เว็บไซต์นายร้อยไทย
บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร
 
© คำอธิบาย การแสดงวิธีทำ และข้อคิดเห็นทั้งหมด
ในเว็บเพจนี้ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
หากจะนำไปเผยแพร่ซ้ำ ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด
ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก webmaster@thaicadet.org
 
บทที่ ๑๑ เครื่องหมายวรรคตอน
 

 

 
เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.

          การใช้คำในภาษาไทยบางครั้งเพื่อให้ข้อความต่าง ๆ ในภาษาเขียนกระชับขึ้น จึงมีการนำ “เครื่องหมายวรรคตอน” มาใช้ สำหรับในบทที่ ๑๑ นี้ เป็นการอธิบายเกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอนทั้งหลายที่จะพบได้ในการอ่าน หรือใช้ภาษาไทย พร้อมวิธีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนเหล่านั้นในโอกาสต่าง ๆ ด้วย

๑. จุลภาค           ,

๑.๑ ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก เช่น

๑ , ๐๐๐ อ่านว่า หนึ่งพัน

๑ , ๐๐๐, ๐๐๐ อ่านว่า หนึ่งล้าน

๑ , ๐๐๐, ๐๐๐, ๐๐๐ อ่านว่า หนึ่งพันล้าน

๑ , ๐๐๐, ๐๐๐, ๐๐๐, ๐๐๐ อ่านว่า หนึ่งล้านล้าน

๑.๒ ใช้คั่นระหว่างคำหรือกลุ่มคำ เช่น

พระรัตนตรัย หมายถึง พระพุทธ, พระธรรม,และพระสงฆ์

          หมายเหตุ : การใช้จุลภาคคั่นคำในรายการ ที่เขียนต่อ ๆ กัน ตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการ ส่วนหน้าคำ “ และ” หรือ “ หรือ” ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค

          แต่ในกรณีที่ต้องการแยกกลุ่มให้เห็นชัด อาจใส่เครื่องหมายจุลภาคหน้าคำ “ และ” หรือ “ หรือ” ก็สามารถทำได้ค่ะ เช่น เช็คของบริษัทนี้จะสมบูรณ์เมื่อมีผู้ลงนาม ๓ คน คือ ก หรือ ข, ค หรือ ง, และ จ ลงนาม.

๑.๓ ใช้คั่นเมื่อมีการสับที่กันระหว่างนามสกุลกับชื่อ (ส่วนใหญ่จะใช้ในการเขียนบรรณานุกรมหนังสือ) เช่น

ปาสเตอร์ , หลุยส์

๑.๔ ใช้คั่นเมื่อมีการสับที่กันระหว่างชื่อ นามสกุล กับคำนำหน้านาม หรือยศ และระหว่างราชทินนาม กับบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ เป็นต้น (ส่วนใหญ่จะใช้ในการเขียนบรรณานุกรมหนังสือ) เช่น

จรูญศักดิ์ ชุมมานนท์ , พระมหา.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ , รศ.

ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.

 

๒. มหัพภาค           .

 ๒.๑ ใช้เขียนหลังตัวเลข หรือกำกับหัวข้อ เช่น

.

.

.

๒.๒ ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ หรือคำย่อ เวลาอ่านควรออกเสียงให้เต็ม เช่น จ.ศ. อ่านว่า จุลศักราช

ม.ร.ว. อ่านว่า หม่อมราชวงศ์

.. อ่านว่า พุทธศักราช

... อ่านว่า รัฐมนตรี

๒.๓ ใช้เขียนแสดงตำแหน่งทศนิยม และใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา เช่น

๔๘.๔๗ อ่านว่า สี่สิบแปด จุดสี่เจ็ด

๑๑.๔๕ น. อ่านว่า สิบเอ็ดนาฬิกา สี่สิบห้านาที

๑๙.๓๒ วินาที อ่านว่า สิบเก้า จุดสามสองวินาที

ในกรณีเงินตรา ถ้าอ่านเป็นหน่วยเงินตราได้ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรานั้น ๆ เช่น

๑๐.๕๐ บาท อ่านว่า สิบ-บาท-ห้า-สิบ-สะ-ตาง

๙.๒๕ ดอลลาร์ อ่านว่า เก้า – ดอน– ล่า– ยี่– สิบ– ห้า– เซ็น

๒.๔ ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ เช่น

ชาวไทยทุกคนมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.

