THAI CADET คอร์สเรียนกวดวิชาเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร
Card image cap

 

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด

เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด

เสียงในภาษาไทย มี 3 ชนิด คือ
1. เสียงสระ หรือเสียงแท้
2. เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
3. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี

1. เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น

     สระเดี่ยว มีจำนวน 18 เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
          สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
          สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ

     สระประสม มีจำนวน 6 เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
          สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
               เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
               เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
               อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
          สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
               เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
               เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
               อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และจะได้จำง่าย พี่เลยจับเอาสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมด มาเขียนในรูปของตารางได้ดังต่อไปนี้
# สระเสียงสั้น (รัสสระ) สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
สระเดี่ยว (18 เสียง) อะ 
อิ 
อึ 
อุ 
เอะ 
แอะ 
โอะ 
เอาะ 
เออะ 
อา 
อี 
อื 
อู 
เอ 
แอ 
โอ 
ออ 
เออ
สระประสม (6 เสียง) เอียะ (อิ+อะ) 
เอือะ (อึ+อะ) 
อัวะ (อุ+อะ)
เอีย (อี+อา) 
เอือ (อื+อา) 
อัว (อู+อา)
จากการที่สระเดี่ยวมี 18 เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก 6 เสียง ก็จะพบว่ามีแค่เพียง 26 เสียงใช่ไหมคะ? ทั้งที่ตอนเรียนมาคุณครูสอนว่าเสียงสระ มีทั้งหมด 32 เสียง... อ้าวแล้วเสียงสระหายไปไหนอีก 8 เสียงหล่ะเนี่ย ?

คำตอบก็คือ... นอกจากเสียงสระทั้ง 24 เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก 8 รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ 8 รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”

สระเกินทั้ง 8 รูปนี้ พี่นำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียงพยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ

     อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า)
     ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
     ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
     เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน)
     ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ)
     ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี)
     ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ)
     ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี)

2. เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี 21 เสียง 44 รูป ดังต่อไปนี้  
# พยัญชนะ 21 เสียง พยัญชนะ 44 รูป









10
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
18 
19 
20 
21
ก 
ค 
ง 
จ 
ช 
ซ 
ด 
ต 
ท 
น 
บ 
ป 
พ 
ฟ 
ม 
ย 
ร 
ล 
ว 
ฮ 
ก 
ข ฃ ค ฅ ฆ 
ง 
จ 
ช ฌ ฉ 
ซ ศ ษ ส 
ด ฎ 
ต ฏ 
ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ 
น ณ 
บ 
ป 
พ ภ ผ 
ฟ ฝ 
ม 
ย ญ 
ร 
ล ฬ 
ว 
ฮ ห
3. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี 5 เสียง ดังต่อไปนี้ 
เสียงวรรณยุกต์  รูปวรรณยุกต์ ตัวอย่าง
1. เสียงสามัญ  (ไม่มีรูป) ่  กิน ตา งง
2. เสียงเอก  ข่าว ปาก ศัพท์
3. เสียงโท ชอบ นั่ง ใกล้
4. เสียงตรี งิ้ว รัก เกี๊ยะ
5. เสียงจัตวา ฉัน หนังสือ เก๋
ทบทวนความรู้ : บอกเสียงของพยางค์ในประโยคต่อไปนี้
ประโยค เสียงวรรณยุกต์        
- สามัญ  เอก  โท  ตรี  จัตวา
หัวล้านได้หวี  --  --  ได้  ล้าน  หัว / หวี
ดินพอกหางหมู  ดิน  พอก  หาง / หมู
แผ่นดินกลบหน้า  ดิน  แผ่น / กลบ  หน้า - -
ฝนตกขี้หมูไหล  - ตก  ขี้  ฝน / หมู / ไหล
ขี่ช้างจับตั๊กแตน  แตน  ขี่ / จับ  ช้าง / ตั๊ก -

 

พยางค์ในภาษาไทย

พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้ง เรียกว่า 1 พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา 2 ครั้ง เรียกว่า 2 พยางค์ เช่น

- ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน 4 พยางค์
- สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน 2 พยางค์

องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด 3 เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก 1 เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย 

- เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.
- เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)
- เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)
- เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน

 

มาตราตัวสะกด  

เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี 21 เสียง แต่ทั้ง ๒๑ เสียงนี้ ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ หรือเป็นตัวสะกด ได้เพียง 8 เสียง เท่านั้น ซึ่งเราเรียกพยัญชนะท้ายพยางค์ว่า “มาตราตัวสะกด” แบ่งเป็น

1. แม่ ก กา คือ พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ เช่น แม่ ใคร มา 

