัว ออ

- ใช้เขียนหลังพยัญชนะ ออกเสียงเป็นสระออ

- ประสมกับรูปสระอื่น เช่น เออะ เออ เอือะ เอือ อือ

๑๖.

ตัว ยอ

- ใช้เขียนประสมกับสระรูปอื่น เช่น เอียะ เอีย

๑๗.

ตัว ว

- ใช้เขียนประสมกับสระรูปอื่น เช่น อัวะ อัว

๑๘.

ตัว รึ

- ใช้เขียนประสมกับพยัญชนะ โดยออกเสียงเป็น ริ รึ เรอ เช่น กฤษณ์ พฤษภาคม ฤกษ์

- ใช้เขียนต้นคำ โดยออกเสียงเป็น ริ เช่น ฤดี ฤดู ตฤน

๑๙.

ฤๅ

ตัว รือ

- ใช้เขียนต้นคำ เช่น ฤาษี

- ใช้ในคำประพันธ์ เช่น ฤๅพี่

๒๐.

ตัว ลึ

- เขียนเป็นสระ ฦ ซึ่งในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

๒๑.

ฦๅ

ตัว ลือ

- เขียนเป็นสระ ฦๅ ซึ่งในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

 

 
เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.

          ๑.๒ เสียงสระ รูปสระทั้ง ๒๑ รูปนี้ สามารถนำมาใช้เขียนแทนเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียง และ เสียงสระเกิน ๘ เสียง ซึ่งทำให้เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด ๓๒ เสียง หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นมาหน่อยก็คือ รูปสระทั้ง ๒๑ รูป ถูกนำมาเขียนประสมกันไปมาจนเกิดเป็น ๓๒ รูป เช่น

- สระเ_ ะ เกิดจาก สระไม้หน้า ประสมกับสระวิสรรชนีย์

- สระเ_ ือะ เกิดจาก สระไม้หน้า ประสมกับฟันหนู พินทุ์อิ ตัวออ วิสรรชนีย์

 

          ทีนี้ลองมาดูกันว่า สระทั้ง ๓๒ รูป มีอะไรกันบ้าง... ดังต่อไปนี้ค่ะ

๑. อะ

๒. อา

๓. อิ

๔. อี

๕. อึ

๖. อื

๗. อุ

๘. อู

๙. เอะ

๑๐. เอ

๑๑. แอะ

๑๒. แอ

๑๓. เอียะ

๑๔. เอีย

๑๕. เอือะ

๑๖. เอือ

๑๗. อัวะ

๑๘. อัว

๑๙. โอะ

๒๐. โอ

๒๑. เอาะ

๒๒. ออ

๒๓. เออะ

๒๔. เออ

๒๕. อำ

๒๖. ใอ

๒๗. ไอ

๒๘. เอา

๒๙. ฤ

๓๐. ฤๅ

๓๑. ฦ

๓๒. ฦๅ


          ๑.๓ การเขียนสระ คือ การนำรูปสระมาประสมกับตัวอักษร มีวิธีเขียนดังนี้

๑.) เขียนแบบคงรูป คือ เขียนแล้วรูปสระยังคงอยู่เหมือนเดิม

เช่น นะ (สระอะ)

โม (สระโอ)

โพ (สระโอ)

ธิ (สระอิ)

ญาณ (สระอา)

จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นว่า การเขียนแบบคงรูปนี้ จะใช้รูปสระนั้น ๆ แบบตรง ๆ กันเลยค่ะ

 

๒.) เขียนแบบลดรูป คือ เมื่อประสมกับพยัญชนะแล้ว ไม่ปรากฏรูปสระที่ใช้ เช่น

นก = น สระโอะ ก สะกด ลดรูป สระโอะ

จร = จ สระออ ร สะกด ลดรูป สระออ

ณ = ณ สระอะ - สะกด ลดรูป สระอะ/วิสรรชนีย์

ก็ = ก สระเอาะ - สะกด ลดรูป สระเอาะ

เพชร = พ สระเอะ ช สะกด ลดรูป สระอะ/วิสรรชนีย์

 