๒.๕ ในกรณีที่ประโยคนั้น ๆ มีเครื่องหมายอัญประกาศหรือเครื่องหมายวงเล็บอยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาคไว้หลังสุด เช่น

“ ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์” .

ในการปฏิบัติกิจการงานทุกอย่างนั้น นอกจากต้องมีความรู้ความคิดที่ดีมีประโยชน์แล้ว จะต้องใช้ความรู้ ความคิดให้ถูกต้องพอเหมาะพอดีแก่งาน แก่สถานการณ์ แก่บุคคลและท้องถิ่นด้วย จึงจะหวังผลตอบแทนที่สมบูรณ์คุ้มค่าได้ (พระราชดำรัส. ๒๕ ก.ค. ๔๐).

 

๓. ปรัศนี           ?

ใช้เขียนหลังข้อความที่เป็นประโยคคำถาม เช่น

เธอไปพบอาจารย์ฝ่ายปกครองมาหรือ ?

กินข้าวหรือยัง?

 

๔. อัศเจรีย์           !

๔.๑ ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยคที่เป็นคำอุทาน เพื่อแสดงความประหลาดใจ หรือตกใจ เวลาอ่านควรออกเสียงให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ เช่น

พุทโธ ! เขาไม่น่าอายุสั้นอย่างนี้เลย

โอ๊ย ! เจ็บจังเลย

๔.๒ ใช้เขียนหลังคำที่เป็นเสียงเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงได้เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้น ๆ

เช่น โครม! ปัง! เปรี้ยง!

 

๕. นขลิขิต หรือวงเล็บ           ( )

๕.๑ ใช้เขียนอธิบายข้อความข้างต้น ซึ่งข้อความในวงเล็บนั้นจะอ่านหรือไม่อ่านก็ได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ ๙)

๕.๒ ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น

a 2 + b 2 = (a + b) (a – b)

๕.๓ การอ่านคำหรือข้อความที่มีเครื่องหมายวงเล็บกำกับอยู่ ก็คือ เมื่อมีเครื่องหมายวงเล็บเปิดให้อ่านว่า “ วงเล็บเปิด” และเมื่อถึงเครื่องหมายวงเล็บปิดให้อ่านว่า “ วงเล็บปิด” เช่น

ปวาฬ (แก้วประพาฬ คือหินแก้วชนิดหนึ่งเกิดจากหินปะการัง)

อ่านว่า ปะ-วาน วง-เล็บ-เปิด แก้ว-ปฺระ-พาน ... หิน-ปะ-กา-รัง วง-เล็บ-ปิด

 

๖. สัญประกาศ           _____

ใช้ขีดเส้นใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้น และให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ เช่น

เด็กทุกคนต้องการ ความรักจากพ่อและแม่

 

๗. อัญประกาศ           “    ”

๗.๑ ใช้เมื่อเมื่อยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งมาจากหนังสือเล่มอื่น เพื่อให้เห็นว่ามิใช่ข้อเขียนของตนเอง เช่น

กระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทย จึงได้รับอนุมัติจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๓ “เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเรื่องหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง-ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทย” โดยให้กำหนดและจัดให้มีวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับชั้น

๗.๒ ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นคำพูดหรือความนึกคิด

เขาคิดอยู่ในใจว่า “ฉันต้องสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารให้ได้”

๗.๓ ใช้เพื่อเน้นข้อความนั้นให้เด่นชัด

สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติแห่งนี้คือ “โรงเรียนเตรียมทหาร”

๗.๔ การอ่านเครื่องหมายอัญประกาศ ก็คือ เมื่อมีเครื่องหมายอัญประกาศเปิด ให้อ่านว่า อัญประกาศเปิด และเมื่อถึงเครื่องหมายอัญประกาศปิด ให้อ่านว่า อัญประกาศปิด เช่น

สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติแห่งนี้คือ “โรงเรียนเตรียมทหาร”

อ่านว่า สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติแห่งนี้คือ อัญประกาศเปิด โรงเรียนเตรียมทหาร อัญประกาศปิด

  

๘. ยัติภังค์           -

๘.๑ ใช้เมื่อไม่สามารถเขียนคำหลายพยางค์ไว้ในบรรทัดเดียวกันได้ เช่น

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนาย – ร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราช - การเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร

๘.๒ ใช้ในคำประพันธ์ที่ต้องแยกเพื่อให้ได้จำนวนพยางค์ตามข้อบังคับของคำประพันธ์ เช่น

ดังฤๅพ่อจักลี- ลาจาก อกนา

๘.๓ ใช้แยกการบอกเสียง

พลความ อ่านว่า พน – ละ – ความ

 

๙. เส้นไข่ปลาหรือ จุดไข่ปลา .......... หรือ เส้นปรุ _ _ _ _ _ _ _ _ (สามารถใช้แทนกันได้)

๙.๑ ใช้แสดงช่องว่างเพื่อเติมคำในแบบฝึกหัด หรือแบบพิมพ์ซึ่งเว้นไว้ให้กรอกข้อความ เช่น

วันที่.......... เดือน.................... พ.ศ. ..........

ชื่อ.................... นามสกุล..........................

๙.๓ ใช้เพื่อแสดงว่ามีคำที่ละเอาไว้ไม่เขียน เช่น

สอบตกโดนด่าตาย... ' า

๙.๒ ใช้ละข้อความในบทประพันธ์ โดยไม่ต้องเขียนข้อความให้ครบทั้งบท เช่น

          ฝ่ายขุนช้างหมางจิตที่คิดแค้น           ลูกขุนแผนมั่นคงไม่สงสัย

เมื่อกระนั้นเหมือนกูครั้นดูไป                       ก็กลับใช่เหมือนพ่อไอ้ทรพี

.......................................                .......................................

.......................................                .......................................

๙.๔ ใช้แสดงว่าข้อความที่ปรากฏตัดตอนมาจากที่อื่นเพียงบางส่วน ปกตินิยมเขียนเพียง ๓ จุดเท่านั้น เช่น

รัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บัญญัติให้ “ บุคคลมีหน้าที่...รับการศึกษาอบรม...” ( มาตรา ๖๙)

๙.๕ การอ่านเครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา คือ เมื่อมีเครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา ควรหยุดเล็กน้อยก่อน แล้วจึงอ่านว่า “ ละ ละ ละ” แล้วหยุดเล็กน้อยก่อนอ่านข้อความต่อไป เช่น

บุคคลมีหน้าที่...รับการศึกษาอบรม อ่านว่า บุคคลมีหน้าที่ ละ ละ ละ รับการศึกษาอบรม

 

๑๐. ยมก           

ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค เพื่อแสดงการซ้ำคำ ซ้ำความ หรือซ้ำประโยค โดยเวลาอ่านจะอ่านซ้ำคำ ซ้ำคำ หรือซ้ำประโยคที่อยู่ข้างหน้า เช่น

เด็กตัวเล็ก ๆ อ่านว่า เด็กตัวเล็กเล็ก (ซ้ำคำ)

ในวันหนึ่ง ๆ อ่านว่า ในวันหนึ่งวันหนึ่ง (ซ้ำวลี)

สีดำ ๆ อ่านว่า สีดำดำ (ซ้ำคำ)

แต่ละวัน ๆ อ่านว่า แต่ละวัน แต่ละวัน (ซ้ำคำ)

ไฟไหม้บ้าน ๆ อ่านว่า ไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้บ้าน (ซ้ำประโยค)

 

๑๑. ไปยาลใหญ่หรือ เปยยาลใหญ่           ฯลฯ

๑๑.๑ ใช้สำหรับละข้อความข้างท้าย โดยจะตามหลังข้อความที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งข้อความเหล่านั้นยังมีอีกมาก แต่ไม่ได้นำมาแสดงไว้ เช่น

ห้องนอนของฉันมี โทรทัศน์ เก้าอี้ เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

ฯลฯ ถ้าอยู่หลังข้อความใด ๆ ให้อ่านว่า “ อื่น ๆ, เป็นต้น, ละ, และอื่น ๆ”

๑๑.๒ ใช้ละคำ หรือข้อความที่อยู่ตรงกลาง โดยเขียนแต่ตอนต้น และตอนจบเอาไว้ เช่น

เขาเจริญพุทธคุณว่า อิติปิ โส ฯลฯ ภควาติ

ฯลฯ ถ้าอยู่กลางข้อความ ให้อ่านว่า “ ละถึง”

 

๑๒. ไปยาลน้อยหรือ เปยยาลน้อย           

ใช้ละคำยาว ๆ ที่เรารู้จักกันดี โดยละส่วนท้ายไว้ แล้วเขียนแต่ส่วนหน้าของคำให้พอเป็นที่เข้าใจ แต่เวลาอ่านต้องอ่านเต็มคำนะคะ เช่น

เช่น ทูลเกล้าฯ อ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อม

วัดมหาธาตุ อ่านว่า วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

 

๑๓. บุพสัญญา หรือบุรพสัญญา           ??