2. แม่ กก คือ พยางค์ที่มีเสียง ก ท้ายพยางค์ เช่น ทุกข์ สุข มรรค

3. แม่ กง คือ พยางค์ที่มีเสียง ง ท้ายพยางค์ เช่น องค์ ปรางค์ ทอง

4. แม่ กด คือ พยางค์ที่มีเสียง ด ท้ายพยางค์ เช่น อาทิตย์ สิทธิ์ ครุฑ

5. แม่ กน คือ พยางค์ที่มีเสียง น ท้ายพยางค์ เช่น สถาน การ บริเวณ

6. แม่ กบ คือ พยางค์ที่มีเสียง บ ท้ายพยางค์ เช่น กราบ กราฟ โลภ

7. แม่ กม คือ พยางค์ที่มีเสียง ม ท้ายพยางค์ เช่น ขนม กลม อาศรม

8. แม่ เกย คือ พยางค์ที่มีเสียง ย ท้ายพยางค์ เช่น กล้วย ปลาย ผู้ชาย

9. แม่ เกอว คือ พยางค์ที่มีเสียง ว ท้ายพยางค์ เช่น แม้ว ไข่เจียว ปีนเกลียว

เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงตัวสะกดอาจจะไม่ตรงกับรูปของตัวสะกดที่เราออกเสียงก็ได้ เช่น
- “อาทิ ตย์” เขียนด้วย “ต” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “แม่กด”
- “สมโภ ชน์” เขียนด้วย “ช” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “แม่กด”
- “พรร ค” เขียนด้วย “ค” แต่เวลาออกเสียงตัวสะกด จะเป็น “แม่กก”

ทบทวนความรู้ :บอกเสียงของพยางค์ต่อไปนี้ โดยคำเหล่านี้จะประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงตัวสะกด ลองทำดูนะคะ
พยางค์ เสียงพยัญชนะต้น  เสียงสระ  เสียงวรรณยุกต์  เสียงตัวสะกด
ฉัน  ฉ  อะ  จัตวา  แม่ กน
รัก  ร  อะ  ตรี  แม่ กก
ประ  ป  อะ  เอก  แม่ ก กา
เทศ  ท  เอ  ตรี  แม่ กด
ไทย  ท  ไอ  สามัญ แม่ เกย

 

ตัวอย่างข้อสอบเก่าเตรียมทหาร  

ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนคำ “ นัดพบ” ทุกคำ (ทบ.38)
ก. สมคิด มิตรรัก
ข. ชอกช้ำ ล้ำลึก
ค. นกน้อย ร้อยรัก
ง. มั่นแม่น แล่นเร็ว

คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนกันทุกคำ (ทบ.38)
ก. สินค้า น่าซื้อ
ข. ต้องการ สานต่อ
ค. กลบเกลื่อน เลื่อนลอย
ง. ย่ำแย่ แม่ม่าย

วรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป 5 เสียง วรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วรรณยุกต์ระดับ และวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ อยากทราบว่าวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ได้แก่เสียงวรรณยุกต์ในข้อใด (ทบ.42)
ก. เสียงวรรณยุกต์สามัญ และเสียงวรรณยุกต์เอก
ข. เสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงวรรณยุกต์โท
ค. เสียงวรรณยุกต์โท และเสียงวรรณยุกต์ตรี
ง. เสียงวรรณยุกต์ตรี และเสียงวรรณยุกต์จัตวา
จ. เสียงวรรณยุกต์จัตวา และเสียงวรรณยุกต์โท

สำนวนสุภาษิตคำพังเพยข้อใดมีสระประสมมากที่สุด (ทบ.45)
ก. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่
ข. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
ค. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
ง. ความวัวยังไม่หาย ความควายเข้ามาแทรก
จ. ติเรือทั้งโกลน ติโขนยังไม่ทรงเครื่อง

ข้อใดมีเสียงพยัญชนะเอก โท และตรี อย่างละเท่ากัน (ทร.47)
ก. นิดชอบคิดมากก่อนตอบ
ข. พี่ว่าน้องอ้วนตุ๊ต๊ะ
ค. พ่อว่าม้านี้ดีนะ
ง. อย่าเล่นน้ำร้อนนะจ๊ะ

คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบทั้งห้าเสียง (ทร.48)
ก. ขิงก็ราข่าก็แรง
ข. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
ค. คดในข้องอในกระดูก
ง. ทรัพย์ในดินสินในน้ำ
จ. ปลาหมอตายเพราะปาก

--
 
บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สารัตถสัมพันธ์ เล่มที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๒๐๓ ท ๒๐๔ หลักภาษาไทย เล่ม ๒. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๔). หนังสือเรียนภาษาไทย ท ๓๐๕ ท ๓๐๖ หลักภาษาไทย เล่ม ๓. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประวีณา มีชอบธรรม. (๒๕๔๔). ภาษาไทย (บังคับ). (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

พรทิพย์ แฟงสุต. (๒๕๔๔). รวมหลักภาษาไทย ม.ต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

ยศ พนัสสรณ์. (๒๕๓๖). ภาษาไทย ม.ต้น (ฉบับเตรียมสอบ). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

วสุณี รักษาจันทร์. หลักภาษาไทย ม.๑. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน

คอร์สเรียนออนไลน์เพื่อสอบเตรียมทหาร

THAI CADET อยากเห็นเด็กไทยอยู่ที่ไหนก็เรียนได้ จึงได้ร่วมกับ Course Square.Co.Ltd. จัดทำ “คอร์สเรียนออนไลน์เพื่อสอบเตรียมทหาร”เพื่อให้นักเรียนเตรียมสอบทั่วประเทศ ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ ที่ทันสมัย มีคุณภาพ และอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาวิชาการ เพื่อใช้ในการเตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร 

เพียงเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็สามารถเรียนคอร์สต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง และเรียนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ... เข้าสู่คอร์สเรียนออนไลน์ และทดลองเรียนฟรีได้ที่นี่ครับ www.coursesquare.co/thaicadet 


ทดลองเรียนฟรี

THAI CADET

 

© 2547-2567. จัดทำเป็นวิทยาทาน โดย THAI CADET

Made with Pingendo Free  Pingendo logo