๓.) เขียนแบบเปลี่ยนรูป คือ ใช้สระตัวหนึ่งประสมกับพยัญชนะ แต่เมื่อเขียนกลับเปลี่ยนเป็นสระ อีกรูปหนึ่ง

ร สระอะ ก สะกด เปลี่ยนสระอะ เป็น ั = รัก

ก สระเออะ ด สะกด เปลี่ยนสระเออ เป็น ิ = เกิด

พ สระอะ ณ สะกด เปลี่ยนสระอะ เป็น รร = พรรณ

ป สระเอะ ด สะกด เปลี่ยนสระเอะ เป็น ? = เป็ด

ข สระแอะ ง สะกด เปลี่ยนสระแอะ เป็น ? = แข็ง

 

ทบทวนความรู้ : พิจารณาพยางค์ต่อไปนี้ว่าเขียนด้วยสระชนิดใด (คงรูป ลดรูป เปลี่ยนรูป)

พยางค์

เขียนแบบ

 

พยางค์

เขียนแบบ

ปะ

คงรูป สระอะ

 

มัด

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น ไม้หันอากาศ

ตุ๊กตา

คงรูป สระอุ, คงรูป สระอา

 

พรรณ

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น รร

น็อก

เปลี่ยนรูป สระเอาะ เป็น ไม้ไต่คู้

 

เดิน

เปลี่ยนรูป สระเออ เป็น สระอิ

พุทธกาล

คงรูป สระอุ, ลดรูป สระอะ, คงรูป สระอะ

 

สรรพ์

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น รร

ฝน

ลดรูป (สระโอะ)

 

เสริญ

เปลี่ยนรูป สระเออ เป็น สระอิ

เทอม

คงรูป สระเออ

 

เกลอ

คงรูป สระเออ

ดอก

คงรูป สระออ

 

เทอญ

คงรูป สระเออ

ล้วน

เปลี่ยนรูป จากสระอัว เป็น ไม้โท

 

กรรม

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น รร

นคร

ลดรูป (อะ) , ลดรูป สระออ

 

ควร

ลดรูป สระอัว

โป๊ะ

คงรูป สระโอะ

 

เทอม

คงรูป สระเออ

พัฒนา

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น ไม้หันอากาศ, คงรูป สระอา

 

เกิน

เปลี่ยนรูป สระเออ เป็น สระอิ

ทศ

ลดรูป สระโอะ

 

เบิก

เปลี่ยนรูป สระเออ เป็น สระอิ

เพราะ

คงรูป สระเอาะ

 

เปรม

คงรูป สระเอ

ละเมอ

คงรูป สระอะ, คงรูปสระเออ

 

หนอน

คงรูป สระออ

ธนบัตร

ลดรูป สระอะ, เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น ไม้หันอากาศ

 

เทะ

คงรูป สระเอะ

บวม

ลดรูป สระอัว

 

นก

ลดรูป สระโอะ

กอด

คงรูป สระออ

 

บล็อก

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น ไม้ไต่ึคู้

เทิด

เปลี่ยนรูป สระเออ เป็น สระอิ

 

รัก

เปลี่ยนรูป สระอะ เป็น ไม้หันอากาศ

 

๒. พยัญชนะ

          ๒.๑ รูปพยัญชนะ พยัญชนะไทยมีทั้งหมด ๔๔ รูป ซึ่งจัดเป็นวรรคต่าง ๆ ตามแหล่งกำเนิดของเสียง ได้ดังนี้

วรรค กะ ได้แก่ ก ข ข ฃ ค ฅ ฆ ง กำเนิดเสียงที่คอ

วรรค จะ ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ กำเนิดเสียงที่เพดาน

วรรค ฏ ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ กำเนิดเสียงที่ปุ่มเหงือก

วรรค ตะ ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น กำเนิดเสียงที่ฟัน

วรรค ปะ ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม กำเนิดเสียงที่ริมฝีปาก

เศษวรรค หรืออวรรค ได้แก่ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ กำเนิดเสียงจากฐานต่าง ๆ กัน

          ๒.๒ เสียงพยัญชนะพยัญชนะไทยมีทั้งหมด ๔๔ รูป แต่สามารถออกเสียงได้เพียง ๒๑ เสียง ได้แก่ “ ก ค ง จ ช ซ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ร ล ว ฮ อ” ซึ่งพี่ได้กล่าวถึงแล้ว ในบทที่ ๑

 

          มาถึงตอนนี้แล้ว ทราบหรือไม่คะว่า ทำไมพยัญชนะไทยถึงออกเสียงได้เพียง ๒๑ เสียง ?