ใช้เขียนแทนคำหรือข้อความที่อยู่ในบรรทัดเหนือข้างบน เพื่อจะได้ไม่ต้องเขียนซ้ำอีก โดยเวลาอ่านต้องอ่านให้เต็มคำหรือข้อความข้างบน

ซึ่งหากคำหรือข้อความยาวสามารถเติมเครื่องหมายบุพสัญญาได้มากกว่า ๑ ตัว โดยจะวางไว้ตรงตำแหน่งใดก็ได้ เช่น

    • กระทรวงการคลัง
    • ?? คมนาคม อ่านว่า กระทรวงคมนาคม
    • ?? การต่างประเทศ อ่านว่า กระทรวงการต่างประเทศ

 

๑๔. ทับ           /

๑๔.๑ ใช้สำหรับขีดคั่นระหว่างตัวเลขซึ่งแสดงวัน เดือน ปี

๑๕/๙/๗ อ่านว่า วันที่สิบห้า เดือนกันยายน พอสอสองพันห้าร้องสี่สิบเจ็ด

๑๔.๒ ใช้ขีดหลังจำนวนเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหญ่

บ้านเลขที่ ๓๓/๒๓๖ อ่านว่า สามสิบสาม ทับสองสามหก

เลขที่หนังสือราชการ นร ๐๑๐๒/ว๔๘๗ อ่านว่า นอ-รอ-ศูนย์หนึ่ง ศูนย์สอง

ทับ วอ สี่แปดเจ็ด

 

๑๕. เว้นวรรค

การเว้นวรรคช่วยในการป้องกันความผิดพลาดของการเขียน ซึ่งในภาษาอังกฤษ เราจะพบการเว้นวรรคเมื่อเขียนคำ ๆ หนึ่งจบ เช่น This is a pencil. ซึ่งเราสามารถเข้าใจได้ว่าผู้เขียนต้องการบอกอะไร แต่ถ้าการเว้นวรรคผิดพลาด เราก็อาจจะตีความสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งจะบอกคลาดเคลื่อนไปก็ได้ค่ะ เช่น เราต้องการบอกว่า “May the force be with you.” ( แปลว่า ขอพลังจงอยู่คู่ท่าน) แต่เราลืมเว้นวรรคซะนี่ เลยเขียนเป็น “May the forcebe with you.” ซึ่งถ้าผู้อ่านไม่เข้าใจรูปประโยคก็อาจจะเดาไม่ได้ว่าแปลว่าอะไร

ในภาษาไทยก็เช่นกันค่ะ บ่อยครั้งที่เราเข้าใจไม่ตรงกันเพราะ “การเว้นวรรค” เช่น “นั่นเนื้อสุนัขฉันชอบกิน” เราจะเข้าใจได้ว่า “นั่นคือเนื้อเอ๋งที่ฉันชอบกิน” (ฟังดูแล้วน่าขนลุกนะคะ) ทั้งที่ความเป็นจริงผู้เขียนต้องการเขียนว่า “นั่นเนื้อ สุนัขฉันชอบกิน” หมายถึง “นั่นคือเนื้อ ที่เจ้าตูบของฉันชอบกิน” ต่างหากละคะ

เห็นความสำคัญของการเว้นวรรคแล้วใช้มั๊ยคะ คราวหน้าเวลาเขียน หรืออ่านหนังสือ ต้องเว้นวรรคให้ดี ๆ นะคะ เพราะไม่อย่างนั้นคนอื่น ๆ อาจจะเข้าใจเราผิดก็ได้ ลองดูอีกซักตัวอย่างนึงนะคะ

ประโยคที่เว้นวรรคผิด “ขออนุญาตไปดื่มน้ำปัสสาวะ”

ประโยคที่เว้นวรรคถูก “ขออนุญาตไปดื่มน้ำ ปัสสาวะ”

 

๑๖. มหรรถสัญญา (ย่อหน้า)

คือการย่อหน้าเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ หรือเมื่อกล่าวถึงความคิดใหม่ที่มิใช่ใจความที่กล่าวไปแล้วในย่อหน้าก่อน และใช้เมื่อขึ้นต้นบทประพันธ์ทุกชนิด เช่น

          ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์เพียงใจความเดียว โดยมุ่งกล่าวถึงสิ่งใจสิ่งหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ประโยคความเดียวจึงมีประธาน และกริยาเพียงตัวเดียวเสมอ

          ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาประโยคประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมเข้าด้วยกัน โดยมีคำสันธานเชื่อมให้ประโยคต่อเนื่องกัน

          ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน และมีคำสันธานเป็นตัวเชื่อม โดยมีประโยคความเดียวหนึ่งประโยคที่เป็นใจความสำคัญ เรียกว่า “ประโยคหลัก หรือมุขยประโยค” ส่วนประโยคอื่น ๆ ทำหน้าที่ขยายประโยคหลัก เรียกว่า “ประโยคย่อย หรืออนุประโยค”

 

๑๗. อัฒภาค           ;

ใช้คั่นคำหรือประโยคที่มีความซับซ้อนกันจนยืดยาว หรือใช้เพื่อแยกประโยคให้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งภาษาไทยโดยทั่วไปไม่นิยมใช้ เพราะมีการเว้นวรรคอยู่แล้ว

  

๑๘. ฟองมัน หรือตาไก่           

ใช้เขียนไว้ต้นวรรค ต้นบรรทัด หรือต้นบทประพันธ์ เช่น

           เสียงลือเสียงเล่าอ้าง           อันใด พี่เอย

เสียงย่อมยอยศใคร                          ทั่วหล้า

สองเขือพี่หลับใหล                          ลืมตื่น ฤๅพี่

สองพี่คิดเองอ้า                              อย่าได้ถามเผือ

 

๑๙. อังคั่นเดี่ยว หรือคั่นเดี่ยว           

ใช้เขียนหลังประโยค หรือเขียนไว้ตอนท้ายสุดของคำประพันธ์ และใช้เขียนเครื่องหมายวัน เดือน ตามจันทรคติ เช่น

อ่านว่า วันอาทิตย์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นแปดค่ำ

อ่านว่า วันพฤหัสบดี เดือนเก้า แรมสามค่ำ

 

๒๐. โคมูตร หรือเยี่ยววัว          

ใช้เขียนไว้ตอนท้ายสุดของเรื่อง หรือตอนจบเรื่อง

 

๒๑. ยามักการ           กล่องข้อความ: 	๎

ใช้เขียนไว้บนพยัญชนะ เพื่อแสดงว่าอ่านเป็นพยัญชนะควบ ปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน

 

 

๒๒. ตีนครุ หรือตีนกา           +

ใช้เป็นเครื่องหมายบอกมาตราเงิน ดังนี้

อ่านว่า ๒ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ

***

ตัวอย่าง

ประโยคใดใช้ไม้ยมกไม่ถูกต้อง (ทบ.๓๘)

ก. พูดแค่นี้ ทำตาแดงๆ แล้ว

ข. เดินเร็วๆ หน่อย มัวแต่อืดอาดอยู่นั่นแหละ

ค. วรุฒ วรธรรม พระเอกหน้าหยก มีมุขตลกต่าง ๆ นา ๆ

ง. วันหนึ่งๆ ไม่เห็นเขาทำอะไรเป็นงานเป็นการ

 

สองยามแล้วลูก นอนเถอะพรุ่งนี้ต้องไปสอบแต่เช้า “ สองยาม” หมายถึงเวลาใด (ทบ.๓๘)

ก. ๒๐. ๐๐ น.

ข. ๒๒.๐๐ น.

ค. ๒๔.๐๐ น.

ง. ๐๒. ๐๐ น.

 

บ้านเลขที่ ๓๓/๒๙ อ่านอย่างไรถูกต้องที่สุด (ทบ.๓๘)

ก. สามสิบสาม ทับ ยี่สิบเก้า

ข. สามสาม ทับ ยี่สิบเก้า

ค. สามสิบสาม ทับ สองเก้า

ง. สามสาม ทับ สองเก้า

 

วัน เดือน ปี ในหนังสือราชการ ข้อใดเขียนถูกต้อง (ทบ.๓๘)

ก. ๑ เมษายน ๒๕๓๘

ข. วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๘

ค. วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘

ง. วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๘

 