คำตอบก็คือ... เพราะบางเสียงเวลาที่เราออกเสียงแล้ว มันเป็นเสียงซ้ำกัน เช่น

- เสียง “ ค” มีพยัญชนะที่เสียงซ้ำกัน คือ “ ข ฃ ค ฅ ฆ”

- เสียง “ ท” มีพยัญชนะที่เสียงซ้ำกัน คือ “ ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ” เป็นต้น

และนี่เองเป็นที่มาว่าทำไมพยัญชนะไทยจึงมี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง และเมื่อทราบอย่างนี้แล้ว จำประโยคต่อไปนี้ไว้ให้ขึ้นใจนะคะ เพราะออกสอบบ่อยมาก ๆ “ พยัญชนะไทยมี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง”

 

          เมื่อทราบเรื่องรูปพยัญชนะ และเสียงของพยัญชนะแล้ว คราวนี้เรามาดูกันว่า หน้าที่ของพยัญชนะไทย มีอะไรกันบ้าง

          ๑. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น พยัญชนะต้น คือ พยัญชนะตัวแรกของคำที่มีสระต่อท้าย เช่น “ พ ร” พยัญชนะต้นคือ “ พ” พยัญชนะต้นแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ

(๑.) พยัญชนะต้นตัวเดียว เช่น นัก เ รียน ต้อง ไ ป เ รียน , ไ ด โ น เ สาร์ เ ต่า ล้าน ปี

(๒.) พยัญชนะต้น ๒ ตัว หรือที่เรียกว่า “ ตัวอักษรควบกล้ำ” ซึ่ง “ อักษรควบกล้ำ” ก็คือ คำที่มีพยัญชนะ “ ร ล ว” ไปควบกล้ำ กับพยัญชนะอื่น ๆ เวลาอ่านต้องออกเสียงพยัญชนะพร้อมกัน ๒ ตัว เช่น คำว่า “ คว าม” ออกเสียง “ คว” พร้อมกัน หรือ คำว่า “ พร าว” ออกเสียง “ พร” พร้อมกัน

 

          อักษรควบกล้ำแบ่งเป็น อักษรควบแท้ และอักษรควบไม่แท้ โดยมิวิธีการสังเกตดังนี้ค่ะ

          อักษรควบแท้ คือ การออกเสียงพยัญชนะสองตัวพร้อมกัน เช่น กราบ กรู ครู กราว นิ ทรา ขลัง พลาด พลั้ง ครั้ ง คราว คลุ้ม คลั่ง เ ปลี่ยนแ ปลง ครอบ ครัว กวด แ กว่งไ กว ควาย ไ ขว่คว้า ขวักไ ขว่

          อักษรควบไม่แท้ แบ่งเป็น

  • ออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว (ไม่ได้ออกเสียงตัวที่ควบด้วย) เช่น จริง (จิง) , สร้าง (ส้าง), แสร้ง (แส้ง), ไซร้ (ไซ้), สร้อย (ส้อย), ศรี (สี), เศร้า (เส้า)
  • เมื่อ ร ไปควบกับ ท เป็น ทร ให้อ่านออกเสียง ซ เช่น ทรง (ซง) , ทร าม (ซาม), ทร าย (ซาย), ทรุดโ ทรม (ซุด-โซม), แ ทรก (แซก)

 

          ๒. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ หรือตัวสะกด ตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ต่อท้ายสระ หรือปิดท้ายคำ หรืออยู่หน้าตัวการันต์ เช่น น ก หย ก หว ย ครา ว บุรีรั มย์ ห งส์

          สำหรับพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ก็คือ มาตราทั้ง ๙ (แม่ ก กา แม่ กก แม่ กง แม่ กด แม่ กน แม่ กบ แม่ กม แม่ เกย แม่ เกอว) ส่วนพยัญชนะที่ไม่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ มี ๙ ตัว คือ ฃ คฉ ผ ฝ ฌ ห อ ฮ

 

          ๓. ทำหน้าที่เป็นอักษรนำ อักษรนำ คือ คำที่พยัญชนะต้นสองตัวประสมสระเดียวกัน โดยไม่ ประวิสรรชนีย์ (ไม่ประวิสรรชนีย์ คือ ไม่เขียนสระอะให้เห็น ) ดังนั้น เวลาอ่านพยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียงนำพยัญชนะตัวถัดไป เช่น ตลาด (ตะ-หลาด) สำหรับวิธีการอ่านอักษรนำมีดังนี้

(๑.) อ่านออกเสียง ๒ พยางค์

  • ถ้าพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง พยัญชนะที่ตามมาต้องเป็นอักษรต่ำเดี่ยวเท่านั้น สำหรับเสียงของพยัญชนะตัวหน้าจะออกเสียง อะ แต่ไม่ประวิสรรชนีย์ ส่วนพยางค์หลังจะออกเสียงสูงตามอักษรนำ และรูปสระที่กำกับอยู่
- อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว
เช่น ถลำ สนุก แ สวง สงบ สงัด สลอน สนม

- อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว

เช่น จมูก ตวาด จรัส อนึ่ง ตลาด ตวัด จรัส อร่าม
 

          จะสังเกตว่า การออกเสียงอักษรนำแบบที่ ๑ คือ “ พยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง พยัญชนะที่ตามมาต้องเป็นอักษรต่ำเดี่ยว” เวลาออกเสียงพยางค์หลัง จะมีเสียง ห.หีบ เช่น ถลำ (อ่านว่า ถะ- ห ลำ), ตลาด (อ่านว่า ตะ- ห ลาด) เป็นต้น

          คราวหน้า ถ้าเจอคำ ๒ พยางค์ ที่พยางค์แรกออกเสียง “ อะ” แล้วพยางค์ที่สองออกเสียง “ ห.หีบ” ให้ทราบเอาไว้เลยว่านี่คือ “ อักษรนำ”

  • ถ้าพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรกลางหรืออักษรสูง พยัญชนะที่ตามมาเป็นอักษรต่ำคู่เสียงพยางค์หลังจะเป็นเสียงเดิม เช่น ไผท (ผะ-ไท) ผทม (ผะ-ทม)

(๒.) อ่านออกเสียงพยางค์เดียว ถ้า ห นำหน้าอักษรเดี่ยว (ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ) หรือ

อ นำหน้า ย ให้ออกเสียงเป็นพยางค์เดียว ไม่ต้องออกเสียง อะ เช่น

ห นำ ง เช่น หงอ หงาย เหงา

ห นำ ย เช่น หยาด หยาม หยี

ห นำ ญ เช่น หญิง หญ้า ใหญ่

ห นำ ล เช่น หลาย เหล้า หลาก

ห นำ น เช่น หนา หนี หนุ่ม

ห นำ ว เช่น หวาน หวีด ไหว

ห นำ ม เช่น หมา ไหม หมาก

อ นำ ย เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก

 

NOTE: เรื่องการออกเสียง “ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ รวมทั้งอักษรคู่ และอักษรเดี่ยว” พี่จะกล่าวถึงโดยละเอียดอีกครั้งในบทที่ ๓ เรื่องไตรยางค์ ค่ะ

 

          ๔. ทำหน้าที่รักษารูปศัพท์เดิม โดยใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) กำกับพยัญชนะที่ไม่ต้องการออกเสียง เช่น ทุก ข์ พัน ธุ์ สวรร ค์ หรือบางครั้งก็อาจไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับก็ได้ เช่น พุทธ (พุด) สมุทร (สะ - หมุด) มาตร (มาด)

 