ทำไมมี “ อัญพจน์” ปรากฏในการเขียนรายงาน (ทบ.๓๘)

ก. เพื่อแสดงที่มาของข้อความนั้น

ข. เพื่อทำให้รายงานน่าเชื่อถือ

ค. เพื่อคัดลอกข้อความที่มีมาในบทก่อน

ง. เพื่อแสดงความรอบรู้ของผู้เขียนรายงาน

 

ประโยคใดใช้เครื่องหมายมหัพภาพ (ทบ.๓๘)

ก. วศ.บ. คำเต็มว่า วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

ข. ๑.๐๐๐ อ่านว่า หนึ่งพัน

ค. เพลา อ่านว่า เพ – ลา

ง. “ ถ้าเจ้ารักแม่มากเท่าใด เจ้าจงพยายามให้คนอื่นเขารักเจ้าเท่านั้นเถิด”

 

เครื่องหมายหลังตัวอักษรเพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ เรียกว่าเครื่องหมายอะไร

ก. ยัติภังค์

ข. นขลิขิต

ค. มหัพภาค

ง. อัศเจรีย์

 

กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น พระบรมมหาราชวัง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ฯลฯ

“ ฯลฯ” ในประโยคข้างต้น เวลาอ่านต้องอ่านว่าอย่างไร

ก. ละ / และอื่น ๆ

ข. ละถึง

ค. ไปยาลน้อย

ง. ไปยาลใหญ่

 

เครื่องหมายที่ใช้กับข้อความที่มีลักษณะเป็นคำถามมีชื่อเรียกว่าอะไร

ก. ปรัศนี

ข. ยัติภังค์

ค. อัศเจรีย์

ง. สัญประกาศ

 

เครื่องหมาย “ จุลภาค” มีวิธีใช้อย่างไร

ก. เขียนหลังคำย่อ

ข. เขียนคั่นระหว่างข้อความ

ค. เขียนกำกับข้อความเพื่อให้ชัดเจนขึ้น

ง. เขียนหลังข้อความที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ

 

ข้อใดใช้ไม้ยมกผิด

ก. ไปปทุมวัน ๆ นี้

ข. เงียบ ๆ ไว้ดีแล้ว

ค. นักเรียนควรทำการบ้านทุก ๆ วัน

ง. ในวันหนึ่ง ๆ เธอทำอะไรที่เป็นประโยชน์บ้าง

 

“ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช้ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น” เครื่องหมายที่ใช้เขียนคร่อมข้อความนี้เรียกว่าอะไร

ก. ยัติภังค์

ข. บุพสัญญา

ค. สัญประกาศ

ง. อัญประกาศ

 

ข้อใดใช้เครื่องหมาย ( ) ไม่ถูกต้อง

ก. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หรือสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

ข. เรื่อง (สี่แผ่นดิน) ประพันธ์โดยท่านคึกฤทธิ์

ค. การสื่อสาร ( Communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสาร

ง. x 2 – 12x + 36 = (x – 6) (x – 6) = (x – 6) 2

 

ข้อใดใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้เหมาะสม

ก. นี่...คือหนังสือที่เธออยากได้

ข. นี่คือหนังสือที่เธออยากได้.

ค. นี่ “ คือหนังสือที่เธออยากได้”

ง. นี่ ! คือหนังสือที่เธออยากได้

 

ข้อใดใช้เครื่องหมายอัญประกาศได้ถูกต้อง

ก. รักชาติ “กล่าวว่าสละชีพเพื่อชาติ”

ข. “รักชาติ” กล่าวว่าสละชีพเพื่อชาติ

ค. รักชาติกล่าวว่าสละชีพ “เพื่อชาติ”

ง. รักชาติกล่าวว่า “สละชีพเพื่อชาติ”

 

๒.๕๐ ดอลล่าร์ อ่านว่าอย่างไร

ก. สองจุดห้าสิบดอลล่าร์

ข. สองดอลล่าร์ห้าสิบเซนต์

ค. สองจุดห้าศูนย์ดอลล่าร์

ง. สองดอลล่าร์ห้าศูนย์เซนต์

 

ตัว “ฤ” ในข้อใดอ่านออกเสียง “ริ” ทุกคำ

ก. กฤษณา ฤทธิ์ กฤติยา

ข. พฤหัสบดี พฤกษา ฤดี

ค. หฤทัย พฤฒาจารย์ มฤตยู

ง. นฤคหิต กฤษฎีกา หฤโหด

 

“อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯลฯ สงฺฆํ นมามิ” ข้อความข้างต้นนี้อ่านว่าอย่างไร

ก. อะระหัง สำมาสำพุดโท ลน ๆ ถึง สังคังนะมามิ

ข. อะระหัง สำมาสำพุดโท ย่อถึง สังคังนะมามิ

ค. อะระหัง สำมาสำพุดโท ละถึง สังคังนะมามิ

ง. อะระหัง สำมาสำพุดโท และอื่

 

ข้อใดใช้เครื่องหมายไปยาลน้อยได้ถูกต้อง

ก. โปรดเกล้าฯ

ข. ธนาคารกรุงเทพฯ

ค. สะพานกรุงเทพฯ

ง. ถูกทุกข้อ

 

ข้อใดใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าละคำไว้อีกมาก

ก. โปรดเกล้าฯ

ข. ตอนเด็ก ๆ ฉันขี้โรค

ค. เธอตื่นนอนกี่โมง?

ง. ฉันชอบเลี้ยงหมา แมว นก ฯลฯ

 

“THAI CADET. หมายความถึง นายร้อยไทย” เครื่องหมายที่ขีดเส้นใต้เรียกว่าอะไร

ก. ยัติภังค์

ข. บุพสัญญา

ค. สัญประกาศ

ง. อัญประกาศ

 

ข้อใดใช้เครื่องหมายปรัศนีไม่ถูกต้อง

ก. ใคร ๆ ก็ไม่รักผม?

ข. เธอจะไปไหน?

ค. ใครจะไปบ้าง?

ง. ใครสอบติดบ้าง?

 

คำในข้อใดไม่สามารถใช้เครื่องมายไม้ยมกแทนได้

ก. นา ๆ

ข. ต่าง ๆ

ค. นั้น ๆ

ง. ทุก ๆ

 

“โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ”

ประโยคข้างต้นนี้ถ้าเราไม่ใช้การเว้นวรรค อาจใช้เครื่องหมายอะไรแทนได้

ก. มหัพภาค

ข. จุลภาค

ค. ปรัศนี

ง. ยัติภังค์

 

เว้นวรรคใหญ่ใช้เมื่อใด

ก. เมื่อขึ้นหน้าใหม่

ข. เมื่อต้องการเน้นความสำคัญของคำ

ค. เมื่อเขียนประโยคที่จบความบริบูรณ์แล้ว

ง. เมื่อมีข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศ

 

เด็กน้อยตะโกนว่า “มันหนีไปแล้ว ๆ” คำที่ใช้ไม้ยมกอ่านว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง

ก. แล้ว แล้ว

ข. ไปแล้ว ไปแล้ว

ค . มันไปแล้วแล้ว

ง. มันหนีไปแล้ว มันหนีไปแล้ว

 

การใช้เครื่องหมายวรรคตอนอันใดให้ความรู้สึกทางอารมณ์

ก. อย่า?

ข. “อย่า”

ค. ระวัง.

ง. ระวัง !

 

ค่ำ ปีระกา อ่านอย่างไรจึงจะถูกต้องตามแบบแผน

ก. วันพุธ เดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ ปีระกา

ข. วันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา

ค. วันอังคาร เดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ ปีระกา

ง. วันอังคาร แรม ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา

 

วันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ เขียนตามหลักภาษาไทยอย่างไร

ก.

ข.

ค.

ง.

 

๑๗.๑๑ อ่านว่าอย่างไร

ก. สิบเจ็ดจุดสิบเอ็ด

ข. หนึ่งเจ็ดจุดสิบเอ็ด

ค. สิบเจ็ดจุดหนึ่งหนึ่ง

ง. หนึ่งเจ็ดจุดหนึ่งหนึ่ง

 

ตัวย่อในข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง

ก. ค.ศ. อ่านว่า คริสต์ศักราช

ข. รร. อ่านว่า โรงเรียน

ค. พ.อ.อ. อ่านว่า พันอากาศเอก

ง. มิ.ย. อ่านว่า มิถุนายน

***

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

 

Google
 
 
 
 

เว็บไซต์นายร้อยไทย : บันไดขั้นแรกสู่รั้วโรงเรียนเตรียมทหาร.
© 2012. All Right Reserved by THAI CADET.ORG / Last Updated : Mon, 10 September, 2012 23:07   Bookmark and Share