          ๕. ทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น

รมต. ย่อมาจาก รัฐมนตรี

นรม. ย่อมาจาก นายกรัฐมนตรี

บก.ทบ. ย่อมาจาก กองบัญชาการกองทัพบก

รมต.นร. ย่อมาจาก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

ทบทวนความรู้ : พิจารณาพยางค์ต่อไปนี้ว่าเป็นอักษร หรือคำชนิดใด

 

อักษรควบแท้

อักษรควบไม่แท้

อักษรนำ

 

 

อักษรควบแท้

อักษรควบไม่แท้

อักษรนำ

 

 

อักษรควบแท้

อักษรควบไม่แท้

อักษรนำ

อยู่

 

 

*

 

ขรึม

*

 

 

 

ความ

*

 

 

พยอม

 

 

*

 

หลอก

 

 

*

 

ทราบ

 

*

 

อยาก

 

 

*

 

อย่า

 

 

*

 

ควร

*

 

 

ปรอท

 

 

*

 

สรวง

 

*

 

 

แสร้ง

 

*

 

ทราย

 

*

 

 

ปลอม

*

 

 

 

อย่าง

 

 

*

ถวาย

 

 

*

 

สงวน

 

 

*

 

ทรัพย์

 

*

 

กลม

*

 

 

 

หวีด

 

 

*

 

ปลูก

*

 

 

ฉลาด

 

 

*

 

เกรง

*

 

 

 

จริง

 

*

 

ขนม

 

 

*

 

ปราง

*

 

 

 

อร่อย

 

 

*

ไซร้

 

*

 

 

พลัง

*

 

 

 

หยอก

 

 

*

  

๓. วรรณยุกต์

           ๓.๑ รูปวรรณยุกต์ มี ๔ รูป คือ

๑. รูปวรรณยุกต์เอก ( ่ ) เช่น พ่อ แม่ พี่

๒. รูปวรรณยุกต์โท ( ้ ) เช่น ห้อง เพ้อ ด้วน

๓. รูปวรรณยุกต์ตรี ( ๊ ) เช่น โต๊ะ เกี๊ยะ เปี๊ยก

๔. รูปวรรณยุกต์จัตวา ( ๋ ) เช่น ก๋วยเตี๋ยว จ๋อง โอ๋

            ๓.๒ เสียงวรรณยุกต์ มี ๕ เสียง คือ

๑. เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) เช่น ตา ดู ดาว

๒. เสียงเอก ( ่ ) เช่น ติดต่อ ปกปัด แข่ง

๓. เสียงโท ( ้ ) เช่น เล่ม ราดหน้า แน่น

๔. เสียงตรี ( ๊ ) เช่น เท้า แม้ น้า

๕. เสียงจัตวา ( ๋ ) เช่น หนังสือ หรือ ฐาน

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับวรรณยุกต์

           ๑.) คำไทยทุกคำต้องมีเสียงวรรณยุกต์ คำที่ใช้ในภาษาไทย มีทั้งคำที่มีและไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ แต่ทุกคำจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ที่กำกับอยู่ก็ได้

ก. คำที่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ก๋ากั่น สิ่งนั้น เหนี่ยวรั้ง

ข. คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น รูปภาพ หนังเหนียว ปากกา

ค. คำที่ออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น

- ค่า ชั่ง เพื่อน มีรูปวรรณยุกต์เอก แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์โท

- น้ำ ฟ้า ไม้ ทีรูปวรรณยุกต์โท แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์ตรี

           ๒.) คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เมื่อเติมวรรณยุกต์แล้ว อาจจะออกเสียงสั้น หรืออาจคงเสียงยาวตามเดิม

ก. เติมรูปวรรณยุกต์แล้วออกเสียงสั้น เช่น เดน – เด่น, เลน – เล่น

ข. เติมรูปวรรณยุกต์แล้วยังคงออกเสียงยาวตามเดิม เช่น หาม – ห้าม, ดวง – ด้วง

 

NOTE : คำในภาษาไทยทุกคำจะมีเสียงวรรณยุกต์ทั้งหมด แม้ว่าคำนั้นจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ตาม เช่น

- คำว่า “ หนึ่ง” รูปวรรณยุกต์ คือ ไม้เอก เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก

- คำว่า “ สอง” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงจัตวา

- คำว่า “ สาม” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงจัตวา

- คำว่า “ สี่” รูปวรรณยุกต์ คือ ไม้เอก เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก

 

การประสมอักษร

           การประสมอักษร คือ การนำอักษรไทย คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ มาประสมกันเป็นพยางค์ หรือคำ เช่น คำว่า “ เปล่ง” เกิดจากการประสมอักษร ดังนี้

- สระ คือ สระเอ

- พยัญชนะต้น คือ ป.

- วรรณยุกต์ คือ ไม้เอก

- ตัวสะกด คือ ม.

 

วิธีการประสมอักษร มี ๔ วิธี คือ

           ๑.) ประสม ๓ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์มารวมกัน

ได้แก่ คำที่อยู่ในแม่ ก กา (คำที่ไม่มีตัวสะกด)

เช่นแม่ ตี พี่ มา นี มี นา

           ๒.) ประสม ๔ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด

ได้แก่ คำที่มีตัวสะกด แต่ไม่มีตัวการันต์

เช่น น้อง สาว สวย เพื่อน บ้าน เขียน จดหมาย

           ๓.) ประสม ๔ ส่วนพิเศษ ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวการันต์

ได้แก่ คำที่มีตัวการันต์ แต่ไม่มีตัวสะกด

เช่น เล่ห์ เมล์ เท่ห์

           ๔.) ประสม ๕ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และตัวการันต์

ได้แก่ คำที่มีทั้งตัวสะกด และตัวการันต์

เช่น สิงห์ โอษฐ์ กัณฑ์ พิมพ์ สัตย์ ศิษย์ ศูนย์

 

ทบทวนความรู้ : พิจารณาพยางค์ต่อไปนี้ว่าเป็นการประสมอักษรกี่ส่วน และแยกส่วนประกอบของแต่ละพยางค์ด้วย

 

พยัญชนะต้น

สระ

วรรณยุกต์

ตัวสะกด

การันต์

ประสมอักษร...ส่วน

รูป

เสียง

เท

เอ

-

สามัญ

-

-

ประสม ๓ ส่วน

จาก

อา

-

เอก

ก (แม่ กก)

-

ประสม ๔ ส่วน

เท่ห์

เอ

เอก

โท

-

ห์

ประสม ๔ ส่วนพิเศษ

ทุกข์

อุ

-

ตรี

ก (แม่ กก)

ข์

ประสม ๕ ส่วน

โบสถ์

โอ

-

เอก

ส (แม่ กด)

ถ์

ประสม ๕ ส่วน

มา

-

-

สามัญ

-

-

ประสม ๓ ส่วน

***

ตัวอย่างข้อสอบเก่าเตรียมทหาร

คำในข้อใดมีอักษรกลางนำอักษรเดี่ยว แต่ไม่ออกเสียงอักษรนำ (ทบ.๔๕)

ก. ขนุน สนอง สวรรค์

ข. ขมา สโมสร สมาน

ค. หน่าย หมาย หญ้า

ง. อย่า อย่าง อยาก

จ. จริต ปรอท ปรัก

คำขีดเส้นใต้ข้อใดมีอักษรควบไม่แท้ (ทบ.๔๕)

ก. รูปร่างประเปรียว

ข. ข้อมูลคลาดเคลื่อน

ค. สร้างเสริมประสบการณ์

ง. แพร่พรายเรื่องราว

ง. ตริตรองถ่องแท้

" ฤ " ในข้อใดออกเสียงได้ 2 แบบ (ทบ.๔๕)

1) กฤษณา สฤษฏิ์

2) ตฤณมัย ฤทธิ์

3) ทฤษฎี ฤณ

4) ศฤงคาร ปฤจฉา

5) พฤนท์ อมฤต

รูปสระที่เขียนไว้หน้าพยัญชนะมีกี่ตัว (ทร.๔๗)

1. 3 ตัว

2. 4 ตัว

3. 5 ตัว

4. 6 ตัว

***

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

 

Google
 
 
 
 

เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.
© 2012. All Right Reserved by THAI CADET.ORG / Last Updated : Mon, 10 September, 2012 22:35   Bookmark and Share